เผยแพร่เมื่อ: 2023-11-07

คนทั่วไปมักคิดว่าเจ้าของบริษัทก็ย่อมต้องเป็นกรรมการบริษัทเท่านั้น!! น่ะสิ ความคิดนี้ผมจะไม่บอกว่าผิดทั้งหมดนะครับ แต่ก็ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมดเช่นเดียวกัน เพราะอะไรน่ะหรือ.....?👇🏻👇🏻

 

⭕️นั่นก็เพราะในความเป็นจริงแล้วตามกฎหมาย เจ้าของที่แท้จริงของบริษัท ย่อมต้องหมายถึง "ผู้ถือหุ้น" มิใช่ "กรรมการบริษัท" แต่อย่างใด โดยกรรมการบริษัท ต้องได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นผ่านการลงมติเท่านั้น และผู้ถือหุ้นก็มีอำนาจในการพิจารณาปลดกรรมการบริษัทได้ด้วย📌

 

⭕️ดังนั้นแท้จริงแล้ว "กรรมการบริษัท" มีหน้าที่เพียงบริหารจัดการงานของบริษัท ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเท่านั้น จึงมิใช่เจ้าของบริษัท

 

⭕️เพราะในบางครั้งกรรมการบริษัทบางแห่ง ก็อยู่ในฐานะลูกจ้างของบริษัท เช่น บางบริษัทผู้ถือหุ้นอาจมีมติที่ประชุมว่าจ้างบุคคลภายนอก เข้ามาจัดการงานของบริษัทในฐานะ "กรรมการบริษัท" โดยได้รับเงินเดือนค่าจ้าง , ทำงานตามคำสั่งของบริษัท , ต้องบันทึกลงเวลาทำงาน และ ปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัท ก็ได้🖊

 

⭕️เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144 ที่บัญญัติไว้ว่า "บรรดาบริษัทจำกัด ให้มีกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนด้วยกันจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง"⚖️

 

⭕️ดังนั้นเจ้าของบริษัทที่แท้จริงตามกฎหมายแล้ว คือ บรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัท เพราะผู้ถือหุ้น มีอำนาจในการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อันเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท ผ่านทางการลงคะแนนเสียงในการประชุมแต่ละครั้ง ที่เราเรียกว่า "มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น" ไม่ว่าจะประชุมสามัญผู้ถือ หรือประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ของบริษัท ก็ตาม 💻

 

⭕️และเฉพาะแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเท่านั้นที่จะมีอำนาจในการแต่งตั้ง / ปลด / หรือ ฟ้องร้องกรรมการบริษัทได้ ในกรณีกรรมการบริษัทไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัท หรือทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย อันเกิดจาการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรืออยู่นอกเหนือขอบเขตวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการของบริษัท 💰

 

⭕️แต่ที่หลายๆคน เข้าใจว่า "กรรมการบริษัท" ก็ย่อมต้องเป็นเจ้าของบริษัทสิถึงจะถูก นั่นก็เพราะว่าโดยส่วนมาก ผู้ก่อตั้งบริษัทหรือเจ้าของมักจะแต่งตั้งตัวเองมาเป็นกรรมการบริษัท เพื่อบริหารจัดการงานของบริษัท และในขณะเดียวกันตนเองก็อยู่ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย จึงทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า เจ้าของบริษัทที่แท้จริง ย่อมต้องหมายถึง "กรรมการบริษัท" เท่านั้น ส่วนผู้ถือหุ้นเป็นแค่นักลงทุน ซึ่งไม่ถูกต้อง ❌

 

✅ดังนั้นจึงสรุปได้สั้นๆว่า✅

 

เจ้าของบริษัทที่แท้จริงนั้นก็คือ "ผู้ถือหุ้น" ไม่ใช่ "กรรมการบริษัท" แต่ถ้า "กรรมการบริษัทคนใด" อยู่ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย ก็ย่อมมีสถานะเป็นเจ้าของบริษัทด้วยนั่นเอง !!! 🔆

นึกง่ายๆ ที่เขาบอกให้เราซื้อหุ้นเพื่อเป็นเจ้าของร่วมกันนั้น แม้หุ้นนั้นจะมีมูลค่าเล็กน้อย เพียงหุ้นละ 10 บาทหรือ 20 บาท แต่ถ้าเราเป็นผู้ถือหุ้น แม้เพียงหุ้นเดียวก็ตาม เราก็ถือเป็นเจ้าของบริษัทในกิจการนั้นๆ แล้วครับ 😁

 

Image by Freepik

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE