1.png
เผยแพร่เมื่อ: 2024-06-19

การทารุณกรรมสัตว์: กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง 

ความสำคัญของกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ 

วันนี้ทนายขอเสนอเรื่อง “การทารุณกรรมสัตว์” ซึ่งมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์คือ พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 เป็นกฎหมายที่ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองสัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหาร, สัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นยานพาหนะ, สัตว์ที่ใช้เป็นเพื่อน, สัตว์ที่ใช้ในการเฝ้าบ้าน หรือสัตว์ที่ใช้ในการแสดงต่าง ๆ รวมถึงสัตว์ป่า (คำว่าสัตว์ป่าคือสัตว์ที่อยู่อย่างอิสระไม่มีผู้ใดถือครอบครองเป็นเจ้าของ สัตว์ป่าไม่จำเป็นต้องเป็นสัตว์ในป่าเสมอไป เช่น ปลาในหนอง, นกบินอยู่บนฟ้า, หรือแมลงสาบ จิ้งจก ยุง มดที่อยู่ตามบ้านต่าง ๆ เป็นต้น)


3.png
การทารุณกรรมสัตว์เป็นความผิดที่มีโทษจำคุกและปรับสูงสุดถึง 40,000 บาท

การจำแนกสัตว์และการคุ้มครอง

สัตว์ที่ไม่มีเจ้าของเรียกว่า “สัตว์ป่า” ส่วนสัตว์ที่มีเจ้าของนั้นเรียกว่า “สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ที่มีเจ้าของ” ซึ่ง

เจ้าของของสัตว์นั้นแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

  1. เจ้าของกรรมสิทธิ์สัตว์ คือผู้ที่เป็นเจ้าของของสัตว์ตัวนั้นโดยตรง มีหน้าที่เลี้ยงดู ดูแล รักษาสัตว์รวมทั้งมีสิทธิหวงแหนสัตว์ของตนไม่ให้ตกอยู่ในความครอบครองของใคร
  2. ผู้ครอบครองสัตว์ กรณีนี้อาจไม่ใช่เจ้าของสัตว์ก็ได้ แต่เป็นผู้มีสิทธิยึดถือสัตว์นั้นเพื่อตนเองหรือยึดถือแทนเจ้าของสัตว์
  3. ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสัตว์ให้ดูแลสัตว์นั้นๆชั่วคราว โดยเจ้าของสัตว์ในแต่ละประเภทมีหน้าที่ต่อสัตว์ที่ต้องกระทำ เช่น ดูแลสัตว์ให้เหมาะสม, ห้ามปล่อยละทิ้งสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร และการขนส่ง การขนย้ายสัตว์ต้องให้เหมาะสมตามสภาพร่างกายของสัตว์

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "ข้อกฎหมายคุ้มครองสัตว์" คลิกเลย !

 

การทารุณกรรมสัตว์ 

คำว่า “ทารุณกรรมสัตว์” มีบทนิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติฯ โดยการทารุณกรรมสัตว์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

การกระทำหรืองดเว้นกระทำใดๆที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ 

เช่น การใช้ไม้ตีสุนัข, เขวี้ยงหินใส่ตาม้า, หรือยิงหนังสติ๊กใส่นกที่มีคนเลี้ยงไว้ เป็นต้น หรืออาจเป็นการกระทำรุนแรงที่ทำให้สัตว์ถึงตายได้ เช่น วางยาเบื่อสัตว์ในกรง หรือใส่ยาพิษปะปนกับอาหารในจานอาหารสัตว์ เป็นต้น

การกระทำที่ทำให้สัตว์ทรมานเพราะความบกพร่องทางร่างกาย 

เช่น สัตว์ที่มีลักษณะพิการ เจ็บป่วย ชราหรือกำลังตั้งท้องให้ใช้สัตว์ทำงานเกินสมควรแก่ร่างกายสัตว์ หรือใช้สัตว์ประกอบกามกิจเช่น ข่มขืนสัตว์ เป็นต้น

2.png


โทษทางกฎหมายสำหรับการทารุณกรรมสัตว์

การทารุณกรรมสัตว์มีโทษตามมาตรา 20 กล่าวไว้ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

การกระทำที่ไม่ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์ (มาตรา 21) เช่น การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร, การตัดงาช้างหรือลับเท้าของม้า, การฆ่าสัตว์เพื่อป้องกันโรคระบาด, การฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ, การใช้สัตว์เพื่อกีฬา หรือการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น


การป้องกันและการดำเนินคดีเมื่อพบการทารุณกรรมสัตว์ 

หากผู้ใดพบเห็นสัตว์ถูกทารุณสามารถร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนได้ทันที นอกจากการทารุณกรรมสัตว์ยังมี มาตรา 23 ที่มีใจความว่า “ห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้งหรือกระทำการใดๆให้สัตว์นั้นพ้นจากการดูแลของตน โดยไม่มีเหตุอันสมควร ปรับไม่เกิน 40,000 บาท”

เกร็ดความรู้กับ Legardy : ให้อาหารสัตว์จรจัดที่ไม่มีเจ้าของผิดกฎหมายไหม ? หาคำตอบได้ที่นี่ !


ความผิดอาญาและโทษที่เกี่ยวข้อง 

การทารุณกรรมสัตว์เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358) กล่าวคือ “ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

การทารุณกรรมสัตว์โดยเจตนา (มาตรา 381) “ผู้ใดกระทำการทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้รับความทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”


กรณีศึกษาจากคำพิพากษา

มีฎีกาน่าสนใจเช่น ฎีกาที่ 2875/2561 วันที่ 16 พฤษภาคม 2561 พนักงานอัยการคดีศาลแขวงสระบุรีเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่นำช้างมาเร่ร่อนออกขายอ้อยที่บริเวณตลาด จังหวัดสระบุรีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ประจำท้องที่ก่อน ให้ลงโทษจำคุกจำเลยและปรับจำเลย ส่วนช้างให้ริบเป็นของแผ่นดิน


สรุปกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ 

จากที่ได้กล่าวมา การทารุณกรรมสัตว์ไม่เพียงแต่เป็นการกระทำที่ขัดต่อจริยธรรมและศีลธรรม แต่ยังเป็นการละเมิดกฎหมายอย่างชัดเจน ผู้กระทำการทารุณกรรมสัตว์ไม่เพียงแต่จะต้องรับโทษทางอาญา แต่ยังต้องรับผิดชอบทางแพ่งด้วย ในขณะเดียวกันเจ้าของสัตว์ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายในการดูแลและคุ้มครองสัตว์อย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สัตว์และบุคคลอื่น หากกำลังเปิดปัญหาเรื่องสัตว์อยู่ ต้องการปรึกษากฎหมาย สามารถปรึกษาทนายความผ่าน Legardy ได้เลยครับ

 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE