จ่ายหนี้ด้วยวิธีอื่น ที่ไม่ใช่เงินในทางกฎหมาย
เมื่อเวลาเกิดหนี้ขึ้นมาแล้ว หนี้นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินเสมอไป บางครั้งอาจจ่ายเป็นแรงงานได้เหมือนกัน Legardy จะพาทุกท่านไปรู้จักกับวิธีการชำระหนี้ด้วยวิธีต่างๆครับ
วัตถุแห่งหนี้ คืออะไร ?
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 194
วัตถุแห่งหนี้ คือ สิ่งที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้หรือปฏิบัติตามข้อตกลงของสัญญาหนี้ เป็นสิ่งที่ลูกหนี้ต้องปฎิบัติตามเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ โดยหนี้นั้นไม่จำเป็นต้องคิดถึงเงินเสมอไปนะครับ หนี้ที่เป็นสิ่งของก็มี
ยกตัวอย่างเช่น การที่คุณจ้างร้านซักผ้าให้ซักผ้าให้คุณ คุณจะเป็นเจ้าหนี้เพราะมีการจ้างงานโดยจ่ายเป็นเงินเกิดขึ้น และร้านซักผ้านั้นต้องกระทำการซักผ้าที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ เพื่อส่งมอบผ้านั้นให้คุณเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่คุณจ้างเขาซักผ้า
วัตถุแห่งหนี้มี 4 ประเภท
1.)วัตถุแห่งหนี้ที่เป็นเงิน คือ หนี้ที่ลูกหนี้ต้องชำระเป็นเงินโดยขึ้นอยู่กับตามที่ตกลงกันในสัญญาหรือข้อตกลงทางกฎหมาย
2.)วัตถุแห่งหนี้ที่เป็นทรัพย์สิน คือ หนี้ที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบหรือโอนเป็นทรัพย์สินตามที่ตกลงในสัญญาหรือข้อตกลงทางกฎหมาย เช่น ที่ดิน ยานพาหนะ บ้าน เป็นต้น
3.)วัตถุแห่งหนี้กระทำการ คือ เป็นหนี้ที่ลูกหนี้นั้นต้องปฎิบัติตามในสิ่งที่เจ้าหนี้ระบุไว้ การกระทำนั้นอาจะเป็นการกระทำใดก็ได้ เช่น การซ่อมแซม , การบำรุงรักษา , การทำงานตามที่ระบุไว้ในสัญญา
4.)วัตถุแห่งหนี้งดเว้นกระทำการ คือ สิ่งที่เจ้าหนี้กำหนดให้ลูกหนี้ต้องงดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การไม่เปิดเผยความลับของเจ้าหนี้ , การที่ลูกหนี้เซ็นสัญญาว่าจะไม่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันเพื่อแข่งขันกับเจ้าหนี้ , การไม่ดัดแปลงบ้านในกรณีที่ไปเช่าบ้านอยู่
อะไรทำให้เกิดหนี้ได้บ้าง ?
หรือเราเรียกอีกอย่างว่า "มูลหนี้" คือ เหตุที่ทำให้เกิดหนี้ ซึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดหนี้ได้มีดังนี้
- การละเมิด เป็นการที่ไปทำให้บุคคลอื่นๆนั้นเกิดความเสียหายไม่ว่าจะเป็น ชีวิต, ทรัพย์สิน, ร่างกาย เป็นต้น เมื่อบุคคลที่ได้ไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่นแล้ว ทางกฎหมายจะตกเป็นลูกหนี้ทันที และบุคคลที่กระทำละเมิดนั้นมีหน้าที่ที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลที่โดนกระทำละเมิด(เจ้าหนี้)
- นิติกรรม เป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการทำสัญญา เช่น การกู้ยืมเงิน, สัญญาจ้าง, สัญญาซื้อขาย เป็นต้น หากฝ่ายที่กู้ยืมทำผิดสัญญา ฝ่ายที่ให้กู้ยืมนั้นสามารถทวงหนี้ได้
- กฎหมายบังคับ เป็นมูลหนี้ที่เกิดจากกฎหมายโดยไม่ต้องทำนิติกรรมต่างๆ เช่น ภาษี , ค่าธรรมเนียม เป็นต้น
วัตถุแห่งหนี้ที่เป็นทรัพย์สิน (วัตถุแห่งหนี้ มาตรา195)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 195
ถ้าหากวัตถุแห่งหนี้ที่เป็นทรัพย์ที่ต้องส่งมอบกันนั้นระบุกว้างๆไว้เป็นเพียงแค่ประเภท เช่น น้ำมันพืช แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นน้ำมันพืชมันแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันปาล์ม ถ้าตามสัญญาไม่ได้ระบุไว้ว่า ทรัพย์นั้นต้องเป็นชนิดใด หรือดูตามเจตนาของผู้ซื้อ(เจ้าหนี้)ไม่ออกว่าเขาต้องการทรัพย์ประเภทใด ให้ผู้ขาย(ลูกหนี้)ส่งมอบวัตถุแห่งหนี้ที่เป็นทรัพย์ระดับปานกลางไปให้แทน
ปานกลางในที่นี้พิจารณาได้จากหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ราคาปานกลาง, คุณภาพปานกลาง เป็นต้น
ถ้าการที่ผู้ขาย(ลูกหนี้)ได้ทำการเลือกหรือเสนอทรัพย์ที่ทดแทนให้แล้วและฝ่ายผู้ซื้อ(เจ้าหนี้)ได้ตกลงยินยอม
ก็ให้ถือว่าทรัพย์สินที่เสนอไปแทนนั้น = ทรัพย์สินที่ตกลงจะซื้อขายกันตอนแรก
วัตถุแห่งหนี้ที่เป็นเงินตรา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196
1.)หากในสัญญาหรือนิติกรรมใดก็ตาม มีการกำหนดไว้ว่า ให้ชำระหนี้ที่เป็นเงินตราในสกุลต่างประเทศ ลูกหนี้สามารถชำระหนี้เป็นเงินสกุลไทยได้เช่นกัน แต่ต้องอิงตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลานั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 197
2.)หากเกิดกรณีที่เงินตรานั้นมีการยกเลิกการใช้ ให้ชำระเงินที่เป็นจำนวนที่ตกลงกันไว้เหมือนเดิม
ยกตัวอย่างเช่น สัญญากู้ยืมเงิน 2000บาท และให้ชำระเป็นเหรียญ 5บาทฃทั้งหมด อยู่ดีๆทางรัฐบาลประกาศยกเลิกการใช้เหรียญ 5บาท ลูกหนี้สามารถชำระเป็นเงินตราชนิดอื่นได้ เช่น ธนบัตร 20บาท เป็นต้น แต่ต้องชำระให้ครบจำนวนตามสัญญานะครับ
ถ้าวัตถุแห่งหนี้ไม่ได้กำหนดวิธีการชำระ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 198
กรณีที่วัตถุแห่งหนี้มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะจ่ายเป็นแรงงาน, เงินตรา, ทรัพย์สิน ก็ได้ แต่ลูกหนี้นั้นมีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ด้วยการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว โดยสิทธิในการเลือกตกอยู่ที่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่ในสัญญาจะตกลงกันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น ให้เจ้าหนี้หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้เลือก และลูกหนี้ต้องบอกเจ้าหนี้อย่างชัดเจน ถ้าเริ่มการชำระหนี้แล้วให้ยึดถือการชำระหนี้แบบนั้นเพียงแบบเดียว แต่ถ้า ฝ่ายลูกหนี้ที่สามารถเลือกวิธีชำระหนี้ได้นั้นไม่เลือกภายในเวลาที่กำหนด สิทธิในการเลือกจะตกเป็นของเจ้าหนี้ครับ
ยกตัวอย่างเช่น
นาย A กู้เงินจากธนาคารจำนวน 100,000 บาท สัญญาไม่ได้ระบุวิธีการชำระหนี้ ในกรณีนี้ นาย A มีสิทธิเลือกที่จะชำระหนี้ด้วยวิธีการใดวิธีหนึ่ง เช่น ชำระเป็นเงินสด โอนเงินผ่านธนาคาร หรือเช็ค
สรุป
การชำระหนี้ที่เกิดขึ้นนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเงินเสมอไป อาจจะชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินหรือชำระด้วยการกระทำการก็ได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างฝ่ายเจ้าหนี้และลูกหนี้นะครับ กำลังมองหาที่ปรึกษากฎหมายอยู่ใช่ไหม? ปรึกษากฎหมายผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมง !
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



