เผยแพร่เมื่อ: 2024-01-18

ค่าเสียหายและค่าทำขวัญเมื่อรถชน

 

1.png

วันนี้จะขอพูดถึงเรื่องอุบัติเหตุรถชนนะครับ ซึ่งการเกิดรถชนถือเป็นความผิดในทางแพ่งเรื่องละเมิดซึ่งบัญญัติใน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ที่ว่า 

“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” เมื่อมีรถชนเกิดขึ้นย่อมมีความเสียหาย เราจะสามารถเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดที่ถูกชนได้เป็น “ค่าสินไหมทดแทน” 


เมื่อเกิดอุบัติเหตุเราเรียกร้องอะไรได้บ้าง

4.png

9 ค่าสินไหมทดแทนที่สามารถเรียกร้องได้ได้แก่ 

1.ค่ารักษาพยาบาล กรณีถูกรถชนบาดเจ็บสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใกล้ไกลได้ทุกแห่ง ไม่ว่าเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน เมื่อเราสำรองจ่ายเงินค่ารักษาไปแล้วให้เก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานที่จะนำไปเบิกกับคู่กรณีภายหลัง ,

2.ค่ากายภาพบำบัด

3.ค่าเดินทางเพื่อไปหาหมอรักษา ไม่ว่าค่าเดินทางโดยทางรถหรือไปรักษาต่างจังหวัดต้องเสียค่าตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น , 

4.ค่าจ้างคนเฝ้าไข้ดูแลขณะยังเจ็บป่วย

5.ค่าขาดรายได้จากหน้าที่การงานเช่น 

ทำงานรับจ้างมีเงินเดือนเดือนละ 20,000 บาทถูกรถชนสาหัสต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเดือนก็สามารถเรียกค่าที่ขาดรายได้ใน 1 เดือนที่หายไปคือ 20,000 บาทได้ ,

6.ค่าความเสียหายมิใช่ตัวเงิน เช่น ค่าผ่าตัดใส่เหล็กหรือกรณีถูกชนแล้วเสียแขนไป ก็ต้องใช้แขนเทียม เป็นต้น , 

7.ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต โดยพิจารณาจากความเหมาะสมว่าต้องนอนอยู่โรงพยาบาลนานเท่าไร ค่าที่ต้องรับการรักษาครั้งต่อไปอื่นๆ , 

8.ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ เช่น รถถูกชนเสียหายนำไปซ่อม 1 เดือนต้องเช่ารถคันอื่นแทนก็เรียกเงินค่าเช่ารถได้ , 

9.กรณีถูกรถชนเสียชีวิต สามารถเรียกค่าปลงศพ/ค่าจัดงานศพ/ค่าขาดไร้อุปการะ ได้ ที่กล่าวมานี่คือค่าสินไหมทดแทนที่เรียกได้จากถูกรถชน 

“ค่าทำขวัญ” 

นั้นเราไม่สามารถเรียกจากบริษัทประกันภัยหรือเรียกจาก พ.ร.บ.ได้เลย แต่ค่าทำขวัญนี้จะเรียกจากคู่กรณีได้เมื่อคู่กรณียินยอมจ่ายให้เป็นสินน้ำใจ

หรือจ่ายเป็นค่าปิดปากไม่ให้เราเอาเรื่องดำเนินคดีเค้าต่อไปนั่นเอง ต่อไปจะพูดถึงกรณีคู่กรณีไม่ยอมจ่ายค่าซ่อม

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !

 


สิ่งที่ต้องทำถ้าเจอคู่กรณีที่ชนแล้วไม่จ่าย

1.ไปแจ้งความที่โรงพักให้ตำรวจลงบันทึกประจำวันว่าชนแล้วหนี ,

 2.แจ้งตำรวจให้ช่วยตามตัวคู่กรณีมาเพื่อตกลงจ่ายค่าสินไหมทดแทน หากเจรจาตกลงกันไม่ได้ อย่าเพิ่งใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลทันที!! แต่ให้ไปร้องต่อ คปภ.จังหวัด (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) , 

3.บอกกล่าวข้อเท็จจริงต่อ คปภ.ให้คปภ.เรียกประกันและคู่กรณีมาไกล่เกลี่ยเพื่อจ่ายยอดเงิน หากยังไม่ยอมจ่ายก็ไปหาตำรวจให้นัดตกลงกันใหม่ , 

4.ตำรวจจึงจะสรุปสำนวนส่งฟ้องต่อศาลหรือหาทนายให้ดำเนินการฟ้องคู่กรณีทางแพ่งในเรื่องละเมิด 


ข้อควรระวังในการเรียกร้องค่าเสียหาย

การแจ้งความนั้นควรกระทำภายในอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า  “สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด” 

3.png

กรณีรถไม่มี พ.ร.บ.ประสบอุบัติเหตุ

รถไม่มี พ.ร.บ. หากขับรถไม่มี พ.ร.บ.เมื่อประสบอุบัติเหตุจะไม่ได้รับการคุ้มครองเพราะไม่ได้ทำ พ.ร.บ.ไว้ และยังผิดกฎหมายด้วย มีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท เมื่อไม่มี พ.ร.บ.ก็ต่อภาษีรถไม่ได้ หากถูกจับเพราะป้ายวงกลมหมดอายุก็ต้องเสียค่าปรับประมาณ 400-1,000 บาทเมื่อไปต่ออีกครั้งก็จะโดนค่าปรับดอกเบี้ยอีกเดือนละ 1% และถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับการใช้งานและโดนโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท , เรื่อง


กรณีขับรถชนสัตว์เลี้ยงบนถนน อยากรู้ว่าใครผิด??

เจ้าของสัตว์หรือผู้ดูแลสัตว์นั้นๆต้องดูแล ไม่ควรปล่อยปะให้สัตว์ออกวิ่งบนท้องถนน ไม่งั้นถ้าเกิดอุบัติเหตุมีรถชนสัตว์ของตน เจ้าของสัตว์ผู้นั้นย่อมมีความผิดจำต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของรถ เว้นแต่ ตนจะได้ดูแลสัตว์อย่างดีป้องกันไม่ให้ไปวิ่งบนท้องถนน หรือมีเหตุสุดวิสัยเช่น จู่ๆรถพุ่งมาชนสัตว์ของตนเจ้าของสัตว์ก็พ้นผิด กลับกัน ถ้ารถมาชนสัตว์บนถนนอันเป็นที่ส่วนบุคคลหรือชนบนทางเท้า เจ้าของรถจึงเป็นฝ่ายผิดต้องใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของสัตว์เพียงแต่ทำประกันภัยไว้ชั้น 1 บริษัทประกันภัยก็จะออกเงินช่วยค่าเสียหายให้

กฎหมายการขับรถชนสัตว์

พิจารณาจากพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 111 ที่บัญญัติว่า 

“ห้ามมิให้ผู้ใดขี่จูงไล่ต้อนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทางในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรและไม่มีผู้ใดควบคุมเพียงพอ” 

ประกอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า 

“ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น” 

หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

 

cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.