วิธีจัดการหากติดเครดิตบูโร
เมื่อมีความจำเป็นที่จะขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อทำกิจการใด ๆ ผู้ที่ขอสินเชื่อก็จะต้องยื่นแสดงสถานะทางการเงิน และหลักฐานต่าง ๆ ให้สถาบันทางการเงินพิจารณา และหนึ่งในรายละเอียดที่สถาบันทางการเงินใช้พิจารณานั่นก็คือเครดิตบูโรนั่นเอง แต่หลายคนก็ยังไม่เข้าใจเครดิตบูโรนี่คืออะไร และหากติดแล้วมีวิธีแก้ไขอย่างไร จึงขอเริ่มจากการทำความเข้าใจกับเครดิตบูโรกันก่อนเลย
เครดิตบูโร คือ
เครดิตบูโร (Credit Bureau) คือบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau) ซึ่งเป็นสถาบันที่มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางจัดเก็บข้อมูลบัญชีสินเชื่อ และประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภท ทั้งในส่วนของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยสถาบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร หรือที่เรียกว่า “ข้อมูลเครดิต” ซึ่งผู้สนใจสามารถเช็กข้อมูลทางการเงินของตนเองด้วยการยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโรผ่านแอปพลิเคชั่น หรือช่องทางการให้บริการอื่น ๆ อย่างศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ธนาคาร หรือที่ทำการไปรษณีย์ที่เปิดให้ตรวจสอบ เป็นต้น สามารถตรวจสอบได้ทุกปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรทำเพราะหาพบความผิดปกติก็จะแก้ไขได้ทัน
'ทำไมถึงต้องมีเครดิตบูโร? หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย'
ค้างหนี้บัตรเครดิตกี่เดือน จึงจะติดเครดิตบูโร
'เป็นหนี้บัตรเครดิต ควรทำอย่างไรดี หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย'
เครดิตบูโรมักแสดงประวัติสินเชื่อย้อนหลังไป 3 ปี กรณีที่สามารถปิดหนี้ได้หมด ก็จะไม่เห็นรายงานการติดหนี้เครดิตบูโรแต่อย่างใด แต่ในกรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ และค้างชำระนานเกิน 90 วัน ปัจจุบันสถาบันการเงินจะส่งข้อมูลสินเชื่อคงค้างให้เครดิตต่อบูโรต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูลค้างชำระนี้ก็จะแสดงเอาไว้ไปนานกว่า 1 ปี และแม้จะชำระคืนครบแล้วแต่รายงานก็จะไม่หายไปทันที แต่จะค่อย ๆ ขยับถอยออกไปจนกว่าจะครบรอบการรายงานข้อมูล 3 ปี อย่างไรก็ตามการพิจารณาสินเชื่อนั้นไม่ได้ขึ้นกับเครดิตบูโรเพียงอย่างเดียว เพราะสถานบันการเงินจะพิจารณาข้อมูลทางการเงินด้านอื่น ๆ ของผู้ขอสินเชื่อด้วย ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาของแต่ละสถาบันก็จะแตกต่างกันอยู่บ้างเล็กน้อย
อ่านมากกว่า 40 คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความที่เชี่ยวชาญด้านหนี้บัตรเครดิต คลิก
Q: เป็นหนี้บัตรเครดิตแล้วโดนฟ้องศาล ต้องทำอย่างไร
Q: พ่อเสียชีวิตไปแล้ว 2 ปี แต่ผมโดนฟ้องคดีหนี้บัตรเครดิต
Q: โดนฟ้อง ผิดนัดไม่ชำระหนี้บัตรเงินสด
การแสดงสถานะเครดิตบูโร
สถานะของบัญชีเครดิตบูโรจะแสดงด้วยตัวเลข ตามรายละเอียด ดังนี้
- เลข 010 หรือ 10 ใช้แสดงสถานะบูโรปกติ ชำระหนี้ตรงเวลา จ่ายครบ ไม่มีหนี้ตกค้าง
- เลข 011 หรือ 11 แสดงว่าสามารถชำระหนี้ได้ครบตามจำนวน ทั้งหนี้ใหม่ หรือหนี้ที่เคยค้างชำระไว้เป็นเวลานาน และสามารถปิดบัญชีได้เรียบร้อยแล้ว
- เลข 012 หรือ 12 แสดงว่าอยู่ระหว่างขอพักชำระหนี้ตามนโยบายของสมาชิก ทำให้สถานะไม่แสดงการค้างชำระ
- เลข 013 หรือ 13 แสดงว่าอยู่ระหว่างขอพักชำระหนี้ตามนโยบายของรัฐ ทำให้สถานะไม่แสดงการค้างชำระ
- เลข 014 หรือ 14 แสดงว่าอยู่ระหว่างขอพักชำระหนี้เกษตรกรตามนโยบายของรัฐ จึงทำให้สถานะไม่แสดงการค้างชำระ
- เลข 020 หรือ 20 แสดงว่ามีการค้างชำระหนี้นานกว่า 90 วัน และเข้าข่ายเป็นหนี้เสีย (NPL)
- เลข 021 หรือ 21 แสดงว่ามีการค้างชำระหนี้นานเกิน 90 วัน เนื่องจากลูกหนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ไม่ปกติ
- เลข 030 หรือ 30 แสดงว่าเจ้าของเครดิตอยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย
- เลข 031 หรือ 31 แสดงว่าอยู่ระหว่างการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
- เลข 032 หรือ 32 แสดงว่าศาลเคยพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากคดีขาดอายุความ
- เลข 033 หรือ 33 แสดงว่ามีการปิดบัญชี เนื่องจากตัดให้เป็นหนี้สูญ
- เลข 040 หรือ 40 แสดงว่าอยู่ระหว่างชำระสินเชื่อ เพื่อปิดบัญชี
- เลข 041 หรือ 41 แสดงว่าเจ้าของข้อมูลมีการขอตรวจสอบรายการ
- เลข 042 หรือ 42 แสดงว่ามีการโอนหรือขายหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน
- เลข 043 หรือ 43 แสดงว่ามีการโอนหรือขายหนี้ และได้ชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว
- เลข 044 หรือ 44 แสดงว่ามีการโอนหรือขายหนี้ที่เป็นสถานะของบัญชีปกติ
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
เมื่อติดเครดิตบูโรจะต้องดำเนินการอย่างไร
- ชำระหนี้สินให้เร็วที่สุด วิธีที่ดีในการแก้สถานะเครดิตบูโรให้กลับมาเป็นปกติ คือการชำระหนี้สินคงค้างให้หมดไปก่อน โดยวางแผนการจัดการหนี้สินต่าง ๆ ให้ดี อาจเริ่มจากการขอพักชำระหนี้ และชำระหนี้ตามจำนวนขั้นต่ำแต่ต่อเนื่องจนกว่าหนี้จะหมด เมื่อสามารถปิดบัญชีให้เรียบร้อย ก็จะไม่มียอดค้างในระบบ
- สร้างสถานะเครดิตบูโรใหม่ให้ดีขึ้น เมื่อชำระหนี้สินแล้ว ขั้นตอนสำคัญต่อไปก็คือการสร้างความน่าเชื่อถือขึ้นใหม่ โดยอาจลองขอสินเชื่อบัตรเครดิตใหม่ แล้วทำการชำระคืนเต็มวงเงิน หรือชำระเงินตามข้อตกลงอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีการค้างชำระ ก็จะช่วยให้เครดิตทางการเงินดีขึ้น
- รอระยะเวลาตามที่ธนาคารกำหนด แม้ว่าจะสามารถจัดการกับหนี้สินและปิดบัญชีได้เรียบร้อย แต่หลายครั้งก็จะยังไม่สามารถขอสินเชื่อใหม่กับธนาคารได้ทันที เพราะธนาคารแต่ละแห่งจะมีการกำหนดระยะเวลาตรวจสอบพฤติกรรมทางการเงินของผู้ขอสินเชื่อแตกต่างกัน
'ไขข้อข้องใจ เป็นหนี้บัตรเครดิตถ้าเกินอายุความแล้วต้องทำอย่างไร คลิก'
กล่าวคือปัญหาการติดเครดิตบูโรแม้ว่าจะส่งผลกระทบต่อการขอสินเชื่อ แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่จัดการได้ยาก อยู่ที่การสร้างวินัยทางการเงินของผู้ใช้บัตรเครดิต และห้ามหลงเชื่อมิจฉาชีพที่มักอ้างตัวว่าสามารถช่วยปลดล็อคการติดหนี้เครดิตบูโรได้
เพราะปัญหานี้ไม่มีใครแก้ไขได้ มีเพียงตัวเจ้าของเครดิตที่จะจัดการด้วยการรักษาประวัติการชำระหนี้ให้ดีอย่างต่อเนื่องเท่านั้น และการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการขอสินเชื่อ ควรทำผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตโดยตรงเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยในการดำเนินการ หรือหากใครมีข้อสงสัยทางด้านกฎหมาย แนะนำให้ติดต่อมาที่ Legardy ทนายความออนไลน์ ที่มีทีมงานกฎหมายที่หลากหลาย พร้อมให้บริการแบบ 24 ชั่วโมง
แหล่งที่มา
https://www.peerpower.co.th/blog/not-pass-credit-check
https://www.tidlor.com/th/article/financial/debt-management/fix-credit-buy-house
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



