ลูกจ้างต้องรู้! สิ่งที่จะได้รับเมื่อโดนนายจ้างไล่ออก.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-08-12

ลูกจ้างต้องรู้! สิ่งที่จะได้รับเมื่อโดนนายจ้างไล่ออกกะทันหัน

เมื่อ โดนไล่ออก ถูกเลิกจ้าง ทำให้ต้องตกงานแบบกะทันหัน ซึ่งสิ่งที่ลูกจ้างควรจะทราบเป็นเรื่องแรกๆเลย ก็คือ เงินค่าชดเชยตามกฎหมายของแรงงาน ตามไปดูรายละเอียด พร้อมกับทำความเข้าใจ เมื่อท่านถูกเลิกจ้างแบบไม่ทันตั้งตัว นอกจากเงินค่าชดเชย จะได้รับอะไรอีกบ้าง


3 สิ่งที่จะได้รับเมื่อโดนไล่ออกกะทันหัน

 1. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

1. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน.png

อัตราของเงินค่าชดเชย ตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด จะคิดตามอายุงาน ซึ่งจะมีการใช้อัตราของเงินเดือนล่าสุดเพื่อไปคำนวณเงินชดเชย แต่หากลูกจ้างถูกไล่ออก เนื่องมาจากความผิดอันร้ายแรงบางอย่างของตัวลูกจ้างเอง ท่านจะไม่ได้รับเงินชดเชย ตามมาตรา 118 พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ 2541 

การรับเงินค่าชดเชย เมื่อ โดนไล่ออก จากนายจ้างกะทันหันจะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับ 300,000 บาทแรก เกินจากนั้นต้องนำมาเสียภาษี อาทิ หากท่านได้รับค่าชดเชย มาในอัตรา 240 วัน จะคิดเป็นเงินจำนวน 360,000 บาท สำหรับค่าชดเชยที่ท่านจะได้รับ 300,000 บาทแรก ท่านก็จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี แต่สำหรับส่วนที่เหลือ จำนวนเงิน 60,000 บาท จะต้องนำเอามาเสียภาษี

 

2. เงินอื่น ๆ ที่นายจ้างให้จากการลาออก

2. เงินอื่น ๆ ที่นายจ้างให้จากการลาออก.png

  • เงินจ้างที่นายจ้างต้องจ่ายเมื่อ โดนไล่ออก แบบกะทันหัน
  • ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างยังไม่ได้ใช้
  • เงินเดือนที่ยังคงค้างชำระอยู่
  • ค่าเสียหายที่ได้มีการเรียกร้องจากการถูกเลือกว่าจ้าง
  • เงินบำเหน็จอื่นๆ

** เงินอื่น ๆ ที่นายจ้างให้ จะต้องเสียภาษีอย่างไรเพื่อให้คุ้ม

  • สำหรับอายุงาน 5 ปีขึ้นไป : แยกคำนวณภาษีเงินได้ จากเงินที่ไหนแจ้งจ่ายให้แค่เพียงครั้งเดียว จะเสียภาษีน้อยกว่าการนำเงินไปรวมกับเงินได้ประเภทอื่นๆ
  • สำหรับอายุงานที่ไม่ถึง 5 ปี  : ต้องนำรายได้ทั้งหมดมาคำนวณเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 เสมือนกับเงินเดือน เพราะถือว่าเป็นรายได้จากงานประจำเช่นเดียวกับเงินเดือน

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !

 

 

3. เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้ามี)

3. เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้ามี).png

สำหรับใครที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้มีการสะสมไว้ จะต้องมีการจัดการอย่างไรบ้าง

  • ถอนเงินสดออกจากกองทุนเลี้ยงชีพ : ซึ่งเงินส่วนต่าง ๆ ที่จะได้รับ เงินสะสมของท่านเองที่ถูกหักออกจากเงินเดือนก่อนหน้านี้ (ไม่ต้องเสียภาษี), ดอกเบี้ยของเงินสะสม (ต้องเสียภาษี), เงินสมทบจากนายจ้าง (ต้องเสียภาษี) และผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบของนายจ้าง (ต้องเสียภาษี)
  • เก็บเงินไว้ในกองทุนเดิมก่อน : เหมาะสำหรับคนที่อยู่ในกองทุนเดิมที่ให้ผลตอบแทนที่พึงพอใจ แต่จะต้องเช็คว่ากองทุนที่อยู่ให้เราเก็บเงินไว้ในกองทุนนานเท่าไร และจะต้องคำนึงไปถึงค่าธรรมเนียม
  • โอนเงินไปกองทุนของที่ทำงานใหม่ : สามารถทำได้ก็ต่อเมื่อท่านหางานใหม่ได้ภายใน 30 วัน ท่านก็สามารถที่จะโอนไปกองทุนใหม่ของที่ทำงานใหม่ได้เลยทันที โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
  • ย้ายไปกองทุนรวมเพื่อเป็นการเลี้ยงชีพ (RMF) : สามารถที่จะทำได้ โดยไม่ได้ถือว่าเป็นการเอาเงินออกจากกองทุนเลี้ยงชีพ และไม่ต้องเสียภาษี แต่ไม่สามารถใช้สิทธิ์เพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มได้

เลิกจ้างแบบไหนที่ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย?

  • สมัครใจที่จะขอลาออกเอง
  • ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจที่จะกระทำความผิดอาญาต่อนายจ้าง
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ประมาทจนทำให้เกิดเป็นเหตุใดแรงนายจ้างเกิดความเสียหาย และลูกจ้างฝ่าฝืนกฎระเบียบ ตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย และนายจ้างจะต้องเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือแล้ว เว้นกรณีร้ายแรงที่ไม่ต้องตักเตือน
  • ลูกจ้างทิ้งหน้าที่ การทำงาน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผล
  • ลูกจ้างได้รับโทษจำคุก ตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือลหุโทษ
  • การจ้างที่ได้มีการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ชัดเจน และเลิกจ้างตามกำหนดเวลา

สรุปเรื่องสิ่งที่จะได้รับเมื่อโดนไล่ออกกะทันหัน

สำหรับลูกจ้างคนไหนที่ โดนไล่ออก แบบกะทันหันไม่ต้องกังวล แน่นอนเลยว่าในเรื่องร้าย ๆ ก็ยังมีเรื่องที่ดีแอบแฝงอยู่ ก็คือท่านจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินอื่น ๆ ที่นายจ้างให้จากการลาออก และเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้ามี) หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับหรือคลิกที่นี่ !

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE