“มาตรา 377 หรือ มาตรา 377 อาญา คืออะไร?
“มาตรา 377 ” หรือ “มาตรา 377 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๘] “
อ่านบทความ : สัตว์เลี้ยงก่อความเสียหาย เจ้าของอาจมีความผิด >> คลิก !
อ่านคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "สัตว์" ได้ที่นี่ คลิกเลย !
3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 377” หรือ “มาตรา 377 อาญา” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3435/2527
ช้างเป็นสัตว์ใหญ่เมื่อกำลังตกมันย่อมเป็นสัตว์ดุ จำเลยไม่คอยควบคุมดูแลโดยใกล้ชิด เพียงแต่ใช้เชือกผูก ไว้ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทและเป็นเหตุโดยตรงให้ฟ.ผู้เสียหายถูกช้างของจำเลยแทงด้วยงาได้รับอันตรายสาหัสแล้วช้างของจำเลยวิ่งไปพังบ้านของด. เสียหายอีกจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 และการ กระทำของจำเลยดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยปล่อยปละละเลยให้ ช้างเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ได้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377 อีกบทหนึ่งด้วย
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3435/2527
ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ เมื่อกำลังตกมันย่อมเป็นสัตว์ดุ จำเลยไม่คอยควบคุมดูแลโดยใกล้ชิด เพียงแต่ใช้เชือกผูกไว้ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทและเป็นเหตุโดยตรงให้ ฟ. ผู้เสียหายถูกช้างของจำเลยแทงด้วยงาได้รับอันตรายสาหัส แล้วช้างของจำเลยวิ่งไปพังบ้านของ ด. เสียหายอีก จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 และการกระทำของจำเลยดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยปล่อยปละละเลยให้ ช้างเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ได้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377 อีกบทหนึ่งด้วย
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2523
สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยง แต่ก็อาจเป็นสัตว์ที่ดุได้โดยธรรมชาติของสัตว์นั้นเอง ทั้งนี้ต้องดูพฤติการณ์เป็นเรื่อง ๆ ไป เฉพาะคดีนี้ ข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า สุนัขของจำเลยเคยกัดเป็ดของผู้เสียหายมาก่อนแล้วหลายครั้ง และครั้งที่เกิดเหตุนี้สุนัขของจำเลยไปกัดเป็ดของ ผู้เสียหายตายและ บาดเจ็บหลายสิบตัว ถือได้ว่าเป็นสัตว์ดุตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377