หากกระทำความผิดโดยความจำเป็นผิดกฎหมายหรือไม่
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 วางหลักว่า ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1)เพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หมายความว่า ผู้กระทำความผิดจำเป็นต้องกระทำความผิดต่อบุคคลอื่น (บุคคลที่สาม) เพราะถูกกดดันจากบุคคลที่เรียกว่า “ผู้ก่อภัย” ให้กระทำ โดยที่ผู้กระทำนั้นไม่ใช่ผู้ริเริ่มจะกระทำความผิดเองแต่แรกเลย เช่น ก.ใช้ปืนขู่ ข.ให้ ข.เอาไม้ตีหัว ค.แตก เรื่องนี้ ก.เป็นผู้ก่อภัยให้ ข.กระทำความผิดคือตีหัว ค.ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยที่ ข.ไม่เคยตั้งใจจะตีหัว ค.แต่แรก แต่ต้องทำไปเพราะถูก ก.บังคับ โดย ข.ขัดขืนไม่ได้เพราะกลัวถูกยิง แม้ ข.จะผิดฐานทำร้ายร่างกาย ค.แต่เป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นจึงได้รับยกเว้นโทษ กรณีนี้ภัยที่ผู้กระทำกระทำต่อบุคคลที่สามต้องไม่เกินสมควรแก่เหตุด้วยกล่าวคือ ภัยที่ตนกระทำคนอื่นต้องไม่ร้ายแรงกว่าภัยที่ตนจะได้รับ กลับกัน ถ้า ก.ใช้มีดขู่จะแทง ข.ให้ ข.ยิง ค.ตาย เป็นกรณีที่ภัยที่ ข.กระทำต่อ ค.นั้นร้ายแรงเกินกว่าภัยที่จะได้รับ ก็เป็นกระทำความผิดด้วยความจำเป็นเกินสมควรแก่เหตุ กับ
'หากเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัว แล้วป้องกันตัวเป็นแบบไหน บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!'
(2) เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดเพราะความผิดของตน เช่น ก.ไปเที่ยวทะเลอยู่ที่ชายหาด เห็นคลื่นยักษ์โถมเข้าใส่ ก.ไม่เห็นมีที่ใดเห็นหลบซ่อน เห็นบ้าน ข.อยู่หลังเดียว จึงรีบพังรั้วบ้านและโดดเข้าไปในบ้าน ข.โดย ข.ไม่อนุญาต แม้ ก.จะมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์คือ ทำรั้วบ้าน ข.พัง ก็ตาม แต่การทำลายรั้วเพื่อเข้าไปในบ้าน ข.เพื่อหลบคลื่นที่เป็นภยันตรายอันใกล้จะถึง โดย ก.ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยเพราะมีที่หลบซ่อนที่เดียวคือ บ้าน ข. ก.ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์แต่กระทำความผิดด้วยความจำเป็นไม่เกินสมควรแก่เหตุ ได้รับยกเว้นโทษ ใน(2) นี้ภัยอันตรายนั้นไม่จำต้องเป็นภัยละเมิดต่อกฎหมาย อาจเป็นภัยธรรมชาติตามตัวอย่างนี้ก็ได้
'ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายแบบไม่ระบุตัวตนฟรี มีทนายพร้อมให้คำตอบ คลิกเลย!'
หลักการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) ผู้กระทำไม่ได้คิดริเริ่มกระทำผิดเองแต่ต้องกระทำเพราะถูกบังคับ ต่างจาก
(2) ผู้กระทำเป็นผู้คิดกระทำความผิดเองแต่ต้องทำให้ตนเองพ้นจากภยันตราย กระทำความผิดด้วยความจำเป็นมีได้ต่อเมื่อผู้กระทำ “มีเจตนา” รู้สำนึกในการกระทำของตน กระทำผิดจำเป็นด้วยความประมาทจึงไม่อาจมีได้ และต้องกระทำไม่เกินสมควรแก่เหตุจึงได้รับยกเว้นโทษ กล่าวคือ เป็นการกระทำความผิดแต่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษทางอาญา