เผยแพร่เมื่อ: 2024-01-25

โดนหนังสือบังคับคดีต้องทำไงจึงจะผ่อนหนักให้เป็นเบา?

21.jpg

เมื่อไปกู้ยืมเงินมา ลูกหนี้ย่อมมีภาระหน้าที่ในการชำระเงินดังกล่าวคืนให้เจ้าหนี้ และอาจมีดอกเบี้ยตามที่ได้ตกลงระหว่างกันไว้ด้วย แต่เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาค้างชำระ ทางเจ้าหนี้ก็อาจฟ้องร้องจนเป็นคดีความกันในชั้นศาลได้ และเมื่อศาลรับพิจารณาคดี และตัดสินคดีแล้ว ทางศาลก็จะมีการออกเอกสารมาแจ้งให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามคำตัดสิน หรือที่เรียกว่าหนังสือบังคับคดีนั่นเอง

หนังสือบังคับคดี คือ

หนังสือบังคับคดี คือ คำสั่งศาลที่ตั้งโดยเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดี เพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล นับเป็นขั้นตอนการบังคับคดีที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อศาลพิพากษาแล้วศาลก็จะต้องออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาให้ลูกหนี้กระทำตามที่คำพิพากษากำหนด และหากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติคำสั่งในหมายบังคับดี ศาลก็อาจมีการออกหมายบังคับคดีเพิ่มเติมต่อไป เว้นแต่ในกรณีที่มีสัญญาประนีประนอมยอมความจากเจ้าหนี้ และนำไปยื่นให้ศาลพิจารณาก่อนครบกำหนดระยะเวลาในหนังสือบังคับคดีได้

'อ่านคำปรึกษาจริง ที่เกี่ยวกับการบังคับคดีพร้อมคำตอบจากทนายความที่มีประสบการณ์ว่าความ คลิก'

ถ้าโดนหนังสือบังคับคดีต้องทำอย่างไร

ในความจริงแล้วหมายบังคับคดีป็นเพียงการสื่อสารระหว่างศาลซึ่งทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างเจ้าหนี้ (โจทก์) และลูกหนี้ (จำเลย) ถ้าโดนหนังสือบังคับคดีต้องทำไงดีนั้น ขอแนะนำให้เริ่มจากพิจารณารายละเอียดของเอกสารที่สำคัญ ดังนี้

  1. หมายเลขคดี
  2. จะต้องเดินทางไปที่ศาลไหน เพราะประเทศไทยมีศาลทั่วประเทศ
  3. ประเด็นที่เจ้าหนี้ต้องการฟ้อง
  4. จำนวนเงินที่ฟ้องตรงกับหนี้สินที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ รายการใดบ้างที่ไม่ตรงกับสัญญา
  5. เจ้าหนี้ฟ้องภายในระยะเวลาหรืออายุความที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เช่น หนี้บัตรเครดิตอายุความจะมี 2 ปี สินเชื่อส่วนบุคคลอายุความ 5 ปี และหนี้จากเงินกู้ยืมแบบผ่อนคืนเป็นงวดมีอายุความ 5 ปี 

ทั้งนี้ หากคดีหมดอายุความแล้วลูกหนี้สามารถปฏิเสธการชำระหนี้ได้ ยกเว้นแต่มีหนังสือรับสภาพหนี้ หรือการรับสภาพความผิด ดังนั้นในทุกครั้งที่มีการลงนามในเอกสารของเจ้าหนี้ ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องอ่านให้ละเอียด และรอบคอบก่อนลงนามเสมอ เพราะหลังจากลงนามแล้วลูกหนี้จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้อีก

 

 

ถ้าโดนหนังสือบังคับคดีต้องทำไงดี ทำไมจึงต้องไปศาล

22.jpg

การไปศาลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อให้ประชาชนทุกคน ถือเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่ใช้เพื่อต่อสู้ขอความเป็นธรรมให้กับตนเอง ซึ่งศาลจะพิจารณาจากเหตุผลความจำเป็น-บริบทแวดล้อม และสถานะการเงินตามหลักฐานที่นำมาใช้ยืนยันในชั้นศาล และในกรณีที่ลูกหนี้มีเงินมากเพียงพอก็จะสามารถเจรจาต่อรองเรื่องการชำระหนี้ในชั้นศาลได้ ซึ่งอาจช่วยให้ลูกหนี้ได้ลดทอนต้นเงินกู้ และดอกเบี้ยได้ รวมถึงอาจสามารถต่อรองค่าธรรมเนียมได้อีกด้วย

ในขณะเดียวกันหากลูกหนี้ไม่ยอมไปศาล เท่ากับลูกหนี้ได้เสียสิทธิในการต่อสู้ และหมดโอกาสที่จะได้เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ต่อหน้าศาลที่พร้อมมอบความเป็นธรรมให้ หากเป็นเช่นนี้ศาลก็อาจต้องพิพากษาจากคำให้การฝ่ายเดียว ตามคำฟ้องและเหตุผลของเจ้าหนี้เท่านั้น โดยที่ลูกหนี้ไม่มีโอกาสได้ชี้แจงทำให้ต้องชำระหนี้เต็มจำนวนตามที่เจ้าหนี้ฟ้องร้องอย่างไม่มีทางเลือกอื่นอีก

ถ้าโดนหนังสือบังคับคดีต้องทำไงดี มีโอกาสยุติคดีโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่

ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องร้องและได้รับหนังสือบังคับคดี แต่ลูกหนี้ก็ยังสามารถเจรจาต่อกับเจ้าหนี้จนสามารถหายุติเพื่อการชำระหนี้คืนได้ โดยลูกหนี้และเจ้าหนี้ต้องไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างกันในศาล (พิพากษาตามความยินยอม) ซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันระหว่างทั้งสองฝ่าย ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันที่ถูกฟ้องตกเป็นจำเลย สามารถทำสัญญายินยอมได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าจ้างทนายความ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่ศาลคอยช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และให้ความเป็นธรรมอยู่แล้ว แต่การทำสัญญาในศาลนั้น ศาลจะมีคำสั่งคืนเงินค่าธรรมเนียมศาลให้เจ้าหนี้บางส่วนด้วย ช่วยให้ลูกหนี้ลดภาระในส่วนนี้ลงได้ และอาจเจรจากับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องรับผิดชอบค่าทนายความของเจ้าหนี้ด้วย แต่อย่าลืมว่าหากลูกหนี้ผิดสัญญา เจ้าหนี้ก็สามารถดำเนินการบังคับคดีกับลูกหนี้ได้ทันที

กรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถดำเนินการตามเอกสารบังคับคดีได้ ใครต้องรับผิดชอบแทน

กรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับผู้ได้รับเอกสารบังคับคดี เช่น เสียชีวิต สามารถแบ่งผู้รับผิดชอบแทนออกได้เป็น 2 กรณี

  1. กรณีของสามีภรรยา หรือ คู่สมรส หากคดีที่เกิดขึ้นเป็นคดีที่เกิดหลังจากการสมรส จะถือว่าเป็นคดีในส่วนสมรส ซึ่งถือเป็นหนี้ที่ร่วมกันใช้ ดังนั้นคู่สมรสจะต้องรับผิดชอบแทน
  2. กรณีที่ผู้ได้รับหนังสือบังคับคดีเป็นบิดา หรือมารดา และบิดาและมารดาได้เสียชีวิตไปแล้วทั้งหมด ผู้ต้องรับผิดชอบแทนจะเป็นทายาทผู้สืบทอดมรดก แต่อาจไม่ต้องชดใช้แทนทั้งหมด แต่จะต้องชดใช้ตามจำนวนที่ได้รับมาเป็นมรดกเท่านั้น

 

แม้ว่าหนังสือบังคับคดีจะเป็นเอกสารสำคัญที่มีผลบังคับทางกฎหมาย ซึ่งถ้าโดนหนังสือบังคับคดีต้องทำไงดีคำตอบคือให้รีบพิจารณา ตรวจสอบเอกสารให้ถี่ถ้วน เพื่อดูว่ารายละเอียดในเอกสารตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ และเมื่อพิจารณาแล้วห้ามหนีคดีโดยเด็ดขาด เพราะเท่ากับการสูญเสียสิทธิในการบรรเทาปัญหา และการเผชิญหน้ายังถือเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจของผู้ที่ได้รับหมายคดีด้วย ช่วยเพิ่มโอกาสในการบรรเทาโทษ หรือลดภาระในการดำเนินคดีได้ หรือหากใครยังมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ที่ Legardy ทนายความออนไลน์ ที่พร้อมให้บริการแบบ 24 ชั่วโมง

 

แหล่งที่มา

https://www.lumpsum.in.th/knowledge/read/House-Confiscated

https://www.debtclinicbysam.com/%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84/

https://www.law.tu.ac.th/debt-support-project-summary-special-ep2/

cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.