ค่าเลี้ยงดูบุตร คืออะไร ยื่นขอได้ถึงเมื่อไร?
เมื่อลูกยังเด็กที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน การหาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายมาใช้ รวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ จึงเป็นภาระที่พ่อและแม่จะต้องรับผิดชอบ แต่เมื่อพ่อและแม่มีปัญหาในการอยู่ร่วมกัน ย่อมเกิดความจำเป็นในการตกลงเรื่องการดูแลและภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงดูบุตรร่วมกันขึ้น หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็มีโอกาสกลายเป็นคดีความที่ต้องฟ้องร้องให้ศาลช่วยตัดสินได้
ค่าเลี้ยงดูบุตร คือ
ตามปกติบิดาและมารดาย่อมมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่บุตร นับตั้งแต่เด็กคลอดจนกระทั่งเด็กบรรลุนิติภาวะ แต่ในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมส่งเสีย หรืออุปการะเลี้ยงดูบุตรตามหน้าที่ของตน ผู้ที่เลี้ยงดูบุตรก็สามารถฟ้องร้องเพื่อบังคับให้อีกฝ่ายมาช่วยอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ตามกฎหมาย หรือที่เรียก ”ค่าเลี้ยงดูบุตร” ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่เกิดจากทั้ง 2 ฝ่ายนั่นเอง
'คลิกที่นี่ เพื่ออ่านบทความเรื่องลูกจากทนายความผู้เชี่ยวชาญด้านครอบครัว'
ค่าใช้จ่ายลำหรับเลี้ยงดูบุตรสามารถฟ้องร้องได้เท่าไหร่
การฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงดูบุตร ตามหลักกฎหมายไม่ได้มีการกำหนดเอาไว้ตายตัว แต่ศาลจะใช้ดุลยพินิจพิจารณาจำนวนเงินที่ต้องใช้เลี้ยงดูบุตรจากพฤติการณ์ และข้อเท็จที่บุตรต้องใช้นั่นเอง ส่วนมากศาลจะตัดสินกำหนดค่าเลี้ยงดูเป็นรายเดือน และพิจารณาตามช่วงอายุของบุตร แต่ละช่วงวัยมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เป็นจำนวนเงินเท่าใด
รายละเอียดที่ศาลจะใช้พิจารณากำหนดค่าเลี้ยงดูบุตร
- ความสามารถของผู้ที่มีหน้าที่ต้องให้ ศาลจะพิจารณาว่าผู้ที่มีหน้าที่นั้นทำงานอะไร มีรายได้เท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ รวมถึงมีหนี้สินอะไรบ้าง เพื่อใช้พิจารณาว่าผู้ที่ต้องให้นั้นมีความสามารถในการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงดูบุตรเท่าไหร่
- ฐานะของผู้รับค่าเลี้ยงดู ศาลจะพิจารณาว่าผู้รับมีฐานะเป็นอย่างไร มีรายได้ดีหรือไม่ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทั้ง 2 ฝ่าย เพราะหากผู้รับมีฐานะ หรือมีรายได้ดีกว่าผู้มีหน้าที่ต้องให้ ก็อาจทำให้เกิดความอยุติธรรมได้
- พฤติการณ์แห่งกรณี ศาลจะพิจารณาพฤติการณ์โดยรวม ประกอบด้วยเด็กอายุเท่าไหร่ ต้องใช้ค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายที่เรียกร้องมามีความจำเป็นหรือไม่ และดูพฤติการณ์ทั้งหมดโดยรวมประกอบกัน
การฟ้องเรียกร้องขอค่าเลี้ยงดูแก่บุตรนั้นจะต้องเรียกไปตามที่จำเป็นต้องจ่ายจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าแพมเพิส ค่านม ค่าอาหาร ค่าเล่าเรียน หรืออุปกรณ์การเรียน ให้ครบถ้วน เมื่อคำนวณตามความเป็นจริงแล้ว จึงทำการเรียกร้องว่าต้องการค่าใช้จ่ายนี้เป็นจำนวนเท่าไหร่ แต่โอกาสที่จะได้รับค่าเลี้ยงดูแก่บุตรนั้นจะขึ้นกับดุลยพินิจของศาล ซึ่งขึ้นกับแต่ละครอบครัว พื้นฐานค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หรือจะขอคำปรึกษาจาก Legardy ทนายความออนไลน์ที่เชี่ยวชาญด้านครอบครัว ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ก่อนก็ได้
การเรียกค่าใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงดูบุตรจะได้จนบุตรอายุเท่าใด
ตามกฎหมายบิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร และให้การศึกษาแก่บุตรในระหว่างที่ยังเป็นผู้เยาว์ ดังนั้นหากพิจารณษตามกฎหมายหาบุตรบรรลุนิติภาวะหรือมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว บิดามารดาก็ไม่จำเป็นต้องมีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป ดังนั้นการเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพื่อการเลี้ยงดูจึงสิ้นสุดลงเมื่อบุตรบรรลุนิติภาวะนั่นเอง แต่ก็มีบางกรณีที่มีการขอค่าเลี้ยงดูจนบุตรเรียนจบในชั้นปริญญาตรีได้เหมือนกัน
ค่าเลี้ยงดูบุตรสามารถเรียกย้อนหลังได้หรือไม่
การฟ้องร้องเรียกค่าใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงดูบุตรสามารถฟ้องเรียกย้อนหลังได้ แต่ศาลจะตัดสินย้อนหลังให้เพียง 5 ปีเท่านั้น เพราะคดีฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์นั้นมีอายุความเพียง 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไป ดังนั้นหากคดีความยืดเยื้อนานเกิน 5 ปี สิทธิ์ในการเรียกคืนก็จะหมดอายุความได้
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่
แม้ว่าจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้ปกครองบุตรก็สามารถฟ้องร้องได้ โดยฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไปพร้อม ๆ กับฟ้องขอรับรองบุตรไปด้วยกันในคดีเดียวกัน แต่ในกรณีที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว หรือบิดามารดามีการจดทะเบียนสมรสภายหลังมีบุตรก็ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สามารถเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้เลย และส่วนตัวของบุตรเองไม่สามารถเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากพ่อแม่ได้โดยตรง เพราะจะเข้าข่ายคดีอุทลุมนั่นเอง
เอกสารที่ใช้ในการดำเนินคดีฟ้องเรียกค่าอุปการะบุตรมีอะไรบ้าง
- สำเนาสูติบัตรบุตรผู้เยาว์
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านของบิดา มารดา และบุตร
- ใบทะเบียนรับรองบุตร (ถ้ามี)
- ภาพถ่ายแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บิดา มารดา (ถ้ามี)
- ผลตรวจดีเอ็นเอบุตร บิดา มารดาจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
- เอกสารหลักฐานรายรับรายจ่ายที่จำเป็น หลักฐานฐานะทางการเงินของบิดา มารดา บุตร
ภาระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไม่ควรตกเป็นภาระของใครเพียงฝ่ายเดียว แต่ควรเป็นพันธะผูกพันทั้งฝ่ายพ่อและแม่ ซึ่งพันธะนี้จะยังคงผูกพันต่อเนื่องแม้ว่าสถานะสมรสระหว่างทั้งคู่จะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม แต่การฟ้องร้องนี้ควรขึ้นกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามจริง เพื่อให้ศาลใช้เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาคดี และเมื่อได้รับค่าเลี้ยงดูตามที่ฟ้องร้องแล้ว ผู้ปกครองก็มีหน้าที่รับผิดชอบใช้ค่าเลี้ยงดูบุตรตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดด้วย เพราะหากผู้จ่ายค่าเรียกดูทราบก็อาจเกิดคดีความฟ้องร้องว่าเงินที่ให้ไม่ถูกใช้จ่ายตามความเหมาะสมได้ หรือหากใครมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้ที่ Legardy ทนายความออนไลน์ ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
แหล่งที่มา
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



