เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-22

คดีอาญายอมความได้ไหม?

โดยปกติแล้วความผิดทางอาญานั้นสามารถแบ่งแยกได้เป็น 2ประเภท

1.ความผิดอาญาแผ่นดิน

คือความผิดที่เมื่อเกิดการกระทำขึ้นแล้ว นอกจากส่งผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำยังส่งผลกระทบต่อสังคมอีกด้วยต่อให้ทางผู้เสียหายนั้นไม่ติดใจเอาความ แต่เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องดำเนินคดีทางกฎหมายต่อ หรือให้เข้าใจง่ายๆก็คือ "ยอมความไม่ได้นั่นเอง"

2.ความผิดต่อส่วนตัว

คือความผิดที่กระแล้วมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ถูกกระทำเท่านั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมหรือแผ่นดิน ซึ่งความผิดส่วนตัวนั้นเป็นความผิดที่ยอมความได้ ซึ่งในประมวลกฎหมายอาญานั้นจะมีการระบุอย่างชัดเจนว่า ความผิดไหนเป็นความผิดที่ยอมความได้ หากไม่มีการระบุว่าเป็นความผิดอาญาที่ยอมความได้ ให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดต่อแผ่นดินซึ่งไม่สามารถยอมความได้นะครับ

หากความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอาญาที่ยอมความได้นั้นหากมีการถอนฟ้องหรือถอนการแจ้งความหรือทั้งสองฝ่ายมีการเจรจาตกลงยอมความกันแล้ว จะไม่สามารถนำเรื่องนั้นเป็นเหตุแห่งการฟ้องร้องหรือฟ้องซ้ำได้อีก

ความผิดต่อส่วนตัวนั้นต้องมีการร้องทุกข์จากผู้เสียหายก่อนถึงจะเริ่มขั้นตอนการสืบสวนได้

2.png
การชี้แจ้งข้อเท็จจริง

คดีอาญา ถอนแจ้งความได้ไหม ยอมความคดีอาญา

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา126 ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้
และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย

หากเป็นคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว ถ้าฝ่ายโจทก์หรือผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงที่จะจบคดีกันแล้วจะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีนั้นระงับไป แต่ถ้าเป็นความผิดต่อแผ่นดิน ต่อให้เจ้าทุกข์ถอนฟ้องแล้ว การสืบสวนก็จะดำเนินต่อไปแล้วทางพนักงานสอบสวนนั้นจะส่งให้อัยการฟ้องคดี ต่อไป


3.png

คดีอาญา ความผิดอาญาที่ยอมความได้ มีอะไรบ้าง

1.)ความผิดเกี่ยวกับทางการค้า 

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272

1.) เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น
2.) เลียนป้าย หรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกันจนประชาชนน่าจะหลงเชื่อว่าสถานที่การค้าของตนเป็นสถานที่การค้าของผู้อื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง
3.) ไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความเท็จเพื่อให้เสียความเชื่อถือในสถานที่การค้า สินค้า อุตสาหกรรมหรือพาณิชย์การของผู้หนึ่งผู้ใด โดยมุ่งประโยชน์แก่การค้าของตน

หากทำผิดตามข้างต้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.)พาและซ่อนเร้นเด็กที่อายุเกิน 15ปีขึ้นไปเพื่อการอนาจาร

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 283

“ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20ปี และปรับตั้งแต่100,000-400,000บาท
ความผิดตามวรรคแรกและวรรคสามเฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปี เป็นความผิดอันยอมความได้

3.)พาและซ่อนเร้นบุคคลอื่นเพื่อการอนาจารด้วยการข่มขืนใจ

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 284

“ผู้ใดพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่1-10ปี และปรับตั้งแต่20,000-200,000บาท ความผิดตามมาตรานี้ เป็นความผิดอันยอมความได้

4.)การเปิดเผยความลับ

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 322 , 323 

  • ด้านเอกสาร จดหมาย โทรเลขหรือเอกสารใดๆ เพื่อล่วงรู้ข้อมูลหรือนำข้อความออกมาเปิดเผย ถ้าการกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ด้านบุคคล บุคคลที่ประกอบอาชีพเหล่านี้ แพทย์ , เภสัชกร , คนจำหน่ายยา , นางผดุงครรภ์ , ผู้พยาบาล , นักบวช , หมอความ ทนายความ หรือผู้สอบบัญชี ถ้าอาชีพเหล่านี้นำข้อมูลของลูกค้าหรือคนไข้โดยไม่ได้รับอนุญาตและทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นความผิดอันยอมความได้

5.)การหมิ่นประมาท 

ความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นความผิดอันยอมความได้

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "รวมทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการหมิ่นประมาท"

 

6.)ความผิดฐานฉ้อโกง

ความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นความผิดอันยอมความได้
ยกเว้นการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 จะยอมความไม่ได้

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "ฉ้อโกงอย่างละเอียด"

7.)ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 

เพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ย้าย ซ่อนเร้น หรือโอนทรัพย์ให้แก่ผู้อื่น หรือแกล้งว่าเป็นหนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นความผิดอันยอมความได้

8.)ความผิดฐานยักยอกทรัพย์

ความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นความผิดอันยอมความได้

9.)ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คือ การที่ทำให้ทรัพย์สินนั้นเสียหาย ทำลาย หรือทำให้เสื่อมค่า โดยที่ทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่น หากทำต่อเครื่องจักรที่ใช้ในการทำเกษตรกรรม , ปศุสัตว์ , ผลผลิตจากการเกษตร จะต้องรับโทษหนักขึ้น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358 และ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 359

ความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นความผิดอันยอมความได้

ทำความรู้จักกับความผิดฐาน "ทำให้เสียทรัพย์" มากขึ้น คลิกที่นี่ !

10.)ความผิดฐานบุกรุก

ความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นความผิดอันยอมความได้ ยกเว้น เป็นการบุกรุกที่ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง , บุกรุกโดยมีอาวุธติดตัว , บุกรุกในเวลากลางคืน

อ่านบทความเรื่อง "ความผิดฐานบุกรุก" อย่างละเอียด คลิกเลย !

4.png


คดีอาญา มี อะไรบ้าง

สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท

1.)คดีอาญาแผ่นดินที่รัฐเป็นผู้เสียหายเท่านั้น

 คือ คดีอาญาที่มุ่งประสงค์จะให้รัฐเป็นผู้เสียหาย ดังนั้นรัฐหรือเจ้าพนักงานของรัฐเท่านั้นที่จะมีอำนาจในการดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิด รัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐนั้นจึงเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในการฟ้องร้อง 
โดยมีความผิดดังต่อไปนี้

2.)คดีอาญาแผ่นดินที่มีผู้เสียหาย

 คือ คดีอาญาที่ผู้กระทำผิดนั้นได้สร้างความเสียหายแก่ทั้งบุคคลและรัฐ โดยบุคคลและเจ้าพนักงานของรัฐมีอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิด เช่น

3.)คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวหรือคดีความผิดที่ยอมความได้

 หมายความถึงคดีอาญาที่ผู้กระทําความผิดได้กระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ได้รับความเสียหายเป็นส่วนตัวโดยตรง ไม่มีผลกระทบต่อรัฐ สังคมส่วนรวมหรือประชาชนทั่วไป


สรุป

ในการกระทำผิดทางอาญานั้นหากเป็นคดีอาญาที่ยอมความได้ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าทุกข์หรือโจทก์ว่าเขาจะยอมความหรือไม่ ทั้งนี้ก็อยู่ที่กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยต่างๆ แต่หากเป็นความผิดอาญาแผ่นดินจะไม่สามารถยอมความได้ ต่อให้เจ้าทุกข์หรือโจทก์จะถอนฟ้องก็ตาม เพราะการทำผิดนั้นส่งผลกระทบต่อสังคม หากมีข้อกฎหมายสงสัย ต้องการปรึกษาทนายความ สามารถปรึกษาผ่าน Legardy ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.