เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-12

นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานแล้วก่อนถึงวันเริ่มงานนายจ้างโทรศัพท์ยกเลิกการจ้างงานลูกจ้างเรียกค่าเสียหายได้ไหม?

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจคำว่า นายจ้าง และ ลูกจ้าง ตามกฎหมายแรงงานกันก่อนนะคะ

3.png

 

ความหมายของนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 กำหนดให้

นายจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึง:

  1. ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง
  2. ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย

"ลูกจ้างต้องรู้! สิ่งที่จะได้รับเมื่อโดนนายจ้างไล่ออก"

ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร

จะเห็นได้ว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 การจะถือว่าเป็นนายจ้างได้ ในกรณีที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบเป็นบริษัทหรือนิติบุคคล ผู้มีอำนาจกระทำการแทนหรือได้รับมอบหมายจากบริษัทหรือนิติบุคคล ต้องได้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงาน โดยจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง จึงจะถือเป็นนายจ้าง และการจะถือว่าเป็นลูกจ้างได้ ต้องเป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้าง โดยรับค่าจ้าง

1.png

 

กรณีนายจ้างยกเลิกการจ้างงานก่อนเริ่มงาน

การที่นายจ้างรายใหม่ได้โทรศัพท์แจ้งแก่ลูกจ้างว่า ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานแล้ว ลูกจ้างจึงได้ลาออกจากงานที่บริษัทเก่า เพื่อเตรียมตัวที่จะเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างรายใหม่นี้ ตามวันและเวลาที่กำหนดในสัญญาจ้าง แต่ก่อนถึงวันเริ่มงาน นายจ้างกลับโทรศัพท์ยกเลิกสัญญาจ้างกระทันหัน ลูกจ้างเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ กรณีนี้ถือว่านายจ้างผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่?

'สัญญาจ้างงานมีกี่ประเภท เรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องรู้'

การพิจารณาตามกฎหมาย

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรค 2 กำหนดไว้ว่า: "ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย"

ลูกจ้างต้องรู้! เงินชดเชยเลิกจ้าง คืออะไร

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรค 3 กำหนดไว้ว่า: "การบอกเลิกสัญญาจ้างตามมาตรา 17 วรรค 2 นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้"

'ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชยไหม และจะได้รับเงินชดเชยเท่าไร'

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 กำหนดไว้ว่า: "ถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร ท่านว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็อาจทำได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสามเดือน อนึ่ง ในเมื่อบอกกล่าวดังว่านี้ นายจ้างจะจ่ายสินจ้างแก่ลูกจ้างเสียให้ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวนั้นทีเดียว แล้วปล่อยลูกจ้างจากงานเสียในทันทีก็อาจทำได้"

กล่าวคือ นายจ้างจะเกิดความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง ต่อเมื่อเป็นนายจ้างและลูกจ้างกันตามความหมายที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ดังกล่าวข้างต้น

 

 

ความหมายของสัญญาจ้างแรงงาน

เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ทั้งนายจ้างกับลูกจ้างต้องได้มีการทำงานด้วยกันจริง หมายถึง ลูกจ้างได้เข้าทำงานให้แก่นายจ้างแล้ว จึงถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานแล้ว แม้ไม่ได้มีการทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นหนังสือ ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาจ้างแรงงานต้องทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างยกเลิกการจ้างกะทันหัน ถือว่านายจ้างได้เลิกสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้าง นายจ้างจึงต้องรับผิดต่อลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างได้นั่นเอง

อ่านมากกว่า 300คำปรึกษาจริง เรื่อง "สัญญาจ้าง" พร้อมคำตอบจากทนายความตัวจริง ได้ที่นี่ คลิกเลย!

การยกเลิกการจ้างงานก่อนเริ่มงาน

การที่นายจ้างรายใหม่ได้โทรศัพท์แจ้งแก่ลูกจ้างว่า ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานแล้ว ลูกจ้างจึงได้ลาออกจากงานที่บริษัทเก่า เพื่อเตรียมตัวที่จะเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างรายใหม่นี้ ตามวันและเวลาที่กำหนดในสัญญาจ้าง (เท่ากับลูกจ้างยังไม่ได้เข้ามาทำงานกับนายจ้าง ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงยังไม่ได้ทำงานด้วยกันจริง) เมื่อก่อนถึงวันเริ่มงาน นายจ้างโทรศัพท์ไปยกเลิกการจ้างลูกจ้างกระทันหัน กรณีดังกล่าว เมื่อทั้งนายจ้างและลูกจ้างยังไม่ได้เข้าทำงานด้วยกันจริง สัญญาจ้างแรงงานจึงยังไม่เกิดขึ้น การที่นายจ้างรายใหม่โทรศัพท์แจ้งลูกจ้างว่าจะรับลูกจ้างเข้าทำงาน เป็นการให้คำมั่นว่าจะรับลูกจ้างเข้าทำงานเท่านั้น ยังไม่ถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน เนื่องจากสัญญาจ้างแรงงาน มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ ทั้งนายจ้างและลูกจ้างต่างให้ผลประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ลูกจ้างต้องได้ทำงานให้นายจ้างจริง และนายจ้างได้ให้ลูกจ้างเข้าทำงาน โดยจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง เมื่อนายจ้างโทรศัพท์แจ้งว่าจะรับลูกจ้างเข้าทำงาน ต่อมาโทรศัพท์ยกเลิกจ้างลูกจ้างกระทันหัน ก่อนจะถึงวันเริ่มทำงานให้แก่นายจ้าง เท่ากับลูกจ้างยังไม่ได้เริ่มทำงานให้กับนายจ้างเลย ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสองและวรรคสาม และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย และกรณีนี้ไม่ถือว่านายจ้างผิดสัญญาจ้างแรงงาน

'ทำไมทำสัญญาต้องทำเป็นหนังสือ มีความสำคัญขนาดไหน อ่านได้ที่นี่ !'

 

สรุป

นายจ้างรายใหม่โทรศัพท์แจ้งรับลูกจ้างเข้าทำงานเเล้ว ก่อนถึงวันเริ่มงาน นายจ้างโทรศัพท์ยกเลิกการจ้างงาน กรณีดังกล่าวถือว่าสัญญาจ้างแรงงานยังไม่เกิดขึ้น ลูกจ้างจึงเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างไม่ได้ อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2560

 

ความเห็นจากทนายความ

สำหรับคำพิพากษาศาลฎีกานี้ ด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา ทนายมีความเห็นว่า การที่นายจ้างรายใหม่ได้โทรศัพท์แจ้งแก่ลูกจ้างว่า ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานแล้ว ลูกจ้างจึงได้ลาออกจากงานที่บริษัทเก่า เพื่อเตรียมตัวที่จะเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างรายใหม่นี้ ตามวันและเวลาที่กำหนดในสัญญาจ้าง แต่ก่อนถึงวันเริ่มงาน นายจ้างกลับโทรศัพท์ยกเลิกสัญญาจ้างกระทันหัน การที่นายจ้างรายใหม่บอกยกเลิกการจ้างกับลูกจ้างกะทันหัน ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าลูกจ้างต้องแจ้งลาออกล่วงหน้ากับบริษัทเก่า ย่อมทำให้ลูกจ้างตกเป็นคนว่างงาน กรณีนี้ทำให้ลูกจ้างเสียประโยชน์ ลูกจ้างควรจะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ ทั้งนี้เป็นเพียงความเห็นของทนายเท่านั้นนะคะ

 

'ปัญหาเรื่องที่ทำงานกำลังกวนใจคุณอยู่ใช่ไหม ปรึกษาทนายผ่านLegardy คุณอาจจะได้รับแนวคิดใหม่ๆและทางออกทางกฎหมายของปัญหานั้นๆ ปรึกษาเลย คลิก!'

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE