เมื่อถูกทำร้ายร่างกาย ต้องรีบไปแจ้งความหรือไม่
ไม่มีใครควรถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจด้วยกันทั้งนั้น แม้ว่าจะมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างไรก็ตาม แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และเกิดขึ้นโดยที่ผู้ถูกกระทำไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อน และผู้ลงมือก็อาจเป็นคนใกล้ชิดที่ผู้เสียหายคาดไม่ถึงได้อีกด้วย แต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว ผู้เสียหายไม่ควรนิ่งเฉยปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนวล เพราะผู้กระทำผิดอาจได้ใจ และกลับมากระทำผิดซ้ำอีกได้ ผู้เสียหายจึงควรนำกฎหมายมาใช้หยุดการกระทำผิดนั้นภายในช่วงอายุความที่กฎหมายกำหนด
'อ่านบทความเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย จากทนายความผู้เชี่ยวชาญคดีอาญา คลิก'
การปฏิบัติเมื่อถูกทำร้ายร่างกาย
เมื่อถูกทำร้ายร่างกาย สิ่งแรกที่ควรทำ คือการเอาตัวเองออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ และควรเก็บหลักฐาน หรือจดจำรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเอาไว้ให้ได้ เพื่อใช้เป็นรายละเอียดในการแจ้งความต่อตำรวจ
'ทำไมไปแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ดำเนินการให้ ? คลิกเพื่ออ่านบทความ'
โดยเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับคนที่ลงมือทำร้าย ทำร้ายที่ไหน อย่างไร และเมื่อไหร่ และควรส่งตัวให้แพทย์วินิจฉัยว่าร่างกายของผู้เสียหายบาดเจ็บแค่ไหน เพื่อนำคำวินิจฉัยของแพทย์ไปประกอบในสำนวนคดี และใช้ตั้งข้อกล่าวหาผู้กระทำความผิดต่อไป
ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
ตามประมวลกฎหมายอาญาคดีรูปแบบนี้สามารถแบ่งได้ 6 ประเภท ตามอัตราโทษทางกฎหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้
- พิจารณาตามมาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- พิจารณาตามมาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย โดยลักษณะความผิดมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี จะต้องโทษในอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- พิจารณาตามมาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายสาหัส จนมีลักษณะอาการดังนี้
- ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
- เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์
- เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
- หน้าเสียโฉมอย่างถาวร
- แท้งลูก
- จิตพิการอย่างถาวร
- ทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งอาจมีอาการไปตลอดชีวิต
- ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนานานกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้นานกว่า 20 วัน
คลิกที่นี่ เพื่ออ่านมากกว่า 80 คำปรึกษาจริง ในเรื่องคดีการทำร้ายร่างกาย
Q: ปรึกษากรณีโดนหัวหน้างานทำร้ายร่างกาย
Q: รุ่นพี่ที่ทหารทำร้ายร่างกายรุนแรง
มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 - 200,000 บาท
- พิจารณาตามมาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 297 และความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ซึ่งเป็นบัญญัติเกี่ยวกับการค้าประเวณี จะมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 - 200,000 บาท
- พิจารณาตามมาตรา 299 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นเป็นอันตราย จากการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงหลักฐานได้ว่า เป็นการกระทำเพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้ หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นก็จะไม่ต้องรับโทษ
- พิจารณาตามมาตรา 300 ผู้ใดกระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส จะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ส่วนการทำร้ายร่างกายที่เกิดขึ้นจาก “บันดาลโทสะ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ระบุว่า “ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” ซึ่งหลักเกณฑ์ว่าสถานการณ์ใดเกิดจากการบันดาลโทสะ จะพิจารณาว่ามีลักษณะของการกระทำก่อนหน้าที่จะมีการทำร้ายต่อกัน
คดีทำร้ายร่างกายมีอายุความกี่ปี
ในกรณีที่ผู้เสียหายมีเหตุจำเป็นให้ไม่สามารถแจ้งความได้ในทันที ตามมาตรา 95 ได้กำหนดอายุความของคดีนี้นับจากวันที่ถูกทำร้ายร่างกายไว้ ดังนี้
- 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี
- 15 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 7 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปี
- 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 – 7 ปี
- 5 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 เดือนถึง 1 ปี
- 1 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ดังนั้นผู้เสียหายจากคดีทำร้ายร่างกายไม่ควรชะล่าใจ และควรเข้าแจ้งความก่อนที่คดีจะหมดอายุความ เพราะนอกจากจะช่วยคืนความเป็นธรรมให้กับตนเองแล้ว ยังเป็นวิธีป้องกันการถูกทำร้ายจากคนร้ายซ้ำอีกครั้งได้ด้วย
ในปัจจุบันคดีทำร้ายร้างกายนับเป็นปัญหาสังคมที่สามารถพบได้ตามหน้าสื่อต่าง ๆ ได้บ่อย ๆ และหลายครั้งผู้ที่ทำร้ายผู้เสียหายก็เป็นคนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัว ทำให้ผู้เสียหายไม่กล้าที่จะเข้าแจ้งความ แต่ทราบหรือไม่ว่าการกระทำดังกล่าวอาจส่งผลให้คนร้ายย่ามใจ และกระทำผิดดังกล่าวซ้ำอีก หรือการกระทำรุนแรงนั้นอาจเลวร้ายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย ดังนั้นแนะนำว่าผู้ที่ถูกทำร้ายอย่าชะล่าใจ หรือหากมีข้อกังวลในเรื่องกฎหมายสามารถขอคำแนะนำจาก Legardy ทนายความออนไลน์ ที่พร้อมให้บริการแบบ 24 ชั่วโมง
แหล่งที่มา
https://www.dharmniti.co.th/attack/
https://justicechannel.org/read/hot-issue-help
https://www.thairath.co.th/news/society/2625631
https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/225708