
แนะนำขั้นตอนของ กปว. ทวงหนี้ จะได้ไม่พลาดเรื่องสำคัญ!
การทำประกันวินาศภัยนับเป็นวิธีการที่ผู้คนใช้เพื่อสร้างหลักประกันในการใช้ชีวิต ซึ่งในปัจจุบันการทำประกันภัยนี้ก็มีได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ และประกันอื่น ๆ ตามที่ผู้ประกอบการวินาศภัยกำหนด และแม้ว่าผู้ทำประกันจะพิจารณาสัญญาประกันอย่างรอบคอบแล้ว แต่ก็อาจเกิดเหตุไม่คาดฝันทั้งการเลิกกิจการของผู้ประกอบการ หรือการผิดสัญญาระหว่างกัน ซึ่งหน่วยงานที่เกิดขึ้นมาเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ นั่นก็คือกองทุนประกันวินาศภัยนั่นเอง
กองทุนประกันวินาศภัย คือ
กองทุนประกันวินาศภัย หรือ กปว. คือ กองทุนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ที่มีสิทธิให้ได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย โดยเฉพาะในกรณีที่บริษัทที่รับประกันวินาศภัยล้มละลาย (คดีล้มละลายคืออะไร ? ผลกระทบและแนวทางในการรับมือ แนะนำโดยทนาย)
หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงเป็นกองทุนที่มีขึ้นเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ อีกทั้งยังเป็นหลักประกัน และเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เอาประกันภัย ว่าแม้จะเกิดสถานการณ์ไม่คาดฝันอย่างการที่บริษัทที่รับประกันล้มละลาย หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือมีสินทรัพย์ไม่เพียงพอที่จะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย ก็ยังขั้นตอนของ กปว. ทวงหนี้คอยช่วยเหลือ และชดใช้เงินประกันให้นั่นเอง
ขั้นตอนการยื่นคำร้องขอให้ กปว. ทวงหนี้มีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานเพื่อยื่นคำทวงหนี้ที่เว็บไซต์ของ กปว. (https://rps-sev.gif.or.th/Login)
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้ยื่นคำทวงหนี้ โดยระบุรายละเอียดพร้อมแนบเอกสารหลักฐานเพื่อใช้ประกอบคำทวงหนี้ (กรณีลืมรหัสผ่าน ผู้ยื่นคำร้องสามารถขอรหัสผ่านใหม่ได้โดยเข้าจากลิงก์ที่ได้รับผ่านช่องทางอีเมล)
ขั้นตอนที่ 3 เจ้าหน้าที่กองทุนประกันวินาศภัย จะตรวจสอบรายละเอียดของเรื่องที่ทางเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้เข้ามา (หลังจากทางที่เจ้าหน้าที่ กปว. พิจารณาตรวจสอบเสร็จสิ้นทางกองทุนประกันวินาศภัยก็จะส่งเอกสารยืนยันสิทธิกลับไปให้เจ้าหนี้) แต่หากเอกสารไม่ผ่านการตรวจสอบ หรือเจ้าหน้าที่ต้องการเอกสารเพิ่มก็จะมีการส่งคำทวงหนี้กลับไปให้ผู้ยื่นคำทวงหนี้ เพื่อให้ทำการแก้ไข / หรือนำส่งเอกสารเพิ่มเติมเข้ามาให้ใหม่ (การส่งเอกสารสามารถดำเนินการผ่านช่องทางในระบบ อีเมล หรือจดหมาย) โดยการดำเนินการจะใช้เวลาไม่เกิน 60 วันในการพิจารณาเอกสาร ปิดเรื่อง และส่งแจ้งผู้ยื่นเรื่องให้ทราบการดำเนินการผ่านช่องทางในระบบ อีเมล และจดหมาย
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อได้รับเอกสารยืนยันสิทธิ ผู้ยื่นคำร้องสามารถเลือกยืนยันสิทธิได้ 2 ช่องทาง
- เข้าสู่ระบบและทำการยืนยันสิทธิตอบกลับไปในระบบ กปว. กรณียื่นในระบบสามารถพิมพ์เอกสารยืนยันสิทธิในระบบ และเก็บไว้เป็นหลักฐาน
- ยืนยันสิทธิด้วยการตอบกลับผ่านช่องทางจดหมาย
ขั้นตอนที่ 5 เจ้าหน้าที่จะรตรวจสอบเอกสารยืนยันสิทธิจากเจ้าหนี้ และโอนเงินเข้าระบบตามรายละเอียดที่เจ้าหนี้ระบุไว้ โดยแจ้งผ่านช่องทางในระบบ อีเมล และจดหมาย
ระหว่างที่ทาง กปว. กำลังดำเนินการผู้ยื่นคำขอทวงหนี้สามารถตรวจสอบสถานะของตนเองผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบ ดังนี้
- ตรวจสอบสถานะที่ www.gif.or.th
- คลิกที่ลิ้งค์นี้ https://rps-sev.gif.or.th/Login
- กรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- เลือกชื่อบริษัทประกันภัยที่ต้องการทวงหนี้
- กรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลัก
- กรอกอักขระ Captcha ทดสอบ แล้วคลิกคำว่า ค้นหา
- เมื่อกรอกข้อมูลแล้วเสร็จ หน้าจอจะปรากฏรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
- เลขที่คำขอของผู้ยื่น
- วันที่ยื่นคำร้องขอ
- สถานะล่าสุดของผู้ที่ยื่นคำขอทวงหนี้ หากขึ้นสถานะว่า ยืนยันสิทธิ์ แสดงว่าผู้ยื่นคำทวงหนี้จะต้องมายืนยันสิทธิ์ที่กองทุนประกันวินาศภัยด้วย
เมื่อกองทุนประกันวินาศภัย ตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ยื่นคำขอทวงหนี้ และเอกสารมีความครบถ้วนตามเงื่อนไข ทาง กปว. ก็จะทำการโอนเงินให้ตามความเสียหายจริง แต่วงเงินจะไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย
ที่มาของเงินในการดำเนินการของ กปว. ทวงหนี้
บริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับความคุ้มครอง ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนของ กปว. ในอัตราร้อยละ 0.25 ของเบี้ยประกันภัยที่บริษัทกำหนด เพื่อสะสมเป็นเงินสำรองสำหรับกองทุนเพื่อการคุ้มครองผู้เอาประกันภัย ในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฟังอย่างบริษัทล้มละลาย หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งเงินมาจากช่องทางอื่น ๆ เช่น
- เงินและสินทรัพย์ที่ได้รับโอนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยของสำนักงาน คปภ.
- เงินที่ได้รับตามมาตรา 58 (หรือค่าสินไหมทดแทนเมื่อพ้นอายุความ)
- เงินที่ได้รับตามมาตรา 80/3 (เงินที่บริษัทประกันภัยต้องส่งเข้ากองทุน)
- เงินเพิ่มที่ได้รับตามมาตรา 80/4 (ค่าปรับจากบริษัทประกันภัยที่ไม่ได้ส่งเงินเข้ากองทุน)
- เงินค่าปรับตามมาตรา 111 หลังจากที่หักเงินสินบนรางวัล และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว
- เงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีผู้มอบให้
- ดอกผล หรือรายได้จากเงิน หรือสินทรัพย์ของกองทุน
- เงินสนับสนุนที่ได้จากรัฐบาล
บริษัทประกันภัยที่ไม่ส่งเงินเข้ากองทุน จะต้องเสียค่าปรับ และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยได้ เนื่องจากการกระทำนี้ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
เบอร์ติดต่อประสานงานเพื่อให้ กปว. ทวงหนี้
นอกจากการติดต่อผ่านเว็บไซต์ของ กปว. แล้ว ผู้ยื่นขอรับประกันยังสามารถยื่นคำร้องผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ ดังนี้
- กองทุนประกันวินาศภัย / กปว. (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) เบอร์โทรติดต่อ 0-2791-1444
- สำนักงาน คปภ. ผ่านสายด่วน เบอร์โทรติดต่อ 1186
- สำนักงาน คปภ. ผ่านเบอร์โทรศัพท์ส่วนกลาง 0-2515-3995 ถึง 0-2515-3999 ต่อ 0
- สำนักงาน คปภ.ส่วนภูมิภาค และสำนักงาน คปภ.ประจำจังหวัดทั่วประเทศ
- สมาคมประกันวินาศภัยไทย เบอร์โทรติดต่อ 02-108-8399
กองทุนประกันวินาศภัยมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่คุ้มครองเจ้าหนี้ ซึ่งต้องได้รับการชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยจากบริษัทประกันวินาศภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และเพื่อช่วยพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคง และเสถียรภาพที่ดี โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นจะถือเป็นวินาศภัย และ กปว. ทวงหนี้ ได้ คือความเสียหายที่สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ เช่น ความเสียหายที่เกิดจากการถูกรถชน ซึ่งจะมีค่ารถพยาบาล ค่ายา ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียเวลา โดยความเสียหายเหล่านี้จะถูกคำนวณเป็นเงินได้ก่อนจึงถือว่าเป็นวินาศภัย หากเป็นความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินเป็นจำนวนเงินได้ จะไม่ถือว่าเป็นวินาศภัย หรือหากใครมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาที่ Legardy ทนายความออนไลน์ ที่พร้อมให้บริการแบบ 24 ชั่วโมง
แหล่งที่มา
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



