เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-19

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature)

ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น การกู้ยืมเงินกันทางช่องทางออนไลน์ การซื้อขายออนไลน์ เป็นต้น เนื่องด้วยบุคคลผู้ทำสัญญากันแต่ละฝ่ายมักอยู่ห่างกัน การที่จะให้คู่สัญญามาพร้อมกันเพื่อลงลายมือชื่อทำสัญญาในแผ่นกระดาษจึงอาจกระทำได้ยาก คู่สัญญาจึงมักจะใช้ประโยชน์จากการเซ็นสัญญาออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น ไลน์ (Line) หรือเฟสบุ๊ก (Facebook) ในการติดต่อทำสัญญาต่าง ๆ ระหว่างกัน ดังนั้น เพื่อให้สัญญามีผลผูกพันคู่สัญญาทุกฝ่ายและป้องกันข้ออ้างว่าไม่มีการทำสัญญาต่อกัน จึงได้มีการบัญญัติพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544เป็นระเบียบการใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีเป็นกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(electronic signature law)ด้วย มาเพื่อควบคุมการกระทำธุรกรรมระหว่างคู่สัญญาทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน 


 

2.png
การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันช่วยให้การยืนยันตัวตนในธุรกรรมเป็นเรื่องง่าย

 

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร ?

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้ให้คำนิยามของคำว่า “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ว่าหมายถึง อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งในมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่เปรียบเสมือนลายเซ็นธรรมดาที่ใช้ในการยืนยันตัวตนและการยอมรับเอกสารหรือข้อมูลต่างๆ ซึ่งทำให้การลงนามมีผลบังคับตามกฎหมายและสามารถใช้เป็นหลักฐานในศาลได้

จากความหมายของลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงเห็นได้ว่า ลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะการลงลายมือชื่อในลักษณะลายเซ็นหรือการเขียนผ่านหน้าจอของอุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกระทำลักษณะอื่นที่สามารถทำให้ยืนยันตัวบุคคลของผู้ทำธุรกรรมนั้นได้

Q: หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก สามารถเซ็นออนไลน์ได้มั้ยคะ หาคำตอบได้ที่นี่คลิกเลย !


ประเภทของลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์

หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 จะพบว่าลายเซ็นต์ทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. ลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์หรือการลงนามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic signature , E signature)

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 9 ได้กำหนดให้กรณีที่กฎหมายกำหนดให้มีการลงลายมือชื่อหรือการลงนามอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่มีการลงลายมือชื่อกันไว้ ให้ถือว่าได้มีการลงลายมือชื่อกันแล้วหากได้กระทำด้วยวิธีการดังนี้

1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อได้ หมายถึง สามารถระบุได้ว่าบุคคลผู้ลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นคือใคร เช่น บัญชีเฟสบุ๊ก(Facebook) หรือบัญชีไลน์(Line) ที่ผู้ใช้งานต้องมีการกรอกข้อมูล Username และ Password เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลของตนเอง ว่าตนคือเจ้าของบัญชีนั้น

2) ใช้วิธีการที่สามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อได้ หมายถึง การกระทำที่สามารถทำให้ทราบถึงความประสงค์ของผู้ลงลายมือชื่อหรือผู้ทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น ในการกู้ยืมเงินมีข้อความที่ระบุว่า “ขอกู้ยืมเงิน” หรือ “ขอยืมเงินและจะชำระคืนให้” หรือในการซื้อขายที่มีข้อความระบุว่าต้องการสินค้าชิ้นใด เป็นต้น ดังนี้ เมื่อใช้ประกอบกับการลงลายมือชื่อแล้วย่อมสามารถทำให้ทราบได้ว่าผู้ลงลายมือชื่อนั้นมีเจตนาต้องการทำธุรกรรมอะไร

เช็คสัญญากู้ยืมเงินอย่างถูกกฎหมายเป็นอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !

3) ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้

 

 

2. ลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 26 ได้กำหนดลักษณะของลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ไว้ ดังนี้

1) ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น สามารถเชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อได้ 

2) ขณะสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อเท่านั้น โดยไม่ถูกบุคคลอื่นควบคุมหรือสวมรอยเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้น

3) การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือข้อความ ภายหลังที่ได้ลงลายมือชื่อ สามารถจะตรวจพบได้

ตัวอย่างลายมือชื่อที่เชื่อถือได้ เช่น ลายมือชื่อดิจิทัล(Digital Signature) คือ ลายมือชื่อที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสลับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

 

3. ลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ โดยมีใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง

ลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกับลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ในประเภทที่ 2 หากแต่เป็นการนำลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ประเภทที่ 2 ไปให้บุคคลภายนอกรับรองความถูกต้องของลายมือชื่อนั้นว่ามีความเชื่อถือได้ โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 28 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการของผู้ให้บริการรับรองไว้ ดังนี้

1) ผู้ให้บริการรับรองต้องปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติที่ตนได้แสดงไว้

2)ผู้ให้บริการรับรองต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรให้แน่ใจในความถูกต้องและความสมบูรณ์ของการแสดงสาระสำคัญทั้งหมดที่ตนได้กระทำเกี่ยวกับใบรับรองนั้นตลอดอายุใบรับรอง หรือตามที่กำหนดในใบรับรอง

3) ผู้ให้บริการต้องจัดให้มีวิธีการในการเข้าถึงโดยสมควร ให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในการแสดงสาระสำคัญทั้งหมดจากใบรับรองได้ ในเรื่องการระบุผู้ให้บริการรับรอง เจ้าของลายมือชื่อ และข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่อ

4) ผู้ให้บริการรับรองต้องจัดให้มีวิธีการเข้าถึงตามสมควร ให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ ข้อจำกัดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และคุณค่าที่มีการนำข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับรอง ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข้อจำกัดเกี่ยวกับขอบเขตความรับผิดที่ผู้ให้บริการออกใบรับรอง การมีวิธีการให้เจ้าของลายมือชื่อส่งคำบอกกล่าว การมีบริการเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับรอง

5) ผู้ให้บริการต้องใช้ระบบ วิธีการ และบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บริการ

โดยผู้ให้บริการรับรองลายมือชื่อในประเทศไทยนั้นต้องได้รับการรับรองให้เป็นผู้รับรองด้วย เช่น บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จํากัด (Thai Digital ID Company Limited) บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NATIONAL ROOT CERTIFICATION AUTHORITY OF THAILAND) หรือ NRCA เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแล้วแต่ทำให้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีผลบังคับตามกฎหมาย ผูกพันคู่สัญญา และคู่สัญญาสามารถนำหลักฐานที่กระทำทางอิเล็กทรอนิกส์นี้ไปฟ้องร้องดำเนินคดีทางศาลต่อกันได้ เช่น การนำบัตรกดเงินสดไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบเสมือนการลงลายมือชื่อตนเองทำรายการเบิกถอนเงิน และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8089/2556) หรือการส่งข้อความปลดหนี้ผ่านทางเฟสบุ๊ก โดยปรากฏชื่อบัญชีเฟสบุ๊กของผู้ส่ง ถือว่าผู้ส่งได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้เป็นหนังสือแล้ว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6757/2560)

 

3.png
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำให้การทำสัญญาออนไลน์เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้มีอะไรบ้าง

ตามมาตรา26ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

(1) ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่เชื่อมโยงไปยังบุคคลอื่น

(2) ในขณะสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น

(3) การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้นสามารถจะตรวจพบได้ และ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปเพื่อรับรองความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ การเปลี่ยนแปลงใดแก่ข้อความนั้นสามารถตรวจพบได้นับแต่เวลาที่ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์


4.png
การตรวจสอบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้มั่นใจว่าธุรกรรมที่ทำมีความปลอดภัยและเชื่อถือได้

Digital Signature คืออะไร?

เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการถอดรหัสเพื่อยืนยันความถูกต้องของตัวเจ้าของเองเปรียบเสมือนเป็นลายนิ้วมือส่วนใหญ่จะใช้รักษาความปลอดภัยของเอกสารลับซึ่งจะมีความปลอดภัยสูงกว่า E-Signature เพราะว่าการทำ Digital Signature ลายเซ็นนั้นจะถูกแปลงเป็นค่า แฮช(Hatch) ซึ่งจะเป็นค่าที่มีความยาวคงที่และไม่ซ้ำกับคนอื่นดังนั้นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพียงเล็กน้อยก็สามารถตรวจสอบ digital footprint ได้ครับ ซึ่งสามารถประหยัดได้ทั้งต้นทุนและเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น


ในทางราชการ มีอะไรบ้างที่นับว่าเป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์

1.การเขียนชื่อ-นามสกุล ลงในเอกสารหรือสัญญาก็ถือเป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์

2.การที่ลงชื่อต่อท้ายอีเมล ก็ถือเป็นการลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง เช่น Aเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน

3.username password ของเว็บไซต์ต่างๆ

4.การกดปุ่ม "ฉันยอมรับ" เมื่อมีหน้าต่างขึ้นมาบนเว็บไซต์ต่างๆก็ถือเป็นการลงนามอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งอยากจะแนะนำให้อ่านพวกนโยบายต่างๆก่อนกดปุ่มยอมรับนะครับ เพราะการที่เรากดปุ่มยอมรับนั้นถือว่าเราได้อ่านครบถ้วนแล้ว



การขออนุญาตใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์

  • หากเป็นการติดต่อกับหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานอื่นๆต้องสอบถามทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก่อนว่าสามารถใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้ไหม เพราะว่าแต่ละที่นั้นมีระเบียบและข้อบังคับที่ต่างการ
  • หากต้องการใช้การลงนามอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่น ต้องทำหนังสือแจ้งไปยังบุคคลดังกล่าว เรื่องจะขอใช้ลายเซ็นต์ของบุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นทำหนังสือตอบกลับและอนุมัติ ก็สามารถใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์แทนเจ้าตัวได้เลย แต่อยากย้ำเรื่องการขออนุญาตจากเจ้าของลายเซ็นนะครับ ห้ามทำโดยพลการ
     

สรุป

การใช้ลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์หรือการลงนามอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถสร้างความสะดวกสบายเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามการใช้ลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆนั้นต้องดูหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง(E signature law) ประกอบด้วยเสมอ หากไม่แน่ใจว่าสัญญาต่างๆที่เซ็นไปนั้นถูกต้องตามหลักกฎหมายไหม สามารถปรึกษาทนายผ่าน Legardy ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE