ความผิดเรื่องทรัพย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามีอยู่ด้วยกันหลายฐานหลายหมวดความผิดที่คนทั่วไปมักจะคุ้นเคยกันดีคงหนีไม่พ้นความผิดที่เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน ซึ่งหลายคนมักจะสับสนกันว่าการกระทำแบบไหนเป็น ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ ในบทความนี้จึงอยากจะหยิบยกเอาลักษณะและความแตกต่างของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาให้ได้อ่านกันเพื่อที่จะได้สามารถจำแนกได้ว่าการกระทำแบบไหนเป็นความผิดฐานไหน จะมีความผิดฐานอะไรบ้างเราลองมาดูกันครับ
1. ความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334
การลักทรัพย์ หมายถึง การเอาทรัพย์ของบุคคลอื่นไปโดยมีเจตนาเอาไปเป็นของตนเอง เป็นการตัดกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของเจ้าของทรัพย์เดิม ผู้ที่ลักทรัพย์จึงต้องผู้ที่ไม่มีสิทธิครอบครองทรัพย์นั้นอยู่
การลักทรัพย์ หมายถึง การเอาทรัพย์ของบุคคลอื่นไปโดยมีเจตนาเอาไปเป็นของตนเอง เป็นการตัดกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของเจ้าของทรัพย์เดิม ผู้ที่ลักทรัพย์จึงต้องผู้ที่ไม่มีสิทธิครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ ตัวอย่างเช่น
เอาปากกาของผู้อื่นไปเป็นของตนเองโดยมีเจตนาจะไม่คืนมาตั้งแต่ต้นเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่หากเอาไปเพื่อใช้ชั่วคราวและจะเอามาคืนตั้งแต่แรก กรณีหลังนี้ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
"แล้วถ้าเป็นการลักทรัพย์นายจ้าง ต่างจากลักทรัพย์ปกติอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !"
2. ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336
การวิ่งราวทรัพย์ หมายถึงการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้กระทำความผิดกระทำต่อหน้าเจ้าของทรัพย์โดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้าแต่ไม่ถึงขนาดลงมือทำร้ายหรือขู่เข็ญเจ้าของทรัพย์ให้ส่งมอบทรัพย์ให้
การวิ่งราวทรัพย์ หมายถึงการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้กระทำความผิดกระทำต่อหน้าเจ้าของทรัพย์โดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้าแต่ไม่ถึงขนาดลงมือทำร้ายหรือขู่เข็ญเจ้าของทรัพย์ให้ส่งมอบทรัพย์ให้ ตัวอย่างเช่น
กระชากประเป๋าของผู้เสียหายแล้ววิ่งหนีไปโดยผู้เสียก็รู้ตัวว่าถูกลักทรัพย์ โดยไม่ได้มีเจตนาทำร้ายหรือขู่ว่าจะทำร้ายเจ้าของทรัพย์
3. ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 337
การกรรโชกทรัพย์ หมายถึง การข่มขู่เจ้าของทรัพย์ ว่าจะทำอันตราต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ของเจ้าของทรัพย์หรือบุคคลอื่น หรือโดยใช้กำลังทำร้าย เพื่อให้เจ้าของทรัพย์สินยอมจะมอบให้ซึ่งผลประโยชน์ในลักษณะเป็นทรัพย์สิน
การกรรโชกทรัพย์ หมายถึง การข่มขู่เจ้าของทรัพย์ ว่าจะทำอันตราต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ของเจ้าของทรัพย์หรือบุคคลอื่น หรือโดยใช้กำลังทำร้าย เพื่อให้เจ้าของทรัพย์สินยอมจะมอบให้ซึ่งผลประโยชน์ในลักษณะเป็นทรัพย์สิน ตัวอย่างเช่น
ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายหากไม่กลับไปเอาเงินที่บ้านมาหาให้ ถ้าเพียงแต่ผู้ถูกขู่ยินยอมจะทำตามเพราะกลัวการขู่เข็ญนั้น ผู้ขู่เข็ญมีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
Q: โดนข่มขู่ จะมาทำร้ายร่างกายอีก2ครั้ง และรีดไถ่เงิน กรรโชกทรัพย์
4. ความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 338
ความผิดฐานรีดเอาทรัพย์มีลักษณะเป็นการขู่เข็ญเจ้าของทรัพย์เช่นเดียวกับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ แต่ต้องเป็นการขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับ
สำหรับความผิดฐานรีดเอาทรัพย์นั้นมีลักษณะเป็นการขู่เข็ญเจ้าของทรัพย์เช่นเดียวกับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ แต่ความผิดฐานรีดเอาทรัพย์มีความเฉพาะตัวมากกว่าคือ ต้องเป็นการขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ถูกขู่ หรือบุคคลที่ 3 ได้รับความเสียหายเพื่อให้ผู้ถูกขู่ยินยอมจะให้ซึ่งผลประโยชน์ในลักษณะเป็นทรัพย์สินแก่ผู้ขู่เข็ญหรือบุคคลอื่น และความผิดฐานรีดเอาทรัพย์นี้มักจะเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์อยู่ด้วยในตัว
ตัวอย่างเช่น ขู่ว่าถ้าไม่นำเงินมาให้จะเผยแพร่ภาพลามกอนาจารของผู้ถูกขู่ในระบบคอมพิวเตอร์
5. ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339
การชิงทรัพย์มีพื้นฐานมาจากลักทรัพย์ แต่เป็นลักทรัพย์ที่ผู้กระทำความผิดใช้กำลังทำร้ายหรือขู่ว่าจะใช้กำลังทำร้ายเพื่อพาทรัพย์นั้นไป
การชิงทรัพย์มีพื้นฐานมาจากลักทรัพย์ แต่เป็นลักทรัพย์ที่ผู้กระทำความผิดใช้กำลังทำร้ายหรือขู่ว่าจะใช้กำลังทำร้ายไม่ว่าจะทำร้ายใครก็ตามเพื่อ
- ประโยชน์ในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป
- เพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์สินที่ต้องการลัก
- เพื่อยึดถือทรัพย์สินที่ได้ลักมาแล้ว
- เพื่อปกปิดการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่ได้กระทำมาแล้ว
- เพื่อให้หลุดพ้นจากการจับกุมภายหลังจากได้ประทำความผิดฐานลักทรัพย์มาแล้ว
โดยทั้งการลักทรัพย์และการทำร้ายหรือขู่ว่าจะทำร้ายต้องยังไม่ขาดตอนจากกัน
ตัวอย่างเช่น เจ้าของทรัพย์พบผู้กระทำความผิดในขณะกำลังลักทรัพย์ ผู้กระทำความผิดจึงยิงเจ้าของทรัพย์เพื่อหลบหนี เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาทรัพย์ที่ลักนั้นไปเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ กลับกันหากการลักทรัพย์สำเร็จไปแล้วและผู้กระทำความผิดนำทรัพย์ที่ลักมาไปซ่อนแล้ว การลักทรัพย์ย่อมขาดตอนไปแล้วการที่เจ้าของทรัพย์ตามมาเจอผู้กระทำความผิดในภายหลัง หากผู้กระทำความผิดทำร้ายเจ้าของทรัพย์เพื่อหลบหนีเป็นเพียงความผิดฐานทำร้ายร่างกายไม่ใช่ชิงทรัพย์
6. ความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340
ความผิดฐานปล้นทรัพย์คือการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ซึ่งผู้กระทำความผิดมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดโดยมีลักษณะเป็นตัวตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
ความผิดฐานปล้นทรัพย์คือการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ซึ่งผู้กระทำความผิดมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดโดยมีลักษณะเป็นตัวตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
ตัวอย่างเช่น ก. ข. ค. ตกลงไปชิงทรัพย์ผู้เสียหายในวันลงมือ ก. ข. ค. ก็ได้ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหายตามที่ตกลงเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ กลับกันแม้ ก. ข. และ ค. ตกลงจะไปชิงทรัพย์ แต่ในวันลงมือกระทำความผิดมีเพียง ก. และ ข. เท่านั้นที่ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามที่ตกลง กรณีหลังนี้ไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ เป็นเพียงความผิดฐานชิงทรัพย์โดยร่วมกระทำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเท่านั้น
Q: นาย A วางแผนปล้น มีนาย B นาย C ร่วมด้วยแต่พอวันจริง นาย A ไม่ได้มาด้วย นายA จะรับ โทษอย่างไร
7. ความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341
ความผิดฐานฉ้อโกงหมายถึง การหลอกลวงด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือไม่บอกความจริงที่ควรบอก เพื่อให้เจ้าของทรัพย์สินมอบทรัพย์สินให้ผู้กระทำความผิด โดยที่ผู้กระทำความผิดมีเจตนากระทำความผิดมาตั้งแต่แรก
ในปัจจุบันความผิดฐานฉ้อโกงนี้เป็นความผิดที่เกิดขึ้นมากที่สุดในบรรดาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เลยก็ว่าได้ โดยความผิดฐานฉ้อโกงหมายถึง การหลอกลวงด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือไม่บอกความจริงที่ควรบอก เพื่อให้เจ้าของทรัพย์สินมอบทรัพย์สินให้ผู้กระทำความผิด โดยที่ผู้กระทำความผิดมีเจตนากระทำความผิดมาตั้งแต่แรก ตัวอย่างเช่น
หลอกว่าจะขายสินค้าทั้งที่ไม่มีสินค้าที่จะขายอยู่เลยเพื่อให้ผู้เสียหายส่งมอบเงินให้ ซึ่งความผิดฐานฉ้อโกงนี้หลายคนมักจะสับสนกับการผิดสัญญาทางแพ่ง โดยข้อแตกต่างของความผิดฐานฉ้อโกงกับการผิดสัญญาทางแพ่งนั้น สามารถแยกออกจากกันได้ด้วยการพิจารณาถึงเจตนาของผู้กระทำ ในส่วนของความผิดฐานฉ้อโกงผู้กระทำความผิดมีเจตนาหลอกลวงมาตั้งแต่แรก ส่วนการผิดสัญญาทางแพ่งนั้นผู้กระทำไม่ได้มีเจตนาจะหลอกลวง เพียงแต่เกิดเหตุบางอย่างทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ตามสัญญาได้
ตัวอย่างเช่น ก. กู้ยืมเงิน ข. โดยเจตนาจะไม่คืนมาตั้งแต่แรกแต่อ้างเรื่องกู้เงินเพื่อหลอกให้ ข. ส่งมอบเงินให้เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกง ข. สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจได้ แต่หากในขณะที่ ก. กู้ยืมเงิน ข. ก. มีเจตนาจะคืนจริงแต่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้ไม่มีเงินไปคืนตามกำหนดสัญญากรณีหลังนี้เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง
ฉ้อโกง กับ ผิดสัญญาแพ่ง ต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่บทความนี้ คลิกเลย !
8. ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ หมายถึง กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยการซ่อนเร้น ย้ายไปเสีย โอนไปเสียซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้โดยการกระทำนั้นมีเจตนาเพื่อที่จะไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ หมายถึง กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยการซ่อนเร้น ย้ายไปเสีย โอนไปเสียซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้โดยการกระทำนั้นมีเจตนาเพื่อที่จะไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ตัวอย่างเช่น
ก. เป็นหนี้ ข. ต่อมา ข. ฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลของให้ ก. ชำระหนี้ ในระหว่างดำเนินคดี ก. โอนที่ดินที่มีเพียงแปลงเดียวของตนเองไปให้คนอื่นทำให้เมื่อ ข. ชนะคดีในส่วนแพ่งแล้ว ข. ไม่สามารถที่จะบังคับคดีเอากับทรัพย์สินของ ก. ได้ ก. มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
Q: โกงเจ้าหนี้มาตรา 350
9. ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352
การยักยอกทรัพย์หมายถึงการเบียดบังทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปเป็นของตัวเอง
การยักยอกทรัพย์ หมายถึงการเบียดบังทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปเป็นของตัวเอง ซึ่งคำว่ายักยอกนี้หลายคนมักจะสับสนกับการลักทรัพย์ โดยการยักยอกผู้ยักยอกต้องมีสิทธิครอบครองทรัพย์ที่ยักยอกอยู่ก่อนแล้วต่อมาจึงมีเจตนาเบียดบังไปเป็นของตนเอง ต่างจากการลักทรัพย์ที่ผู้ลักทรัพย์ไม่มีสิทธิครอบครองทรัพย์ที่ลักอยู่ก่อน
ตัวอย่างเช่น ก. ให้ ข. ยืมรถยนต์ไปใช้ต่อมา ก. ต้องการรถยนต์คืนจึงไปทวงถามเอากับ ข. แต่ ข. แจ้งว่าไม่เคยยืมกรณีแบบนี้การที่ ก. ให้ ข. ยืมรถยนต์ ข. ย่อมมีสิทธิที่จะครอบครองและใช้รถคันพิพาทได้แต่ ข. ก็ยังไม่ใช่เจ้าของรถคันพิพาท ดังนั้นการที่ต่อมา ข. แสดงเจตนาที่จะไม่คืนรถแก่เจ้าของโดยการบอกว่าไม่เคยยืม ข. มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
กลับกันหาก ก. ไม่เคยให้ ข. ยืมรถยนต์เลยแต่ ข. กลับมาเอาไปเป็นของตนเอง ข. มีความผิดฐานลักทรัพย์เพราะในเวลาที่ ข. มีเจตนาทุจริต ข. ไม่ได้มีสิทธิครอบครองรถคันพิพาทอยู่เลย
หมายเหตุ การกู้ยืมเงินต่างจากการยืมใช้คงรูปเช่นยืมรถไปใช้ เพราะการกู้ยืมเงินผู้ให้กู้ได้ส่งมอบกรรมสิทธิ์ในเงินที่ให้กู้ให้กับผู้กู้ไปแล้ว ผู้กู้มีหน้าที่เพียงส่งมอบเงินคืนในจำนวนเท่าๆ กันเท่านั้น จึงต้องถือว่าผู้กู้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในเงินที่ให้กู้หากต่อมาผู้กู้ไม่คืนจึงไม่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกได้เลยแต่เป็นเรื่องทางแพ่ง เว้นแต่ผู้กู้มีเจตนาจะไม่คืนมาแต่แรกก็จะเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
"เข้าใจความผิดฐานยักยอกทรัพย์ให้มากขึ้น คลิกเพื่ออ่านบทความเรื่องยักยอกทรัพย์เพิ่มเติม"
10. ความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357
การรับของโจร หมายถึง การช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ซื้อ จำนำ รับไว้ซึ่งทรัพย์ที่ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วในเวลากระทำว่า เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด
การรับของโจร หมายถึง การช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ซื้อ จำนำ รับไว้ซึ่งทรัพย์ที่ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วในเวลากระทำว่า เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ รีดทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง และยักยอกทรัพย์ ตัวอย่างเช่น
ก. ลักทรัพย์เอาไปซ่อนไว้การลักทรัพย์ของ ก. ย่อมสำเร็จและจบลงไปแล้วการที่ในวันถัดมา ก. ให้ ข. ไปเอาทรัพย์ที่ ก. ซ่อนไว้กลับมาที่บ้านโดยที่ ข. ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ ก. ลักมา ข. มีความผิดฐานรับของโจร
อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "รับของโจร" เพื่อให้เข้าใจหลักเกณฑ์มการรับของโจรมากขึ้น !
11. ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358
การทำให้เสียทรัพย์ หมายถึง การทำให้เสียหาย ทำราย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยเจตนาไม่ใช่กระทำโดยประมาท
การทำให้เสียทรัพย์ หมายถึง การทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยเจตนาไม่ใช่กระทำโดยประมาท ตัวอย่างเช่น
การจงใจขูดสีรถแม้รถยังคงใช้ได้ แต่การขูดสีรถของผู้อื่นก็ทำให้รถคันนั้นเสื่อมค่าเสื่อมราคาลง การขูดสีรถของผู้อื่นจึงเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แต่หากเป็นการขับรถโดยไม่ใช้ความระมัดระวังทำให้รถที่ตนเองขับไปขูดรถของผู้อื่นเสียหายกรณีหลังนี้ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์แต่ก็ยังมีความผิดในเรื่องอื่นๆ เช่นความรับผิดทางแพ่งในทางละเมิดซึ่งต้องชำระค่าสินไหมทดแทนแต่ไม่มีโทษทางอาญา
ทำให้เสียทรัพย์เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ?
การทำให้เสียทรัพย์สามารถเป็นได้ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ในกรณีที่เป็นคดีอาญา การกระทำดังกล่าวต้องมีเจตนาทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายหรือเสื่อมค่า โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของทรัพย์ แต่ในกรณีที่เป็นคดีแพ่ง การทำให้เสียทรัพย์อาจเกิดจากความประมาทเลินเล่อ ซึ่งผู้กระทำผิดจะต้องชำระค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหายตามกฎหมายแพ่ง
Q: มีหมายเรียกมาต้องหาว่าทำร้ายร่างกายและทำให้เสียทรัพย์แต่หนูไม่ได้ทำลายทรัพย์สินเค้า
12. ความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362,364
การบุกรุก หมายถึง การก่อกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้ผู้ครอบครองไม่สามารถครอบครองทรัพย์ของตนเองได้อย่างปกติสุข
การบุกรุก หมายถึง การก่อกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้ผู้ครอบครองไม่สามารถครอบครองทรัพย์ของตนเองได้อย่างปกติสุข ตัวอย่างเช่น
เข้าไปในบ้านของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือ ขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นเข้าใช้ประโยชน์ในบ้านหรือที่ดินของตัวเองก็เป็นความผิดฐานบุกรุกได้เช่นเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม ความผิดฐานบุกรุกอย่างละเอียด ! คลิกเลย
บทสรุป
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 12 ประเภทในเบื้องต้นซึ่งเป็นฐานของความผิดนั้นๆ หากมีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แห่งคดีที่ร้ายแรงกว่าปกติ กฎหมายก็ได้กำหนดบทลงโทษที่หนักเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เช่น หากการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรืออันตรายสาหัสฯ ก็จะมีความผิดที่หนักขึ้นตามไปด้วยครับ
สุดท้ายนี้คำถามที่หลายคนมักจะสงสัยกันว่า ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานต่างๆ เช่น ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา นั้นก็ต้องตอบว่าความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ทุกฐานเป็นความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา โดยในส่วนอาญานั้นการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ถือเป็นการละเมิดในทางแพ่งอย่างหนึ่งด้วยทำให้ผู้เสียหายสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ทั้งทางแพ่งและอาญาควบคู่กันไปครับ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านที่จะสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อไปครับ หากกำลังหาที่ปรึกษาทางกฎหมาย ปรึกษาทนายความผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมง !