เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-22

การค้ำประกันบุคคลเข้าทำงานในปัจจุบัน

โดยปกติแล้วการค้ำประกันนั้น คือการที่บุคคลภายนอกที่ไม่ได้อยู่ในสัญญาต่างๆนั้นทำข้อตกลงต่างๆที่ระบุไว้ในสัญญา หากฝ่ายที่ค้ำประกันให้ทำผิดสัญญา บุคคลที่ทำการค้ำประกันนั้นจะต้องเป็นฝ่ายที่รับผิดชอบ โดยการค้ำประกันนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือเสมอไป อาจจะเป็นหนังสืออะไรก็ได้ หรือรายงานการประชุมแต่ต้องมีการลงลายมือชื่อของผู้ค้ำประกันเท่านั้น จะถือว่าการค้ำประกันนั้นเสร็จสมบูรณ์


2.png

การค้ำประกันการทำงาน

คือการที่บุคคลนั้นต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่บริษัทหรือที่ทำงานนั้นกำหนดไว้ หากค้ำประกันเป็นตัวเงินไม่ได้ ก็สามารถใช้ตำแหน่งของบุคคลในการค้ำประกันได้เช่นกันครับ เป็นข้าราชการระดับC4 ขึ้นไป หรือเป็นพนักงานบริษัทที่ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 

โดยที่การค้ำประกันการทำงานนั้นสามารถใช้ได้กับแค่บางตำแหน่งเท่านั้น เช่น งานสมุห์บัญชี  หรือพนักงานแคชเชียร์ งานติดตามเร่งรัดหนี้สิน เป็นต้น เพราะว่าตำแหน่งงานเหล่านี้นั้นต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของนายจ้าง การที่วางหลักทรัพย์หรือบุคคลเข้าก่อนเข้าทำงาน หากเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินนายจ้างนั้น ไม่ว่าจะเป็น การลักทรัพย์นายจ้าง หรือสิ่งอื่นใด นายจ้างก็มีสิทธิ์อายัดสิ่งนั้นได้

หากเป็นตำแหน่งงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของนายจ้าง ทางนายจ้างไม่สามารถเรียกการค้ำประกันการทำงานได้นะครับ กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจในส่วนนี้

 

สิ่งที่ใช้เป็นหลักค้ำประกันในการทำงานตามกฎหมาย

ทางกฎหมายกำหนดไว้ 3ประเภท

1.)ค้ำประกันด้วยเงิน 

อาจจะเป็นการค้ำประกันด้วยการวางเงินสดก่อนเริ่มทำงานเลยก็ได้ หรือว่าสามารถหักจากค่าจ้างที่จ่ายเลยก็ได้จนกว่าจะครบกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ โดยที่นายจ้างนั้นเรียกเงินค้ำประกันได้ไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดนเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ

2.)ค้ำประกันด้วยทรัพย์สิน 

เป็นทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีมูลค่า เช่น ที่ดิน สมุดเงินฝากประจำ ขึ้นอยู่กับมูลค่าตามที่ตกลงกันไว้ และนายจ้างไม่มีสิทธิให้ลูกจ้างแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ค้ำประกันใดๆ เพื่อให้ทรัพย์สินที่ค้ำประกันนั้นเป็นของนายจ้าง

3.)ค้ำประกันด้วยบุคคล 

คือ การที่บุคคลผู้ทำการค้ำประกันนั้นพร้อมที่จะรับผิดชอบค่าเสียหายใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นกับนายจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างที่ไปค้ำประกันให้นั้นไปสร้างความเสียหายให้แก่นายจ้าง

ลูกจ้างควรรู้ : รวมกฎหมายแรงงานที่ต้องรู้ อ่านเลย !

3.png

การค้ำประกันบุคคลเข้าทำงานต่างจากการค้ำประกันแบบทั่วไป

  • กฎหมายแรงงานกำหนดไว้อย่างชัดเจนให้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันบุคคลเข้าทำงานโดยจำนวนวงเงินที่รับผิดนั้น ต้องไม่เกิน 60เท่าของค่าแรงรายวันของลูกจ้าง (2เดือน)
  • หากนายจ้างระบุไว้ในสัญญาจ้างหากเกิดความเสียหายขึ้นต้องรับผิดแบบไม่จำกัดจำนวน จะขัดต่อหลักกฎหมายแรงงานซึ่งสัญญานั้นอาจเป็นโมฆะได้
  • หากคนที่ไปค้ำประกันการทำงานให้นั้น ไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ ไม่ได้ผิดสัญญาจ้าง และลูกจ้างชำระหนี้ครบแล้ว บุคคลที่ค้ำประกันการทำงานนั้นสามารถปฎิเสธการรับผิดได้
  • หากนายจ้างได้ลดหนี้ให้ลูกจ้าง และลูกจ้างได้ชำระหนี้โดยที่ไม่ผิดนัดจนครบแล้ว นายจ้างไม่สามารถเรียกค่าส่วนต่างของหนี้กับบุคคลค้ำประกันได้นะครับ

ถ้าหากต้องการให้ผู้ค้ำประกันบุคคลเข้าทำงานมาชำระหนี้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • หากลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนายจ้างสามารถเรียกค่าเสียหายได้ไม่เกิน ค่าจ้างของลูกจ้างคิดเป็นรายวัน ไม่เกิน 60 วัน(ประมาณ2เดือน)
  • หากตามสัญญาระบุไว้ว่าให้ผู้ค้ำประกันนั้นต้องรับผิดแบบไม่จำกัดวงเงิน แบบนี้จะถือว่านายจ้างฝ่าฝืนประกาศกระทรวงแรงงาน ซึ่งจะทำให้สัญญาค้ำประกันบุคคลเข้าทำงานนั้นเป็นโมฆะ
  • บุคคลค้ำประกันนั้นต้องลงนามในหนังสือรับสภาพหนี้ของนายจ้าง การลงนามในหนังสือรับสภาพหนี้นั้นทำให้นายจ้างสามารถเรียกร้องให้บุคคลที่ทำการค้ำประกันต้องรับผิดเต็มจำนวนที่ลูกจ้างได้สร้างความเสียหายให้แก่นายจ้าง
  • นายจ้างต้องกำหนดวงเงินที่บุคคลค้ำประกันนั้นต้องรับผิดชอบอย่างชัดเจน
  • หากลูกจ้างไม่ได้ทำผิดตามสัญญาจ้างและได้ชำระหนี้จนครบแล้ว นายจ้างไม่มีสิทธิไปเรียกร้องให้บุคคลค้ำประกันนั้นต้องมารับผิดชอบ
  • ลูกจ้างผิดนัดและนายจ้างต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างผิดนัดชำระ แต่ต้องรอให้หนังสือไปถึงมือของผู้ค้ำประกันก่อนนะครับ 

สรุป

ปัจจุบันการค้ำประกันบุคคลเข้าทำงานนั้นได้ระบุเฉพาะเจาะจงแต่ละหน้าที่อย่างชัดเจน อีกทั้งสัญญานั้นต้องชัดเจนและระบุวงเงินถึงจะทำการเรียกค่าเสียหายจากผู้ค้ำประกันได้ หากกำลังประสบปัญหาด้านการทำงาน ต้องการปรึกษาทนายที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงาน สามารถปรึกษาผ่าน Legardy ได้เลยนะครับ 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE