กฎหมายจราจรในชีวิตประจำวัน
หลายคนต้องใช้รถใช้ถนนเป็นประจำอยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าบางสิ่งบางอย่างที่ทำอยู่นั้น คุณอาจทำผิดกฎจราจรอยู่นะครับ บทความนี้ Legardy จะพาทุกท่านมาทราบกับกฎจราจรที่น่ารู้และสามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันกันครับ
1.ท่อไอเสียดังและมีควันดำ
ตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระบุว่า
ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตรายหรืออาจทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้อื่นที่ใช้ทางโดยสารมาใช้ในทางเดินรถ
ท่อไอเสียที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจจะเสียงดังหรือมีควันดำนั้น ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 เนื่องจากไม่ใช่เครื่องอุปกรณ์ที่ถูกต้องและอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ทำให้เกิดมลพิษทางเสียงและทางอากาศ ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนอาจเสียสุขภาพเนื่องจากต้องสูดควันที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์(ควันดำ) และมลพิษทางเสียงนั้นคือเสียงท่อไอเสียที่ดังเกินไปอาจส่งผลต่อหูของผู้ใช้รถใช้ถนน
ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
Q: เพื่อนบ้านขับรถเสียงท่อดัง จนลูกตื่นตอนกลางคืนตลอด
Q: สอบถามเรื่องเสียงของท่อรถครับ
2.การเปิดไฟหน้ารถ
ตามมาตรา 11 ของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน เปิดไฟหน้ารถตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น หรือเป็นช่วงที่ทัศนวิสัยไม่ดี เช่นฝนตกหนัก หมอกลงจัด หรือมีควันไฟ และให้เปิดไฟหน้ารถขณะขับรถในอุโมงค์ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน
Q: ผมขับรถชนท้ายรถคันหนึ่งที่ไม่มีไฟท้ายกับไฟหน้า แต่ตำรวจตัดสินว่าผมผิดเต็มๆ
3.การบีบแตรรถ
พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 14
กำหนดให้ผู้ขับขี่ใช้เสียงสัญญาณได้เฉพาะกรณีจำเป็นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น ห้ามใช้เสียงยาวหรือซ้ำเกินควร เพราะว่าการบีบแตรแบบลากยาวนั้นอาจทำให้ผู้ขับขี่ท่านอื่นเสียสมาธิในการควบคุมพวงมาลัยรถได้ และอาจนำไปสู่อุบัติเหตุเพราะตกใจเสียงแตร หรือนำไปสู่การทะเลาะวิวาทได้
หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท
สถานที่ที่ห้ามบีบแตร
- บริเวณโรงพยาบาล
- ใกล้สถานศึกษา
- ในเขตวัด
- ในเขตพระราชฐาน
- บริเวณที่มีป้ายห้ามใช้เสียง เช่น เขตชุมชน หรือถนนบางสาย
Q: โดนทำร้ายร่างกาย เพราะไปบีบแตรเตือนว่ามีรถบรรทุกอยู่ข้างหลัง ฟ้องร้องอะไรได้บ้างครับ

4.สัญญาณไฟจราจร
พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22 กำหนดไว้ว่า
- หากเห็นสัญญาณไฟจราจรสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้หยุดรถ
- หากเห็นสัญญาณไฟจราจรสีแดง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นหยุดรถ
- หากเห็นสัญญาณไฟจราจรสีเขียว ให้ผู้ขับขี่ขับรถไปตามทางได้
- หากเห็นสัญญาณไฟจราจรสีแดงกระพริบ ให้หยุดรถหลังเส้นให้หยุดรถและดูรถบริเวณรอบๆ หากปลอดภัยให้ขับรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง
- หากเห็นสัญญาณไฟจราจรสีเหลืองกระพริบ ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วลงและผ่านทางไปด้วยความระมัดระวัง
อ่านบทความ : รวม 9 กฎหมายจราจรที่ควรรู้ อัพเดทล่าสุดปี2567 คลิกเพื่ออ่าน !
5.เข็มขัดนิรภัย (Safety belt)
ก่อนออกเดินทางทุกครั้งต้องคาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัย เพราะเข็มขัดนิรภัยนั้นช่วยปกป้องชีวิตและลดแรงกระแทกลงหากเกิดอุบัติเหตุ ตามกฎหมายจราจรได้กำหนดไว้ว่า ให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา
หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 2000 บาท ทั้งคนขับและผู้โดยสาร
6.เลนซ้าย
พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 33
ให้ผู้ขับขี่ทุกคนขับรถในเลนซ้ายและไม่ขับคร่อมเลน ยกเว้นกรณีต่อไปนี้ที่ไม่ต้องขับเลนซ้าย
- ด้านซ้ายของเลนซ้ายมีสิ่งกีดขวาง
- เป็นทางเดินรถทางเดียว (One Way)
- ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6เมตร
- ต้องการจะเลี้ยวซ้าย
Q: เป็นไรเดอร์ อยู่รถหว่างการทำงาน แต่ถูกปาดเลนส์จนล้ม
7.เลนขวา
- แซงรถคันอื่น เมื่อต้องการแซงรถที่ขับช้ากว่าในเลนซ้าย ให้เปลี่ยนไปใช้เลนขวาเพื่อแซง และกลับเข้าเลนซ้ายเมื่อแซงเสร็จแล้ว
- ขับรถเร็ว หากขับรถด้วยความเร็วที่สูงกว่ารถคันอื่นในเลนซ้าย ผู้ขับขี่สามารถใช้เลนขวาได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนดไว้
- เตรียมตัวเลี้ยวขวา เมื่อต้องการเลี้ยวขวา ให้เปลี่ยนมาใช้เลนขวาล่วงหน้าก่อนถึงทางแยก
- ห้ามขับรถช้าแช่เลนขวา หากแซงเสร็จแล้วให้กลับเขาสู่เลนซ้ายเสมอ
Q: เค้าขับรถเกินเส้นขาวมาชนในเลนเราถือว่าเค้าผิดใช่ไหมครับ
8.การเข้าวงเวียน
เมื่อขับรถเข้าใกล้วงเวียน ผู้ขับขี่ต้องชะลอความเร็วและหยุดรอให้รถในวงเวียนด้านขวาผ่านไปก่อนจึงค่อยขับต่อ ตามกฎหมายจราจรทางบก มาตรา 70 และ 71 ที่กำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วและหยุดให้รถในวงเวียนผ่านไปก่อน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
Q: มีระยะทางบ่งบอกมั้ยรถอยู่ในวงเวียนคันไหนได้ใช้เส้นทางก่อน
9.กรณีเจอรถฉุกเฉิน
- หากเป็นคนเดินเท้า ให้หยุดและชิดขอบทางที่ใกล้ที่สุด
- สำหรับผู้ขับขี่ ให้หยุดรถหรือจอดรถให้ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ห้ามจอดหรือหยุดรถที่ทางแยก
10.การแซงบนเส้นทึบ
เส้นทึบบนถนนเป็นสัญลักษณ์ห้ามแซง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการชนกับรถในเลนสวนทาง ควรแซงในบริเวณที่มีเส้นประแทนเพื่อความปลอดภัย
การฝ่าฝืนแซงเส้นทึบมีโทษปรับตามกฎหมายจราจร 400-1,000 บาท

11.ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายกำหนดอัตราความเร็วสูงสุดที่ 80-120 กม./ชม. ขึ้นอยู่กับประเภทของถนน เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท
Q: เพื่อนขับรถเร็ว ผมเกิดอุบัติเหตุตกจากรถอย่างนี้เค้าต้องจ่ายค่ารักษาให้ผมไหมครับ
Q: สอบถามครับเกี่ยวกับเรื่องการขับรถเร็วครับ
12.การห้ามใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ
ผิดตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (8)
ผู้ขับขี่ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ เพราะว่าเป็นการขับขี่โดยไม่ได้ใช้สมาธิแบบเต็มที่ และถือว่าเป็นการประมาทซึ่งอาจสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนท่านอื่น
13.ทางม้าลาย
ทางม้าลายเป็นจุดที่ผู้ขับขี่ต้องให้ความสำคัญและระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ กฎหมายจราจรทางบกกำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องชะลอความเร็วและหยุดรถให้คนข้ามทางม้าลายทุกครั้ง ห้ามเร่งความเร็วหรือแซงในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางม้าลาย
หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท
Q: เราโดนกระจกรถมอไซเกี่ยวแขนบนทางม้าลายเรียกร้องอะไรได้บ้าง
สรุป
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คนใช้รถใช้ถนนเข้าใจกฎจราจรที่พบเจอบ่อยๆกันมากขึ้น และเข้าใจสิ่งที่พบเจอบ่อยๆได้มากขึ้น หากมีข้อสงสัยเรื่องกฎจราจรต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



