เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-14

ความผิดฐานฉ้อโกงอย่างละเอียด

การฉ้อโกงในปัจจุบันมีวิธีที่ซับซ้อนและลึกซึ้งมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา บางครั้งคนที่โดนฉ้อโกงเรื่องที่จะปล่อยผ่านกับสิ่งที่เกิดขึ้น จนทำให้มิจฉาชีพได้ใจและกระทำพฤติกรรมเดิมๆซ้ำๆ เช่น การหลอกลวงให้ลงทุนในสิ่งที่ได้ผลตอบแทนสูง , การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อรีดข้อมูลส่วนตัว รวมไปถึงการระบาดของแกงค์คอลเซนเตอร์ที่ออกข่าวกันทุกวัน และเชื่อว่าหลายๆคนเคยโดนแกงค์คอลเซนเตอร์โทรมา ด้วยวิธีหว่านล้อมต่างๆ วันนี้ Legardy จะพาทุกท่านไปเจาะลึกเรื่องความผิดฐานฉ้อโกงกันอย่างละเอียด รวมไปถึงวิธีการแก้ไขปัญหา


image3_with_logo.png

ทำความเข้าใจคำว่า "ฉ้อโกง" ให้มากขึ้น "ฉ้อโกง" ในทางกฎหมายคืออะไร?

การฉ้อโกงนั้นส่วนใหญ่เน้นไปที่การฉ้อโกงทรัพย์สิน มีองค์ประกอบคือกระทำโดยเจตนาและมีพฤติกรรมหลอกลวงโดยแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดความจริงเพื่อเอาทรัพย์สินคนอื่น หรือการถอน ทำลาย เอกสารสิทธิ เช่น การทำลายสัญญา การถอนเงินออกจากบัญชีธนาคาร โดยตรงนี้มีเงื่อนไขคือข้อความเท็จนั้นต้องเป็นจริงในอดีตหรือปัจจุบัน เพราะถ้าเป็นอนาคต เราไม่สามารถคาดเดาได้ ต่อให้ไม่เป็นความจริงก็ไม่ผิดฐานฉ้อโกงนะครับ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นจะยกตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาให้ดูครับ 

สรุปคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2551

จำเลยได้หลอกลวงโจทก์ร่วมโดยการกล่าวเท็จชักชวนให้โจทก์ร่วมเชื่อว่าสามารถนำเงินไปซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารล่วงหน้ารายละ 2,000 บาท จากยอดเบี้ยเลี้ยงทหารที่สามารถเบิกจ่ายได้จริงรายละ 2,600 บาท ความจริงจำเลยไม่มีความสามารถในการดำเนินการดังกล่าวและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงทหารเลย การกระทำนี้ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและตกลงซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารรวม 118 ราย มอบเงินให้จำเลยรวม 236,000 บาท จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

แม้ว่าจะไม่มีข้อห้ามในการซื้อขายเบี้ยเลี้ยงทหาร แต่การที่จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมเพื่อให้ยินยอมมอบเงินนั้นถือเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต มุ่งเอาประโยชน์ในทรัพย์ของผู้อื่นเป็นเงินจำนวนมาก และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการสำนึกผิดหรือมีเหตุอันควรปรานี การที่จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวจึงไม่เป็นเหตุสมควรให้รอการลงโทษจำคุก

ควรดำเนินการทางกฎหมายอย่างไรเมื่อถูก "ฉ้อโกง" บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย !


"คดีฉ้อโกง" นั้นสามารถแบ่งได้หลายกรณี ดังนี้

1.ฉ้อโกง หลอกลวงเพื่อให้ได้ทรัพย์ของคนอื่น 

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน3ปี หรือปรับไม่เกิน60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341

เช่น การหลอกลวงให้ลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนที่สูงมาก

2.การหลอกลวงเพื่อให้คนอื่นถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ 

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341

เช่น การปลอมเอกสารเพื่อไปถอนเงินจากบัญชีคนอื่น

3.การฉ้อโกง โดยการแสดงตนเป็นคนอื่น 

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 342

เช่น การปลอมเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือ ปลอมเป็นคนที่มีชื่อเสียง รวมไปถึงการปลอมโปรไฟล์ในโซเชียล มีเดีย

4.ฉ้อโกง โดยอาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกที่เป็นเด็กหรือผู้ที่มีจิตอ่อนแอ

จะขอแบ่งเป็น "ความเบาปัญญาของเด็ก" คือการที่เด็กประสบการณ์น้อยกว่า วุฒิภาวะไม่เท่ากับผู้ใหญ่ รู้เท่าไม่ทันคนอื่น

"ผู้ที่มีจิตอ่อนแอ" คือ บุคคลที่จิตใจไม่ปกติ หรือ วิกลจริต หรือบุคคลที่กำลังประสบปัญหาซึ่งส่งผลต่อจิตใจ ทำให้การคิดการตัดสินใจไม่ดีเท่าที่ควร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 342

เช่น Aหลอกขายยาวิเศษที่รักษาได้ทุกโรคให้แก่B ในขณะที่Bกำลังเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างแสนสาหัส

5.ฉ้อโกงประชาชน

ตรงนี้ไม่ได้นับจากจำนวนคนที่ถูกฉ้อโกงนะครับ จะดูจากเจตนาว่าต้องการปิดบังข้อมูลให้คนทั่วไปหลงเชื่อโดยไม่เจาะจง ฉ้อโกงประชาชน จะมีข้อสังเกตุพิเศษ คือ หากเป็นการฉ้อโกงแบบเฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่ม เช่นตั้งใจฉ้อโกงเด็ก แบบนี้จะไม่ถือเป็นการฉ้อโกงประชาชนนะครับ

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เช่น โพสบนโซเชียลมีเดียว่า"ฝากเงินกับข้าพเจ้า รับดอกเบี้ยสูง การันตีความปลอดภัย" แต่เมื่อถึงเวลาจริงแล้วชิ่งเงินหนี

6.ฉ้อโกงแรงงาน 

คือการหลอกลวงการจ้างงานที่มีจำนวน 10คน ขึ้นไป ให้ทำงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างหรือจ่ายน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา344

การฉ้อโกงแรงงาน ไม่จำเป็นต้องฉ้อโกงแรงงานครั้งเดียว10คน แต่เป็นการฉ้อโกงครั้งละ 1-2คน แต่เมื่อรวมจำนวนแล้วได้ 10คน ก็ถือว่าเป็นการฉ้อโกงแรงงาน

7.ฉ้อโกงบริการ 

คือการที่สั่งซื้อหรือบริโภคอาหารเครื่องดื่มหรือเข้าอยู่ในโรงแรม โดยรู้ว่าตนไม่สามารถจ่ายได้ หรือง่ายๆ ชักดาบ นั่นเอง

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา345

เช่น ไปรับประทานอาหารแล้วไม่จ่าย เดินหนีออกจากร้าน

8.ฉ้อโกงให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยเสียเปรียบ

คือการชักจูงให้เด็กหรือคนที่มีจิตใจอ่อนแอขายทรัพย์สินให้โดยเสียเปรียบ

กรณีนี้ต้องมีการซื้อขายเกิดขึ้นนะครับ หากไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นจะไม่ถือว่าเป็นการฉ้อโกง จะเป็นแค่การพยายามกระทำความผิด

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 346

เช่น ราคาตลาดของทองคำอยู่ที่บาทละ 40,000 แต่ไปหลอกบุคคลอื่นว่าตอนนี้ราคาอยู่ที่บาทละ 15,000

9.ฉ้อโกงวินาศภัย 

คือการสร้างเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียหายวินาศภัยเพื่อได้รับเงินจากการทำประกันต่างๆ

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 347

เช่น เผาบ้านตัวเองเพื่อรับเงินประกันวินาศภัยที่ได้ทำไว้

ดังนั้นคดีฉ้อโกงติดคุกกี่ปี คำตอบขึ้นอยู่กับว่าทำการฉ้อโกงแบบไหนตามข้างต้นครับ

 


แต่ทราบหรือไม่ว่า คดีฉ้อโกงนั้น เป็นความผิดอาญา ที่ยอมความได้

หากเกิดการเจรจาไกล่เกลี่ยกันที่ลงตัว สามารถจ่ายค่าเสียหายหรือคืนทรัพย์สินแล้วนั้น ก็สามารถยุติคดีฉ้อโกงได้เช่นกันครับ แต่ต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย ยกเว้นกรณีฉ้อโกงประชาชนนะครับ จะไม่สามารถยอมความได้

คดีอาญาที่ยอมความได้ มีอะไรบ้าง? คลิกเพื่ออ่าน !


image2_with_logo.png

ถูกฉ้อโกง ควรทำอย่างไร?

ขั้นตอนแรกให้รวบรวมหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงนั้นๆและให้รีบแจ้งความดำเนินคดี ภายใน3เดือน นับตั้งแต่ทราบเรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิด การแต่งตั้งทนายสำหรับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ถือเป็นวิธีการที่ทำให้การดำเนินคดีต่างๆเป็นเรื่องง่ายขึ้น


ฉ้อโกง vs ผิดสัญญาแพ่ง ความคล้ายที่แตกต่าง

บางครั้งการฉ้อโกงก็มีความคล้ายคลึงกับการผิดสัญญาแพ่ง การที่ฉ้อโกงนั้นจะมีความผิดที่รุนแรงกว่าการผิดสัญญาแพ่ง ซึ่งฝ่ายผู้ที่เสียหายก็อยากจะฟ้องฐานฉ้อโกงมากกว่าเพราะมีการระวังโทษที่หนักกว่า การฉ้อโกงนั้นถือเป็นความผิดทางอาญาหากไม่มีการไกล่เกลี่ยและเจรจา ก็มีโทษจำคุก ซึ่งไม่เหมือนการผิดสัญญาแพ่งจะมีแค่การชดใช้ค่าเสียหายและโทษปรับเท่านั้น โดยมีหลักการพิจารณาดังนี้

1.หากคู่กรณีตั้งใจที่จะไม่ทำตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก จะถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่หากเป็นการที่ไม่สามารถทำตามสัญญาได้ด้วยเงื่อนไขบางประการโดยไม่ได้ตั้งใจจะถือเป็นการผิดสัญญาแพ่ง

2.เงินหรือทรัพย์สินที่ให้ไปนั้นใช้ตรงวัตถุประสงค์หรือไม่ 

เช่น Aขอกู้ยืมเงินBโดยอ้างว่าไปใช้รักษาสุขภาพของตนเอง แต่ความเป็นจริงแล้ว Aนำเงินที่ได้นั้นไปซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม แบบนี้จะถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกง

3.หากใช้เอกสารปลอมหรือการอ้างถึงบุคคลที่สามตั้งแต่เริ่มทำสัญญากัน จะถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง 

ตรงนี้เป็นหลักการวินิจฉัยเบื้องต้นนะครับ ความเป็นจริงแล้วขึ้นอยู่กับศาลท่านพิจารณา

ขอยกตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ 19657/2557 เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นนะครับ

จำเลยทำสัญญาลากจูงทางทะเลระหว่างประเทศเพื่อทำการลากจูงเรือดำน้ำของโจทก์ร่วมจากราชอาณาจักรสวีเดนมายังราชอาณาจักรไทยแต่เรือดำน้ำของโจทก์ร่วมจมเสียก่อนระหว่างทำการลากจูงในทะเลเหนือ และไม่สามารถนำมายังราชอาณาจักรไทยได้ จึงเป็นเรื่องในอนาคตที่จำเลยรับทำแล้วแต่ไม่สำเร็จ และมิใช่จำเลยตั้งใจจะไม่ปฏิบัติตามคำรับรองของจำเลย
ก่อนทำสัญญาว่าจำเลยประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการลากจูงเรือเดินสมุทรมาหลายปี มีกัปตันเรือ และเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์ความสามารถ และจำเลยเป็นเจ้าของเรือเดินสมุทรที่สามารถลากจูงเรือดำน้ำของโจทก์ร่วมได้ ดังนี้จึงไม่เป็นการหลอกลวงอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 

image4_with_logo.png

สรุป

การฉ้อโกงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา บางครั้งอาจมาในหลายรูปแบบ การรู้กฎหมายหรือการปรึกษาทนายเบื้องต้น จะทำให้รู้ทันคนและสามารถต่อสู้คดีได้อย่างที่ควรจะเป็น หากใครที่พบว่าตนเองนั้นถูกฉ้อโกง ต่อให้เป็นจำนวนเงินน้อยก็ตาม แนะนำให้รีบแจ้งความหรือฟ้องคดีให้เร็วที่สุด เพราะอายุความคดีฉ้อโกงสำหรับร้องทุกข์มีเพียง 3 เดือนเท่านั้น หากใครที่ต้องการความช่วยเหลือในการแจ้งความ ฟ้องคดี หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉ้อโกง สามารถปรึกษาทนายได้ที่ Legardy ทนายของเรายินดีให้ความช่วยเหลือ แนะนำแนวทางเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคุณให้มากที่สุด 

 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE