เผยแพร่เมื่อ: 2024-01-17

การยุติการตั้งครรภ์

วันนี้จะขอพูดถึง “การยุติการตั้งครรภ์” หรือว่า “การทำแท้ง” นะครับ

4.png

 

 

การทำแท้งหรือการยุติการตั้งครรภ์คืออะไร

 

ซึ่งการทำแท้งคือ การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำประสงค์เด็กทารกในครรภ์ของมารดาถูกทำลายหรือคลอดออกมาแล้วไม่มีชีวิต โดยเด็กทารกนั้นจะต้องตายตั้งแต่ในครรภ์มารดาก่อนคลอดออกมา ถ้าหากลงมือทำแท้งแล้ว เด็กคลอดออกมาแล้วมีปฏิกิริยาที่แสดงมีชีวิตต่างๆ เช่น เคลื่อนไหวร่างกาย ร้องไห้หรือหายใจนั้น ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดฐานทำแท้งสำเร็จคงรับผิดเพียงพยายามทำแท้ง โดยความผิดฐานทำแท้งนั้นถูกบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301-305 (5 มาตรา) ซึ่งความผิดทั้ง 5 มาตรานี้ถูกบัญญัติให้ใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2499 

 

 

การแก้ไขกฎหมายการทำแท้งในประเทศไทย

 

ซึ่งต่อมาวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ศาลรัฐธรรมได้มีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 ชี้ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ว่าด้วยเรื่องการทำแท้งของหญิงที่ตั้งครรภ์นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 28 ว่าด้วยสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย โดยศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่า “การปฏิเสธสิทธิของหญิงโดยไม่คำนึงเรื่องหลักเกณฑ์ระยะเวลาการตั้งครรภ์นั้นกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของหญิงเกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน” จึงแนะนำให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 และมาตรา 305 ภายใน 360 วัน ได้รับการแก้ไขเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ 28 ของปีพ.ศ.2564 ให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เป็นต้นไป  

 

กฎหมายใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับการทำแท้ง

 

การทำแท้งระบุอยู่ในประมวลกฎหมายอาญามาตราที่ 301 ถึง มาตราที่ 305 

ซึ่งมาตรา 301 และ 305 นั้นแก้ไขเพื่อให้ลดความผิดหรือยกเลิกความผิดในการทำแท้ง

ส่วนอีก 3 มาตรา (302-304) ยังคงเนื้อความเดิม 

 

 

กฎหมายเกี่ยวกับการแท้งในปัจจุบัน

 

**บทกฎหมายเดิม** : ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301

บัญญัติว่า “หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเองแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ซึ่งมาตรา 301 นั้นมุ่งลงโทษหญิงที่ตั้งครรภ์ให้ได้รับโทษ โดยไม่คำนึงว่าจะตั้งครรภ์มานานเท่าไร 

 

หลังมีการแก้ไข : มาตรา 301 

บัญญัติใหม่ว่า 

“ คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ “

 

ซึ่งกฎหมายใหม่นั้นมุ่งลงโทษหญิงที่มีครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ถ้าหากหญิงผู้นั้นตั้งครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (ไม่เกิน 84 วัน) ก็ไม่มีความผิดและต่างกันตรงที่ถ้าหญิงที่ทำแท้งอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์นั้นต้องระวางโทษจำคุกน้อยลงกว่าก่อนมีการแก้ไขกฎหมาย

 

 

3.png

 

 

มาตรา 305 เป็นบทยกเว้นความผิดในความผิดฐานทำแท้ง 

**บทกฎหมายเดิม** : ซึ่งมาตรา 305 มีเนื้อหาว่า 

“ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 (หญิงทำให้ตนเองแท้ง) หรือ มาตรา 302 (ผู้อื่นทำแท้งให้โดยหญิงยินยอม) นั้น 

หากเป็นการกระทำของนายแพทย์ และ 

(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ 

(2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติในมาตรา 276 (ฐานข่มขืน) , 277 (ฐานกระทำชำเรา) , 282-284 (เป็นธุระ จัดหา พาไปเพื่อการอนาจารของผู้อื่น) ผู้กระทำไม่มีความผิด”

 

 หลังมีการแก้ไข : ซึ่งมาตรา 305 นี้ผู้กระทำให้หญิงแท้งไม่มีความผิดหากเป็นนายแพทย์และกระทำเพื่อรักษาสุขภาพของหญิงหรือเพราะหญิงตั้งครรภ์เพราะถูกล่วงเกิน แต่

 มาตรา 305 ที่แก้ไขใหม่นี้จะมี 5 อนุมาตรา มุ่งคุ้มครองผู้ทำแท้งที่เป็น นายแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและหลักเกณฑ์ของแพทยสภาและมีเหตุผลดังนี้ 

(1)-(2) เพื่อรักษาสุขภาพของหญิงว่า หญิงอาจได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ หรือ

(3)หญิงขอยุติการตั้งครรภ์เพราะถูกล่วงเกินทางเพศ , 

(4)หญิงอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ยุติการตั้งครรภ์ และ 

(5)หญิงมีครรภ์กว่า 12 สัปดาห์ไม่ถึง 20 สัปดาห์ที่ได้รับคำยืนยันจากนายแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพแล้ว

 

 

 

การทำให้หญิงแท้งโดยยิมยอมและไม่ยินยอม

 

2.png

ต่อไปจะขอพูดถึงความผิดฐานทำแท้งมาตราอื่นๆบ้างนะครับ มาตรา 302 วรรคแรกบัญญัติว่า 

 

““ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
             ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
             ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท” 

 

มาตรา 303 วรรคแรกบัญญัติว่า 

 “ ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
             ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
             ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท”
 

 

2 มาตรานี้ต่างกันเพราะแม้จะเป็นการมุ่งลงโทษผู้อื่นที่ทำให้หญิงมีครรภ์แท้งลูกโดยผู้อื่นที่เป็นคนทำแท้งต้องไม่ใช่แพทย์ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภานั้น เช่น หมอเถื่อน คลินิกเถื่อน หรือสถานพยาบาลที่ไม่มีใบอนุญาตรับรองตามกฎหมาย เป็นต้น 

 

มาตรา 302 ลงโทษผู้ทำแท้งโดยหญิงยินยอม แต่มาตรา 303 ทำแท้งโดยหญิงไม่ยินยอมจึงต้องระวางโทษมากกว่า ส่วนมาตรา 302/303 วรรคสองและวรรคสามมุ่งลงโทษหนักขึ้น 

 

หากหญิงที่ตั้งครรภ์นั้นรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย (วรรคสอง) 

ตัวอย่างเช่น ชายไล่ให้หญิงไปทำแท้งแต่หญิงไม่ยอม ชายผู้นั้นจึงใช้กำลังทุบ เตะ ถีบที่ท้องของหญิงอย่างแรงจนหญิงแท้งลูก แม้การ กระทำของชายจะผิดตามมาตรา 303 วรรคแรกเพราะทำแท้งโดยหญิงไม่ยินยอมก็ตาม แต่ชายได้ใช้กำลังให้หญิงได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจและได้รับอันตรายสาหัสคือแท้งลูก ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 297(5) ด้วยเป็นกระทำความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษชายทำแท้งตามมาตรา 303 วรรคสองซึ่งเป็นบทหนัก 

 

กลับกัน : ถ้าชายหลอกหญิงให้กินยาบำรุงครรภ์ หญิงหลงเชื่อจึงกินยาแล้วแท้งลูกนั้น ชายก็ผิดตามมาตรา 303 วรรคแรกเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 297(5) เพราะแค่หลอกให้กินยาไม่ใช่การทำร้ายให้หญิงรับอันตรายสาหัสแต่อย่างใด ส่วนในวรรคสามนั้น ผู้ทำแท้งต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะหญิงที่ตั้งครรภ์ตาย ,

 

ในกรณีมาตรา 304 หากผู้ใดพยายามกระทำความผิดต่อไปนี้กล่าวคือ หญิงทำให้ตนเองแท้งลูก หรือ มีคนทำแท้งให้หญิงโดยหญิงยินยอม แต่ไม่สำเร็จเพราะเด็กคลอดออกมาแล้วไม่ตายนั้นอันเป็นความผิดเพียงพยายามทำแท้ง หญิงหรือคนทำแท้งก็ไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 วรรคแรกแล้วแต่กรณีเลย

 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE