กฎหมายล้มละลาย กฎหมายฟื้นฟูกิจการ และกฎหมายฟื้นฟูกิจการ
อ่าน มากกว่า40คำปรึกษาจริงเรื่อง "โดนฟ้องล้มละลาย" พร้อมคำตอบจากทนายความผู้เชี่ยวชาญ คลิกที่นี่!
Q: เมื่อปลดจากล้มละลายแล้ว หนี้ทั้งหมดจะเป็นศูนย์?
Q: พ่อโดนฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย กำลังโดนไล่ยึดทรัพย์ ส่งผลใดๆต่อภรรยาและลูกหรือไม่
Q: ปลดล้มละลายแล้ว มีจดหมายทวงหนี้จากเจ้าหนี้
กฎหมายล้มละลาย กฎหมายฟื้นฟูกิจการ และกฎหมายฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นกฎหมายที่อยู่ในฉบับเดียวกัน
คือ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 แต่มีเจตนารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน ดังนี้
เจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลาย
กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายที่มีหลักการสำคัญในการชำระสะสางหนี้ของลูกหนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้ลูกหนี้ได้หลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงโดยเร็วเพื่อให้ลูกหนี้ที่สุจริตได้มีโอกาสที่จะตั้งตัวใหม่โดยปลอดจากหนี้สินทั้งปวงอย่างรวดเร็วซึ่งย่อมจะเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย อันอาจจะกล่าวได้ว่ากฎหมายล้มละลายเป็น กฎหมายเกี่ยวกับการบังคับชำระหนี้อย่างหนึ่งที่ต่างไปจากระบบกฏหมายแพ่ง เนื่องจากกฎหมายล้มละลายมีการบัญญัติถึงหลักเกณฑ์วิธีการที่เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย รวมถึงวิธีการต่างๆในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
'ทรัพย์แบบไหนที่เจ้าหนี้สามารถยึดและอายัดได้บ้าง บทความนี้มีคำตอบ! คลิกเลย'
โดยการสร้างมาตรการในการจัดการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อการชำระหนี้ให้แก่ผู้เป็นเจ้าหนี้ด้วยกันทุกรายในลักษณะที่เป็นการทำเพื่อประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ไปในคราวเดียวกัน โดยมีกระบวนการต่างๆในการจัดการทรัพย์สินของผู้เป็นลูกหนี้เพื่อนำทรัพย์สินของลูกหนี้เท่าที่ยังมีอยู่นั้นไปแบ่งเฉลี่ยชำระหนี้ให้แก่ผู้เป็นเจ้าหนี้ทั้งหลายตามสัดส่วนแห่งมูลหนี้ด้วยความเป็นธรรมด้วยเหตุนี้วัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลายจึงได้มุ่งเน้นในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้อย่างสะดวกรวดเร็ว เป็นธรรม และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในการดำเนินคดีแพ่งสามัญทั่วไป ซึ่งถือเป็นการป้องกันมิให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกันระหว่างเจ้าหนี้ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันมิให้ลูกหนี้ต้องถูกบังคับเร่งรัดหนี้สินด้วยความไม่เป็นธรรมอีกทางหนึ่งด้วย
'อ่านเลย! รู้จักคดีล้มละลายให้มากขึ้น ทำอย่างไรเมื่อโดนฟ้องล้มละลาย!'
เจตนารมณ์ของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ
กฎหมายฟื้นฟูกิจการมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ธุรกิจของลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางด้านการเงินยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้ในขณะที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้เพื่อให้ลูกหนี้กลับมาเป็นหน่วยงานทางธุรกิจหนึ่งในระบบเศรษฐกิจที่มีความสามารถในการผลิตและแข่งขันได้ โดยเหตุผลที่กฎหมายยอมให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ทั้งที่สถานะทางการเงินของลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หรือมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินแล้วนั้น เนื่องจากกฎหมายฟื้นฟูกิจการจะช่วยรักษามูลค่าของกิจการลูกหนี้ไว้ด้วยมาตรการที่เรียกว่า "สภาวะพักชำระหนี้" (Aotomatic Stay) การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะเป็นไปตามแผนที่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่และมีการชำระหนี้ตามความสามารถที่แท้จริงของลูกหนี้ในปัจจุบัน อันจะส่งผลให้เจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้มากกว่าการที่จะให้กิจการของลูกหนี้ล้มละลาย
'เมื่อได้รับหนังสือรับสภาพหนี้ ต้องทำอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!'
เจตนารมณ์ของกฎหมายฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
กฎหมายฟื้นฟูกิจการ (SMEs) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้ที่ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ที่ไม่อยู่ในสถานะที่จะชำระหนี้มีโอกาสได้รับการฟื้นฟูกิจการและไม่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย หากมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



