เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-25

กฎหมายคุ้มครองสัตว์และความรับผิดหากสัตว์ไปสร้างความเดือดร้อน

ข้อมูลปี 2024 ล่าสุด พบว่าคนนั้นนิยมมีลูกน้อยลงและหันมาเลี้ยงสัตว์เลี้ยงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งหมาและแมวรวมไปถึง exotic pets ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น งู กิ้งก่า แมงมุม บทความนี้ Legardy จะอธิบายกฎหมายคุ้มครองสัตว์และความรับผิดหากสัตว์เหล่านั้นไปสร้างความเดือดร้อน

1.png

ขับรถชนหมา(สุนัข)ในพื้นที่ส่วนบุคคล

“ขับรถชนหมา(สุนัข)“ เรื่องการขับรถแล้วไปชนหมา(สุนัข)นั้นมีประเด็นน่าสนใจว่า เจ้าของรถได้ขับชนหมา(สุนัข)ในท้องที่ใดและต้องรับผิดมากน้อยเพียงใด ขอแบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ

1.ขับรถชนหมา(สุนัข)ในที่ส่วนบุคคล

เจ้าของสัตว์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่ผู้ขับรถชนหมา(สุนัข)ของตนได้ เพราะหมา(สุนัข)อยู่ในที่ที่ส่วนบุคคล

ขับรถชนหมา(สุนัข)ในพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น การขับรถไปในบ้านอันเป็นที่รโหฐานของบุคคลใดๆ แล้วได้มีการขับรถชนหมา(สุนัข)จนบาดเจ็บ เจ้าของสัตว์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่ผู้ขับรถชนหมา(สุนัข)ของตนได้ เพราะหมา(สุนัข)อยู่ในที่ที่ส่วนบุคคล เจ้าของรถควรจะใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่ให้ก่อให้เกิดอันตรายแก่หมา(สุนัข) ซึ่งกรณีนี้เจ้าของรถเป็นฝ่ายผิด

2.ขับรถชนหมา(สุนัข)ที่วิ่งตัดหน้ารถบนท้องถนน ขับรถชนสุนัขโดยไม่ได้ตั้งใจ

เจ้าของรถไม่ใช่ฝ่ายผิด แต่เจ้าของหมา(สุนัข)ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่รถของผู้นั้นด้วย

ขับรถชนหมา(สุนัข)ที่วิ่งตัดหน้ารถบนท้องถนน กรณีที่เป็นถนนไม่ว่าจะเป็นถนนสาธารณะหรือถนนหลวงของนิติบุคคล กรณีนี้เจ้าของรถไม่ใช่ฝ่ายผิด แต่ความผิดเป็นของหมา(สุนัข)ที่วิ่งตัดหน้าและถ้าเป็นหมา(สุนัข)มีเจ้าของเจ้าของหมา(สุนัข)ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่รถของผู้นั้นด้วย โดยอ้างอิงจาก
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 111 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดขี่จูงไล่ตอนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทางในลักษณะที่เป็นการกีดขวางทางจราจรและไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ” หมายความว่า ถนนนั้นเป็นที่สำหรับเดินรถไม่ใช่ที่ทางสำหรับสัตว์ เจ้าของสัตว์ต้องป้องกันและระมัดระวังให้กับสัตว์เลี้ยง การที่เจ้าของสัตว์ปล่อยสัตว์เลี้ยงเข้ามาในเขตถนนเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ผู้ขับรถไม่ต้องรับผิดและยังสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของสัตว์ในกรณีรถเสียหายเพราะถูกหมา(สุนัข)วิ่งตัดหน้ารถ แต่ทางกลับกัน 

3.เจ้าของรถขับรถชนหมา(สุนัข)บนทางเท้า

เจ้าของรถเป็นฝ่ายผิดและต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของสุนัขอีกทั้งเจ้าของรถรถนั้นทำผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกด้วยจากการขี่รถบนทางเท้า

นอกจากนี้ การที่เจ้าของหมา(สุนัข)ปล่อยปะละเลยหมา(สุนัข)ของตนยังเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377 ใจความว่า 
“ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปะละเลยให้สัตว์นั้นไปเที่ยวโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และยังเป็นละเมิดในทางแพ่งอีกด้วย 
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแก่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น“

เกร็ดความรู้กับ Legardy : กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำร้ายสัตว์ คลิกเพื่ออ่าน !

 

 

 

ฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับขับรถชนหมา(สุนัข)

ฎีกาที่ 6089/2559

เจ้าของหมา(สุนัข)ต้องรับผิด เพราะหมา(สุนัข)วิ่งตัดหน้ารถจักรยานยนต์จนทำให้เกิดอุบัติเหตุ

ฎีกาที่ 6089/2559 เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของหมา(สุนัข)จึงเป็นผู้ดูแลสัตว์จะต้องควบคุมดูแลสัตว์มิให้กีดขวางทางจราจร การที่หมา(สุนัข)ของจำเลยทั้งสองวิ่งตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ในระยะกระชั้นชิดย่อมเป็นผลโดยตรงที่ทำให้รถจักรยานยนต์ของโจทก์ล้ม เมื่อไม่ปรากฎทางนำสืบของจำเลยทั้งสองว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงและไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างไร ดังนั้น เหตุละเมิดจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสองที่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการควบคุมดูแลหมา(สุนัข) เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 433 วรรคหนึ่ง

ฎีกาที่ 1639/2565

การให้อาหารหมา(สุนัข)จรจัดเท่ากับเป็นเจ้าของ ต้องรับผิดหากหมา(สุนัข)ทำอันตรายแก่บุคคลอื่น

ฎีกาที่ 1639/2565 การที่จำเลยให้อาหารหมา(สุนัข)จรจัดมาหลายปีเท่ากับว่า จำเลยเป็นเจ้าของหมา(สุนัข)นั้นโดยการเลี้ยงดูแล้ว เมื่อหมา(สุนัข)กัดเด็กคนหนึ่งถึงแก่ความตาย เท่ากับจำเลยกระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ และเป็นการกระทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยประมาทมาตรา 291 ด้วย ถือว่า ผู้เลี้ยงอาหารหมา(สุนัข)จรจัดเป็นประจำปล่อยปะละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวโดยลำพังจนเกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นผิดตามมาตรา 377 ด้วย นอกจากนี้ เมื่อจำเลยปล่อยปะละเลยสัตว์ไปกัดผู้อื่นตายถือว่า ความเสียหายเกิดเพราะหมา(สุนัข)จรจัดดังกล่าว จำเลยซึ่งเป็นบุคคลผู้ให้อาหารหมา(สุนัข)จรจัดนั้นต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ฝ่ายเด็กที่ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 433 วรรคหนึ่งด้วย

ขับรถชนหมา(สุนัข)ไม่ได้ตั้งใจ

ตั้งสติ เปิดไฟฉุกเฉิน จอดรถและลงมาดูหมา(สุนัข)ที่บาดเจ็บ และรีบนำไปหาสัตวแพทย์

กรณีนี้ถ้าได้ขับชนหมา(สุนัข)ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ควรขับรถหนีแต่ควรตั้งสติ เปิดไฟฉุกเฉิน จอดรถและลงมาดูหมา(สุนัข)ที่บาดเจ็บ หากมันยังไม่ตาย (กรณีเป็นหมา(สุนัข)จรจัด) ควรรีบนำไปหาสัตวแพทย์ในทันที แต่ถ้าเป็นหมา(สุนัข)ที่มีเจ้าของกรณีรู้ว่าเจ้าของหมา(สุนัข)เป็นใครควรปรึกษาเจ้าของหมา(สุนัข)ก่อนพาไปรักษา ในกรณีขับรถชนหมา(สุนัข)แล้วหนีผู้ขับชนมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ (ที่จะกล่าวต่อไป) การขับชนหมา(สุนัข)ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ให้พิจารณาว่ารถยนต์ของเราได้ทำประกันไว้หรือไม่ ถ้าเป็นประกันภัยชั้น 1 บริษัทจะชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดให้แก่เจ้าของหมา(สุนัข)เอง ในทางกลับกันถ้าไม่ได้ทำประกันภัยชั้น 1 เจ้าของรถจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่างๆเอง ไม่สามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันได้ ดังนั้น การขับรถชนหมา(สุนัข)ยังเข้าข่ายของการทารุณกรรมสัตว์ด้วยซึ่งมีกฎหมายเกี่ยวข้องดังหัวข้อต่อไปนี้

อ่านคำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความเรื่อง "สัตว์เลี้ยง" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

Q: สุนัขโดนฆ่าตาย เหตุไปกัดไก่

Q: สุนัขข้างบ้านวิ่งมาตัดหน้ารถเราจนล้มบาดเจ็บ

Q: สิทธิในการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง

Q: แมวของคนข้างบ้านสร้างความเสียหายให้แก่เรา


กฎหมายคุ้มครองสัตว์2567 มาตราสำคัญ

พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557

ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 มาตรา 20
“ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร” ประกอบมาตรา 31 
“ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีไว้เพื่อคุ้มครองสัตว์ชนิดต่างๆ ได้แก่ สัตว์เลี้ยง สัตว์สงวน สัตว์ป่า ไม่ว่าสัตว์นั้นจะมีเจ้าของหรือไม่ก็ตามเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใดทารุณกรรมทำร้ายสัตว์ให้ได้รับบาดเจ็บหรือถึงตาย โดยผู้พบเห็นผู้ใดกระทำทารุณกรรมสัตว์สามารถร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ และยังรวมถึงการใช้งานสัตว์ให้พอเหมาะสมแก่สภาพของสัตว์ต่างๆ เช่น ไม่ใช้งานสัตว์ที่แก่ชรา ท้องแก่ หรือเจ็บป่วยให้ใช้งานหนักเกินความสมควร ดังนั้น การขับรถชนหมา(สุนัข)ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็สามารถเข้าข่ายเป็นการทารุณกรรมสัตว์ได้ นอกจากนี้ เจ้าของสัตว์เลี้ยงมีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงของตนให้อยู่ในความดูแล ไม่ควรปล่อยปะละเลยให้เป็นสัตว์จรจัดหรือปล่อยสัตว์เลี้ยงของตนไปสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ใดด้วย ซึ่งตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว “ห้ามปล่อย ละทิ้งสัตว์ให้พ้นความดูแลของตัวเอง ยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่น หากฝ่าฝืนต้องระวางระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท”

กฎหมายคุ้มครองหมา(สุนัข) 2565

มีการปรับปรุงบทลงโทษสำหรับการทารุณกรรมหมา(สุนัข)ให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อความรับผิดชอบต่อหมา(สุนัข)ของตน

กฎหมายคุ้มครองหมา(สุนัข)ในปี 2565 ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้ความคุ้มครองหมา(สุนัข)ที่ดีขึ้น โดยเพิ่มบทลงโทษสำหรับการทารุณกรรมหมา(สุนัข)อย่างเข้มงวดมากขึ้น เพื่อให้เจ้าของสัตว์และผู้ดูแลหมา(สุนัข)มีความระมัดระวังและรับผิดชอบต่อหมา(สุนัข)ของตนมากยิ่งขึ้น

กฎหมาย เอาผิดเจ้าของแมว

หากแมวไปสร้างความเสียหายหรืออันตรายแก่บุคคลอื่น เจ้าของแมวต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเช่นเดียวกับเจ้าของหมา(สุนัข)

นอกจากกฎหมายคุ้มครองหมา(สุนัข)แล้ว กฎหมายยังครอบคลุมถึงการเอาผิดเจ้าของแมวด้วย โดยหากแมวของเจ้าของไปสร้างความเสียหายหรืออันตรายแก่บุคคลอื่น เจ้าของแมวต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเช่นเดียวกับเจ้าของหมา(สุนัข) ทั้งนี้เพื่อให้การเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงเป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สังคม

พรบ.คุ้มครองแมว

เจ้าของแมวต้องดูแลและเลี้ยงดูแมวของตนให้อยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยปะละเลยให้แมวไปสร้างความเดือดร้อนหรืออันตรายแก่ผู้อื่น

พรบ.คุ้มครองแมว ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อให้การคุ้มครองแมวเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับหมา(สุนัข) โดยกำหนดให้เจ้าของแมวต้องดูแลและเลี้ยงดูแมวของตนให้อยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยปะละเลยให้แมวไปสร้างความเดือดร้อนหรืออันตรายแก่ผู้อื่น และมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับการทารุณกรรมแมวอย่างเข้มงวด

กฎหมายคุ้มครองแมวและหมา(สุนัข)

คำตอบ: การขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงให้ตรงกับสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของ พร้อมออกบัตรประจำตัวสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันการทอดทิ้ง

ปัจจุบันได้มีการให้ความสำคัญในการดูแลสัตว์เลี้ยงต่างๆ เช่นแมวและหมา(สุนัข) โดยให้ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงให้ตรงกับสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของของแมว หมา(สุนัข)นั้น พร้อมทั้งมีการอนุญาตให้ออกบัตรประจำตัวหมา(สุนัข)กับแมว หากมีผู้พบเห็นแมวและหมา(สุนัข)หายจะสามารถสังเกตจากบัตรประจำตัวและสามารถพาส่งกลับถึงมือเจ้าของได้อย่างปลอดภัย เป็นมาตรการที่มีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้หมา(สุนัข)กับแมวถูกทอดทิ้งเป็นสัตว์จรจัดหรือไปก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใดเป็นมาตรการที่ได้ออกโดย รศ.นสพ.ปานเทพ รัตนากร อุปนายกสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งไทย รวมทั้งมีการระบุให้ฉีดวัคซีนป้องกันพิษหมา(สุนัข)บ้าและทำหมันให้แก่สัตว์ถ้ากรณีจำเป็นเพื่อไม่ให้สัตว์แพร่พันธุ์มากเกินไป


2.png

วิธีการเลี้ยงหมา(สุนัข)และแมวที่สำคัญ

เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากสัตว์เลี้ยงควรมีวิธีการดูแลดังนี้

การจัดการสัตว์เลี้ยง

  • ฝึกไม่ให้หมา(สุนัข)เห่าเป็นประจำจนเกินไป ยกเว้นในกรณีที่ผิดสังเกตเป็นบางครั้ง

กรณีเสียง ในกรณีหมา(สุนัข)ที่เห่าเสียงดังต่อเนื่องจนสร้างความรำคาญของเพื่อนบ้าน เจ้าของควรดูแลฝึกฝนไม่ให้มันเห่าเป็นประจำจนเกินไป ยกเว้นนานๆทีหมา(สุนัข)อาจจะเห่ากรณีที่ผิดสังเกตเป็นบางครั้ง

  • การจัดการกับอุจจาระของสัตว์เลี้ยง เจ้าของควรใส่ใจตามเก็บอุจจาระและทำความสะอาดให้เรียบร้อยในกรณีที่สัตว์ถ่ายนอกบ้าน
  • การพาสัตว์เลี้ยงไปสูดอากาศบริสุทธิ์ การพาสัตว์เลี้ยงออกไปข้างนอกนั้นต้องมีสายจูงและถุงพลาสติกอยู่เสมอ

พาสัตว์เลี้ยงไปสูดอากาศบริสุทธิ์นอกบ้าน เช่นหมา(สุนัข) เพื่อป้องกันไม่ให้มันอยู่ในบ้านนานจนเครียดและเห่าโดยไม่มีสาเหตุ โดยเจ้าของควรมีสายจูงสัตว์ของตนไม่ให้เดินสะเปะสะปะไปกัดคนอื่น โดยเฉพาะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กๆ หรือวิ่งตัดหน้ารถได้ ในขณะพาสัตว์เดินจูงนั้นควรมีถุงพลาสติกเพื่อเก็บอุจจาระของสัตว์พกติดตัว เพื่อป้องกันมันไปถ่ายทิ้งไว้หน้าบ้านคนอื่นหรือบนทางสาธารณะได้

เกร็ดความรู้กับ Legardy : ให้อาหารสัตว์จรจัดผิดกฎหมายไหม ? ร่วมหาคำตอบกันได้ที่บทความนี้ คลิกเลย !

การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงกับเพื่อนบ้าน

ใส่ใจเพื่อนบ้านข้างเคียง รับฟังและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงของตนเพื่อไม่ให้ไปก่อปัญหาเดิมๆซ้ำๆอีก

การฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์เลี้ยง

ควรฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์เลี้ยงสม่ำเสมอปีละ 1ครั้ง เช่น วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหรือวัคซีนรวมอื่นๆเพื่อสุขภาพของตัวสุนัขเอง

ควรฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์เลี้ยงสม่ำเสมอ โดยมีโรคที่น่าวิตกกังวลคือ “โรคพิษหมา(สุนัข)บ้า” หรือเรียกว่าโรคกลัวน้ำไม่จำกัดว่าโรคดังกล่าวจะเกิดเฉพาะหมา(สุนัข) แต่สามารถเกิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดไม่ว่า หมา(สุนัข) แมว และหนู ซึ่งสามารถเผยแพร่จากสัตว์มาสู่คนได้ โรคพิษหมา(สุนัข)บ้าในสัตว์มีผลกระทบต่อระบบประสาทและสมองของสัตว์ ส่งผลให้มีผลข้างเคียงถึงตายได้ ดังนั้น ควรมีการป้องกันโรคดังกล่าวด้วยการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยงตั้งแต่มีอายุ 3 เดือนและควรฉีดครั้งต่อไปที่อายุ 6 เดือน แม้วัคซีนป้องกันโรคจะส่งผลป้องกันสุขภาพของสัตว์ได้นานถึง 5 ปี

หากมีข้อสังสัยหรือเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงขึ้นต้องการคำปรึกษาทางด้านกฎหมายสามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE