เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-23

ในภาวะที่เศรษฐกิจฝืดเคือง เงินใช้ขาดมือ ค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ยิ่งหากเกิดเหตุจำเป็นที่ต้องใช้เงินแบบเร่งด่วนฯ วิธีการแก้ปัญหาวิธีหนึ่งที่หลายคนมักจะทำกันเป็นประจำก็คือการต้องยอมเป็นหนี้ โดยไปกู้ยืมเงินเพื่อมาใช้จ่ายแก้ปัญหาเฉพาะไปก่อน ซึ่งหากเป็นคนที่มีประวัติทางการเงินดีส่วนใหญ่ก็มักจะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ แต่สำหรับคนที่ต้นทุนอีกทั้งประวัติทางการเงินไม่ดี ธนาคารก็มักจะไม่อนุมัติสินเชื่อให้และคงหนีไม่พ้นการต้องไปกู้ยืมเงินจากสินเชื่อนอกระบบหรือการกู้ยืมนอกระบบนั่นเอง และนี่จะเป็นเรื่องราวที่เราจะว่ากล่าวกันในบทความนี้ครับ

3.png

หนี้นอกระบบหมายถึงอะไร

หนี้นอกระบบ มักจะมาในหลายรูปแบบเช่น สินเชื่อนอกระบบ เงินกู้นอกระบบ กู้นอกระบบ กู้เงินรายเดือน กู้เงินรายวัน เงินด่วนทันใจนอกระบบ เงินด่วนนอกระบบโอนเข้าบัญชี ซึ่งเป็นคำพูดที่คนทั่วไปมักจะใช้เรียกกัน แต่ความหมายโดยรวมของคำเหล่านี้ต่างก็หมายถึง การกู้ยืมเงินนอกระบบการเงินที่ไม่ได้ถูกควบคุมดูแลจากผู้ดูแลที่รัฐตั้งขึ้นเพื่อควบคุมธุรกิจการเงินเฉพาะด้านอย่างเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งการให้กู้ยืมในลักษณะของหนี้นอกระบบนี้มักจะขึ้นชื่ออยู่แล้วว่าการดำเนินการต่างๆ มักจะเป็นการกระทำที่ผิดไปจากที่กฏหมายกำหนดเช่น หนี้นอกระบบดอกโหด วิธีการทวงหนี้ที่มักจะเข้าถึงเนื้อถึงตัวลูกหนี้ทำให้ลูกหนี้ได้รับความเสียหายเกินสมควรฯ เป็นต้น

ดอกเบี้ยนอกระบบดอกเบี้ยสูง ผิดกฎหมายไหม? หาคำตอบได้ที่นี่ !


สำหรับ "ลูกหนี้" เป็นหนี้นอกระบบแจ้งความได้ไหม?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่ากฏหมายไม่ได้ห้ามไม่ให้มีการกู้ยืมนอกระบบ เมื่อมีการกู้ยืมเงินกันแล้วทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ก็ยังต้องปฏิบัติตามสัญญากู้ แต่การให้กู้ยืมก็ต้องทำตามที่กฏหมายกำหนด ดังนั้นคำถามที่ว่าเมื่อเป็นหนี้นอกระบบแล้วลูกหนี้จะแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ได้ไหม เราก็ต้องพิจารณาก่อนว่าในการให้กู้ยืมนั้นเจ้าหนี้ได้ทำผิดกฏหมายข้อใดหรือไม่ เช่น

1. เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด

หนี้นอกระบบต้องคิดดอกเบี้ยเท่าไหร่? เจ้าหนี้นอกระบบที่ไม่ใช่สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ลูกหนี้สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ได้

2. เจ้าหนี้ทวงหนี้โดยใช้วิธีการที่ผิดกฏหมาย

เช่น ใช้วิธีการทวงหนี้โดยการประจาร ทำร้ายร่างกาย ทวงหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวลูกหนี้ กรณีเช่นหนี้เจ้าหนี้มีความผิดอาญาฐาน หมิ่นประมาท ทำร้ายร่างกาย พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ฯ กรรโชกทรัพย์ฯ แล้วแต่กรณี ลูกหนี้สามารถรวบรวมหลักฐานแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ได้

อ่านคำปรึกษาจริงเรื่อง "หนี้นอกระบบ" พร้อคำตอบจากทนายความ คลิกเลย !

Q: หนี้นอกระบบและการเรียกร้องเก็บเงินที่ไม่เป็นธรรม

Q: ฟ้องลูกหนี้นอกระบบ

Q: แม่ไปกู้หนี้นอกระบบมาค่ะ แบบนี้ฟ้องได้ไหมค่ะ

Q: เป็นหนี้นอกระบบ


"เจ้าหนี้" นอกระบบฟ้องลูกหนี้ได้ไหม?

ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้

เป็นหนี้นอกระบบลูกหนี้กับเจ้าก็มีความผูกพันตามสัญญากู้ยืมเงินที่ต้องปฎิบัติต่อกัน ดังนั้นหากไม่มีการชำระหนี้เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องลูกหนี้เพื่อเรียกร้องในลูกหนี้ชำระหนี้ตามสัญญาได้ ส่วนการที่เจ้าหนี้ทำผิดกฏหมายในข้อใดนั้น เจ้าหนี้และลูกหนี้ก็ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีต่างหากจากคดีกู้ยืมตามความผิดนั้นๆ

4.png

กรณีที่เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

แต่ในกรณีที่เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฏหมายกำหนดย่อมส่งผลให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องชำระในส่วนของดอกเบี้ย แต่หากมีการชำระดอกเบี้ยกันไปแล้วลูกหนี้จะเรียกในส่วนของดอกเบี้ยคืนไม่ได้เพราะถือเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ แต่อย่างไรก็ดีต้องนำหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วมาหักในส่วนของเงินต้น ดังนั้นหากมีการชำระดอกเบี้ยที่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดจนทบต้นแล้วลูกหนี้ก็ไม่มีความผูกพันต้องชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้อีกต่อไปครับ


4 ความเสี่ยงของการเป็นหนี้นอกระบบ

ด้วยเหตุที่การให้กู้ยืมเงินนอกระบบนั้นตัวผู้ให้กู้เองมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้รับเงินคืน เพราะการให้กู้นอกระบบมักไม่มีการพิจารณาหลักประกันของตัวสินเชื่อ ทำให้เจ้าหนี้มักที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อเป็นการรับประกันว่าจะได้เงินคืน หรือได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเสี่ยง และกลายเป็นความเสี่ยงที่ตัวลูกหนี้ต้องแบกรับ เช่น

1. คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฏหมายกำหนด

โดยปกติการให้กู้ยืมเงินของบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบสถาบันการเงินซึ่งหมายความรวมถึงหนี้นอกระบบด้วยนั้น หนี้นอกระบบดอกเบี้ยต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หากฝ่าฝืนเจ้าหนี้มีความผิดอาญาตาม พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อชีวิตร่างกาย

ทั้งกับตัวของลูกหนี้เองและคนใกล้ชิดเพราะการทวงหนี้เงินกู้นอกระบบนั้นมักจะใช้วิธีที่รุนแรงรวมทั้งมักจะไปติดตามกับคนใกล้ชิดหากไม่พบตัวลูกหนี้ ซึ่งแม้การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดอาญาแต่หากเกิดเหตุเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินแล้วในบางครั้งก็ไม่อาจเรียกให้กลับคืนมาเป็นดังเดิมได้

3. ความเสี่ยงในการถูกหลอกจากมิจฉาชีพ

เพราะการกู้ยืมเงินนอกระบบนั้นทำได้ง่ายโดยในบางครั้งผู้กู้ยังไม่รู้เลยว่าผู้ให้กู้เป็นใคร และให้กู้ยืมจริงหรือไม่จึงเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาหลอกลวงผู้ที่ต้องการกู้เงินนอกระบบได้โดยง่าย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเรียกค่าดำเนินการต่างๆ หรือหลอกเพื่อเอาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ไปกระทำความผิดอาญาต่อไปได้ ซึ่งหากผู้กู้หลงเชื่อแล้วนอกจากจะไม่ได้รับเงินกู้แล้วยังต้องเสียค่าดำเนินการที่ถูกหลอกไปอีกทำให้สถานะการณ์ทางการเงินที่ไม่ดีอยู่แล้วแย่ลงไปอีก และการติดตามเงินกลับคืนก็เป็นไปได้ยากอีกด้วย

4. ความเสี่ยงในการเป็นส่วนหนึ่งของการฟอกเงิน

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วการให้กู้ยืมนอกระบบไม่ได้ถูกควบคุมตรวจสอบโดยรัฐ จึงทำให้ในบางครั้งเงินที่ใช้ปล่อยกู้นั้นเป็นเงินนอกระบบที่ไม่ทราบที่มาที่ไป จึงมีโอกาสที่เงินจำนวนดังกล่าวอาจจะได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานและนำมาปล่อยให้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นการฟอกเงิน และหากมีเส้นทางการเงินมาถึงผู้กู้ ผู้กู้ก็อาจเข้าไปเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินโดยไม่ตั้งใจถึงแม้จะไม่ได้มีความผิด ที่ก็อาจจะได้รับผลกระทบจากการสอบสวนเช่น ถูกเรียกไปให้ปากคำ ถูกอายัดบัญชี เป็นต้นครับ

 

สรุป/ข้อคิดทิ้งท้ายเกี่ยวกับการเป็นหนี้

ที่กล่าวมาทั้งหมดหวังว่าจะเป็นข้อมูลที่หลายๆ คนจะได้นำใช้ประกอบการตัดสินในการกู้ยืมเงินนอกระบบ หรือเป็นวิธีการแก้ปัญหาสำหรับอีกหลายคนที่ได้มีการกู้ยืมเงินนอกระบบไปแล้วและกำลังประสบกับปัญหาเหล่านี้อยู่ครับ

สุดท้ายนี้อยากจะขอทิ้งท้ายไว้ว่าการเป็นนี้ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง เมื่อเป็นหนี้แล้วหากไม่มีเงินชำระกฏหมายก็ได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการต่างๆ เอาไว้แล้วเพื่อคุ้มครองทั้งตัวเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วยจึงไม่อยากให้หลายๆ คนคิดสั้นไปทำอะไรไม่ดีแค่เพียงเพราะเป็นหนี้ โดยควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการของกฏหมายดีกว่า ทุกปัญหามีทางออกเงินหมดเราหาใหม่ได้แต่หากเราคิดสั้นทำอะไรที่ไม่ควรทำไปแล้วในบางเรื่องเราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขมันได้อีกและอาจทำให้คนรอบๆ ตัวเราต้องเสียใจไปตลอดชีวิตครับ หากต้องการปรึกษากฎหมาย สามารถปรึกษาผ่าน Legardy ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE