เผยแพร่เมื่อ: 2024-01-25

ถ้าได้หนังสือรับสภาพหนี้ ต้องดำเนินการอย่างไร?

image3.png

ที่มาของรูปภาพ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปกร

ปัญหาหนี้สินเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้ว่าเหตุของการเป็นหนี้จะแตกต่างกัน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วลูกหนี้ก็มีหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้คืนให้กับเจ้าหนี้ แต่หลายครั้งที่การกู้ยืมนี้กระทำแบบปากเปล่า ทำให้ยากต่อการติดตามทวงถาม ทางกฎหมาย จึงได้กำหนดรูปแบบของเอกสารที่ใช้ยืนยันสถานะระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ หรือก็คือหนังสือรับสภาพหนี้นั่นเอง และเมื่อได้รับแล้วจะต้องดำเนินการตามสัญญาจึงจะไม่เป็นคดีความระหว่างกัน

 

 

หนังสือรับสภาพหนี้ คือ

23.jpg

หนังสือรับสภาพหนี้ คือหนังสือที่ลูกหนี้ทำให้แก่เจ้าหนี้ของตน เพื่อรับรองว่าตนเป็นหนี้อยู่จริง เจ้าหนี้ที่ได้รับเอกสารจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ตามกฎหมาย แต่จะต้องดำเนินการก่อนที่สิทธิเรียกร้องนั้นจะขาดอายุความ ดังนั้นเมื่อรับสภาพหนี้แล้ว หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็จะมีสิทธิ์ฟ้องร้องลูกหนี้ได้ ภายในระยะเวลาของอายุความตามที่กฎหมายกำหนด อายุความจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของหนี้สินต่าง ๆ หนี้สินบางประเภทหากเจ้าหนี้ไม่ได้ให้ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพเอาไว้ ก็อาจดำเนินคดีต่อไปได้ยาก เพราะขาดพยานและหลักฐาน บางกรณีเจ้าหนี้อาจออกเป็นเอกสารรับสภาพหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าลูกหนี้ต้องทำการคืนหนี้ตามสัญญา

'คลิกที่นี่ เพื่อดูคำปรึกษาเรื่องหนังสือรับสภาพหนี้ พร้อมคำตอบจากทนายความตัวจริง'

เอกสารรับสภาพหนี้จัดทำขึ้นเมื่อใด

เอกสารรับสภาพหนี้ มักจัดทำขึ้นด้วยเหตุผลสำคัญ ดังนี้

  1. เพื่อใช้สงวนสิทธิของฝ่ายเจ้าหนี้ในการเรียกร้องของตนต่อลูกหนี้
  2. เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแก้ไขปัญหาบางประการ เช่น ในกรณีที่ทำนิติกรรม โดยไม่ได้ทำหนังสือ หรือเอกสารสัญญาใด ๆ ไว้เป็นหลักฐานเลย จึงต้องมาตกลงทำเอกสารรับสภาพหนี้กันในภายหลัง

ข้อควรระวังในการออกเอกสารรับสภาพหนี้

  1. กรณีหนี้ที่ระบุเอาไว้ไม่มีอยู่จริง เพราะการรับสภาพหนี้ไม่สามารถก่อสิทธิเรียกร้องขึ้นใหม่ เป็นเพียงการทำรักษาสิทธิเรียกร้องตามอายุความเท่านั้น
  2. หนี้ที่สามารถทำเอกสารรับสภาพหนี้นั้น จะเป็นหนี้ประเภทใดก็ได้ ตัวอย่างเช่น หนี้กู้ยืมเงิน หนี้ค้ำประกัน หนี้จากการซื้อขายสินค้า หนี้ความรับผิดเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย หนี้ที่เกิดจากลาภอันมิควรได้ เป็นต้น
  3. เอกสารรับสภาพหนี้ต้องมีลายมือชื่อของลูกหนี้เป็นสำคัญ เอกสารรับสภาพหนี้ไม่จำเป็นต้องลงลายมือชื่อของเจ้าหนี้ หรือพยานก็ได้ แต่กฎหมายกำหนดให้ต้องลงลายมือชื่อของลูกหนี้เป็นสำคัญเท่านั้น เพราะเป็นหลักฐานแสดงถึงเจตนาฝ่ายเดียวของลูกหนี้

หนังสือรับสภาพหนี้จะมีผลบังคับทางกฎหมายเมื่อใด

ตามปกติแล้ว เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องลูกหนี้ได้ภายในอายุความที่กฎหมายกำหนด อายุความฟ้องคดี ซึ่งอาจพิจารณาได้ ดังนี้

  • การรับสภาพหนี้ก่อนอายุความเดิมสิ้นสุด อายุความจะยึดตามระยะเวลาที่กำหนดในการชำระหนี้เดิม
  • การรับสภาพหนี้หลังจากอายุความสิ้นสุด อายุความจะต่อไปอีก 2 ปีนับแต่วันที่มีการผิดสัญญา

เอกสารประกอบการยื่นฟ้อง ประกอบด้วย

  1. หนังสือสัญญาหนี้เดิม (หากไม่บรรยายในคำฟ้อง อาจถือว่าคดีไม่มีความชัดเจน)
  2. เอกสารรับสภาพหนี้ / หนังสือยืนยันยอดหนี้
  3. บัตรประจำตัวประชาชน
  4. หนังสือบอกกล่าวทวงถาม หรือเลิกสัญญา
  5. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

'คลิกที่นี่ เพื่อดูทนายความกว่า500ท่าน ที่เชี่ยวชาญด้านหนี้สิน'

การดำเนินการเมื่อเกิดคดีความจากหนังสือรับสภาพหนี้

กระบวนการดำเนินคดีจะเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระแล้วลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย โดยทั่วไปเจ้าหนี้จะส่งหนังสือทวงถามหนี้ (Notice) เพื่อเตือนลูกหนี้ก่อน และหากลูกหนี้ยังดื้อดึงไม่ยอมชำระหนี้อีก เจ้าหนี้ก็จะดำเนินการฟ้องร้องทางศาลเพื่อบังคับชำระหนี้ต่อไป

ดังนั้นในส่วนของลูกหนี้เมื่อรับหนังสือทวงถามหนี้ แต่ไม่มีความพร้อมที่จะชำระหนี้ ลูกหนี้ต้องไม่เพิกเฉย แต่ควรติดต่อไปยังเจ้าหนี้เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้ก่อน เช่น ขอเพิ่มระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ หรือขอให้เจ้าหนี้บรรเทาดอกเบี้ยให้ ซึ่งในทางกฎหมายเรียกกระบวนการนี้ว่า “การประนีประนอมยอมความ” เป็นการเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้ทำการตกลงยอมผ่อนผันระหว่างกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นคดีความระหว่างกัน

การประนีประนอมยอมความนี้จึงเป็นผลดีทั้งในแง่ของเจ้าหนี้ที่มีโอกาสได้รับการชำระหนี้คืน โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการบังคับทางกฎหมาย ในส่วนของลูกหนี้เองก็ไม่ต้องได้รับผลกระทบทางการเงินมากเกินไปอีกด้วย แต่ลูกหนี้ต้องไม่ลืมว่าผลบังคับทางกฎหมายเพื่อชำระหนี้ยังคงอยู่เหมือนเดิม

ข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเอกสารรับสภาพหนี้

มาตรา 193/14 กำหนดให้อายุความของการรับสภาพนี้สิ้นสุด เมื่อมีเหตุการณ์ต่อไปนี้

  1. ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อจากเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ทำเป็นเอกสารรับสภาพหนี้ มีการชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใด ๆ ที่ปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องไปโดยปริยาย
  2. เจ้าหนี้ดำเนินการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานแห่งสิทธิของการเรียกร้อง หรือเพื่อให้ชำระหนี้
  3. เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
  4. เจ้าหนี้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
  5. เจ้าหนี้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันมีผลเช่นเดียวกันกับการฟ้องร้องเป็นคดีความ

มาตรา 193/15 อายุความจะสะดุดหยุดลง ตามระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้น โดยไม่นับเข้ารวมในอายุความ เป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ซึ่งเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น

 

เมื่อเกิดหนี้สินไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ลูกหนี้ย่อมมีหน้าที่ชำระหนี้ตามสัญญาที่ได้กำหนดกับเจ้าหนี้ภายในระยะเวลา และเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งหากไม่สามารถทำได้ทางเจ้าหนี้ก็อาจออกหนังสือรับสภาพหนี้ให้กับลูกหนี้เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีความทางกฎหมายต่อไปได้ และเมื่อเกิดปัญหาการชำระหนี้ขอแนะนำให้ลูกหนี้อย่าเพิกเฉยหรือหนีหาย แต่ให้ติดต่อกับเจ้าหนี้เพื่อเจรจาประณีประนอมเพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบาแทน และหากไม่อยากให้ปัญหาลุกลาม ทาง Legardy ทนายความออนไลน์ ก็สามารถให้ความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

แหล่งที่มา

https://promotions.co.th/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD.html

https://numchailawyer.com/2023/06/30/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D/

https://www.thanulegal.com/17151975/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE