เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-26

หนังสือรับสภาพหนี้: ความหมายและการใช้ในการฟ้องร้อง

 

2.png

การรับสภาพหนี้คืออะไร?

การรับสภาพหนี้คือการที่ลูกหนี้ยอมรับว่าตนมีหนี้ต่อเจ้าหนี้จริง หนี้นั้นต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย และต้องไม่ขาดอายุความ

การรับสภาพหนี้ คือ การที่ลูกหนี้การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ด้วยความสมัครใจของลูกหนี้ เพื่อยอมรับว่าลูกหนี้เป็นหนี้ต่อเจ้าหนี้จริง ซึ่งมูลหนี้ในการรับสภาพหนี้นั้น สำคัญคือต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย และในการรับสภาพหนี้ หนี้นั้นต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ

วิธีการรับสภาพหนี้

วิธีการรับสภาพหนี้ทำได้โดยทำเป็นหนังสือ ชำระหนี้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการยอมรับหนี้

การรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง

การชำระหนี้หรือการรับสภาพหนี้ต้องกระทำก่อนที่หนี้นั้นจะขาดอายุความ

เมื่อสิทธิเรียกร้องขาดอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/10 และ 193/28 ให้จำเลยมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ได้ เมื่อจำเลยไม่ใช้สิทธินั้นโดยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ จึงมีผลเพียงว่า จำเลยจะเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนไม่ได้เท่านั้น ส่วนการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) จะต้องกระทำก่อนที่หนี้นั้นจะขาดอายุความ ดังนั้น การชำระหนี้ของจำเลยภายหลังที่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว จึงไม่ใช่การรับสภาพหนี้ ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง (อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120/2545)


แบบฟอร์มหนังสือรับสภาพหนี้ที่ใช้ฟ้องศาลได้

แบบฟอร์มหนังสือรับสภาพหนี้ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ การชำระหนี้ และการลงลายมือชื่อของลูกหนี้และเจ้าหนี้สามารถเซฟจากด้านล่างได้เลยค่ะ อัพเดทล่าสุดปี2567

โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้า (นาย/นาง/นางสาว).............(ชื่อ-สกุลของลูกหนี้).............................. อายุ...........ปี ถือบัตรประชาชนเลขที่...................................................................อยู่บ้านเลขที่........................ถนน...................................................ซอย/หมู่ที่.....................................ตำบล................................................................อำเภอ................................................จังหวัด...........................................โทร..........................................................ซึ่งต่อไปในหนังสือจะเรียกว่า “ลูกหนี้” ตกลงทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ฉบับนี้ให้ไว้ต่อ (ชื่อ-สกุลของเจ้าหนี้) ซึ่งต่อไปในหนังสือจะเรียกว่า “เจ้าหนี้” โดยมีข้อความดังกล่าวต่อไปนี้

ข้อ 1: รับสภาพหนี้

ลูกหนี้ขอรับสภาพหนี้ว่า ลูกหนี้ค้างชำระค่า................................................................ กับเจ้าหนี้ เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น.......................................บาท (........................................................บาทถ้วน)

ข้อ 2: ผ่อนชำระหนี้

ลูกหนี้ตกลงผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวตาม ข้อ 1. โดยตกลงชำระทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน เดือนละไม่น้อยกว่า.................................บาท และจะชำระให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน นับแต่วันทำหนังสือฉบับนี้ (คือครบกำหนดชำระให้ครบถ้วนภายในวันที่..............เดือน...............................พ.ศ...................)

โดยงวดแรกลูกหนี้ตกลงผ่อนชำระภายในวันที่..............เดือน..............................พ.ศ..................ซึ่งลูกหนี้จะชำระเงินดังกล่าวด้วยวิธีการโอนเข้าบัญชีของเจ้าหนี้ ธนาคาร........................................................ชื่อบัญชีเจ้าหนี้.........................................บัญชีเลขที่ ...........................................

ข้อ 3: การผิดนัดชำระหนี้

หากลูกหนี้ผิดนัดข้อใดข้อหนึ่งหรืองวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ยินยอมให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ทันที และยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากเงินต้นในงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันที่ผิดนัดชำระหนี้

ลูกหนี้ได้อ่านและเข้าใจในหนังสือรับสภาพหนี้ฉบับนี้ด้วยดีโดยตลอดแล้วเห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของลูกหนี้ทั้งสอง จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน

ลงชื่อ.............................................ลูกหนี้ ลงชื่อ.........................................................เจ้าหนี้

(....................................................) (..........................................)

ลงชื่อ...............................................พยาน ลงชื่อ.........................................................พยาน

(.....................................................) (.....................................................)

 

 

วิธีการรับสภาพหนี้ 4 วิธี

1.ทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ 
2.ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้บางส่วน 
3.ชำระดอกเบี้ยให้ประกัน 
4.กระทำการใด ๆ ที่แสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้

อ่านคำปรึกษาจริงเรื่อง "รับสภาพหนี้" พร้อมคำตอบจากทนายผู้เชี่ยวชาญ

Q: การเซ็นรับสภาพหนี้ของบิดาที่เสียชีวิต

Q: คนค้ำประกัน รับสภาพหนี้

Q: ทำหนังสือรับสภาพหนี้

Q: ถ้าเกิดทำสัญญารับสภาพหนี้ชื่อคนเดียว มูลหนี้2คน

Q: การเซ็นรับสภาพหนี้ของบิดาที่เสียชีวิต
 


ผลของการรับสภาพหนี้ต่ออายุความ

อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุด

อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/15 กำหนดไว้ว่า เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น หมายความว่า ถ้าลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2567 ให้อายุความนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้นั้น

2.png

หนังสือรับสภาพหนี้คืออะไร?

หนังสือรับสภาพหนี้คือเอกสารที่ลูกหนี้ยอมรับว่าเป็นหนี้กับเจ้าหนี้ โดยมีการลงลายมือชื่อและลงวันที่

หนังสือรับสภาพหนี้ หรือ หนังสือยอมรับสภาพหนี้ หรือ สัญญารับสภาพหนี้ คือ เอกสารที่ลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้กู้ยืมเงิน เป็นหนี้ค้างชำระค่าเช่า เป็นหนี้ค้างชำระค่าสินค้า เป็นต้น เป็นกรณีที่ลูกหนี้สมัครใจที่จะยอมรับว่าเป็นหนี้ในมูลที่ที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีสาระสำคัญว่า ลูกหนี้ยอมรับว่าเป็นหนี้ในมูลหนี้ใดกับเจ้าหนี้ มูลหนี้เกิดขึ้นเมื่อใด ลูกหนี้ตกลงชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้เจ้าหนี้อย่างไร เช่น ขอผ่อนชำระออกเป็นงวดๆ หรือกำหนดให้มีการชำระเต็มจำนวนในวันที่เท่าใด ชำระด้วยวิธีการใด เป็นต้น ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะต้องมีการลงลายมือชื่อของลูกหนี้และลงวันที่ในการทำหนังสือรับสภาพหนี้ เป็นสำคัญ

รวมบทความ, คำปรึกษาจริง, กฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่อง "รับสภาพหนี้" คลิกเลย !


กรณีที่ไม่มีหลักฐานในการฟ้องคดี

การทำหนังสือรับสภาพหนี้ช่วยให้สามารถฟ้องร้องได้แม้ไม่มีหลักฐานเดิม

การทำหนังสือรับสภาพหนี้ อาจเกิดจากการที่มูลหนี้นั้นไม่มีหลักฐานในการฟ้องคดีก็ได้ เช่น เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2567 นาย ไก่ กู้เงิน นายไข่ จำนวน 100,000 บาท และนายไข่ได้โอนเงินให้แก่นายไก่ในวันดังกล่าวแล้ว นายไก่ตกลงจะคืนเงินในวันที่ 15 มิถุนายน 2567 โดยการกู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ แต่นายไก่ไม่อาจชำระหนี้ทั้งหมดคืนนายไข่ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในวันที่ 15 มิถุนายน 2567 เป็นจำนวน 100,000 บาทในคราวเดียว นายไก่จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2567 โดยนายไก่ยอมรับว่าเป็นหนี้กู้ยืมเงินนายไข่จำนวน 100,000 บาท และตกลงจะชำระหนี้เงินให้โดยการขอผ่อนชำระ 4 งวด งวดละ 25,000 บาท ทุกวันสิ้นเดือน และกรณีดังกล่าว ถือเป็นการทำหนังสือรับสภาพหนี้ตามกฎหมายแล้ว หากนายไก่ผิดสัญญารับสภาพหนี้ เช่น จ่ายเพียงงวดเดียว 25,000 บาท นายไข่เจ้าหนี้สามารถนำหนังสือรับสภาพหนี้ฉบับดังกล่าวไปฟ้องนายไก่เป็นคดีแพ่งข้อหาผิดสัญญารับสภาพหนี้ต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้

เมื่อได้รับหนังสือรับสภาพหนี้ ต้องทำอย่างไร?


การรับสภาพหนี้หลังจากหนี้ขาดอายุความ

คำตอบ: การทำหนังสือรับสภาพหนี้หลังหนี้ขาดอายุความถือเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ และมีอายุความ 2 ปี

กรณีที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้หลังจากหนี้ขาดอายุความ ถือเป็นการที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพความรับผิด เป็นการที่ลูกหนี้สละประโยชน์แห่งอายุความที่ขาดไปแล้ว ทำให้ลูกหนี้ยังต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพความผิดนั้น โดยมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35


ยกตัวอย่างการรับสภาพหนี้

การทำหนังสือรับสภาพหนี้ช่วยให้เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องได้แม้หนี้ขาดอายุความ

ยกตัวอย่างเช่น สัญญาจำนองทำกันไว้เกิน 10 ปีแล้ว เจ้าหนี้จำนองเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิสิทธิในการได้รับชำระหนี้ก่อนจากทรัพย์สินที่จำนอง แม้หนี้จำนองซึ่งเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้ดังกล่าวได้ ตามกฎหมาย แต่จะใช้สิทธิบังคับชำระดอกเบี้ยที่ค้างจากลูกหนี้ย้อนหลังเกิน 5 ปี ไม่ได้ และการที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้หลังทำสัญญาจำนองเกิน 10 ปี ใช้บังคับได้ ถือเป็นหนังสือรับสภาพความรับผิด การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพความรับผิดดังกล่าว แม้ลูกหนี้จะมารู้ภายหลังว่าหนี้จำนองขาดอายุความ 10 ปี ลูกหนี้ไม่อาจเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากเจ้าหนี้ได้ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/28

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมาย ต้องการปรึกษาทนายความ Legardy มีทนายมากกว่า 500ท่าน พร้อมช่วยเหลือคุณ คลิกเลย !

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE