หมั้นแล้วไม่ยอมแต่ง จะทำอย่างไรดี?
ขออธิบายถึงสัญญาหมั้นก่อนนะครับว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “สัญญาหมั้น” คือสัญญาที่ชายหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ทำการหมั้นกันเพื่อคาดหมายว่าจะสมรสกันในภายภาคหน้า
การหมั้นนั้นมีเงื่อนไขดังนี้
1.ชายหญิงที่หมั้นกันต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์หรือมากกว่า 17 แล้วทั้งคู่ ถ้าหมั้นกันตอนอายุไม่ถึง 17 สัญญาหมั้นตกเป็นโมฆะทันทีตามมาตรา 1435
2.ถ้าหมั้นกันตอนอายุ 17 ปีชายหญิงยังคงเป็นผู้เยาว์ จึงต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ปกครองก่อนเสมอ แต่ถ้าชายหญิงอายุเกิน 20 ถือว่าบรรลุนิติภาวะไม่ต้องขอความยินยอม
3.สัญญาหมั้นจะเกิดและสมบูรณ์มีขึ้นได้เมื่อฝ่ายชายส่งมอบ “ของหมั้น” ให้แก่หญิงคนหมั้น ถ้าส่งมอบของหมั้นก็เกิดเป็นสัญญาหมั้น โดยของหมั้นตกเป็นสินส่วนตัวและเป็นกรรมสิทธิ์ของหญิงนั้น (มาตรา 1437 วรรค 1 และวรรค 2)
4.สัญญาหมั้นเป็นเพียงสัญญาที่คาดหมายเฉยๆว่าจะมีการสมรสระหว่างคู่หมั้นชายหญิง ไม่ใช่สัญญาบังคับในการสมรส ดังนั้น คู่ชายหญิงจะแต่งงานจดทะเบียนสมรสกันโดยไม่ต้องทำสัญญาหมั้นกันก่อนเลยก็ทำได้
5.เพราะเป็นเพียงการคาดหมายว่าจะสมรส คู่ชายหญิงจึงอาจจะสมรสหรือไม่สมรสกันจริงๆเลยก็ได้ คู่ชายหรือหญิงถ้าทำสัญญาหมั้นกันแล้วอาจจะหมั้นกันกับคนอื่นก็ได้ โดยสัญญาหมั้นครั้งหลังจะไม่ตกเป็นโมฆะเสียเปล่า เพียงแต่การผิดสัญญาหมั้นในครั้งก่อนคู่สัญญาหมั้นสามารถเรียก “ค่าทดแทน” จากฝ่ายที่ผิดได้
6.เมื่อผิดสัญญาหมั้นแล้วจะฟ้องร้องให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาทำการสมรสกับตนไม่ได้
7.แม้ผิดสัญญาหมั้นแล้วจะฟ้องให้สมรสกันไม่ได้ก็ตาม แต่ยังเรียกค่าทดแทนจากฝ่ายผิดสัญญาได้ดังนี้ตามมาตรา 1440 ได้แก่
7.1.ทดแทนความเสียหายแก่กายหรือชื่อเสียง เช่น ก่อนหมั้นกันชายหญิงได้มีเพศสัมพันธ์กันไปก่อนแล้ว ,
7.2.ความเสียหายจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคลฐานะเช่นบิดามารดาใช้จ่ายจากการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและสมควร เช่น หญิงที่หมั้นกับชาย พ่อแม่ของหญิงรู้ว่าลูกสาวจะแต่งงานก็เลยจองโรงแรม ห้องหอจัดงาน เชิญแขกร่วมงานเรียบร้อย ชายเบี้ยวทำให้พ่อแม่ของหญิงสูญเสียเงินทองค่าใช้จ่ายไปเยอะแยะในการจัดงานแต่งก็เรียกเป็นค่าทดแทนได้ แต่กรณีนี้ค่าทดแทนต้องดูจากฐานะความเป็นอยู่ของผู้เสียหายว่า ได้ใช้จ่ายในงานแต่งสมกับฐานะตนหรือเปล่า ,
7.3.ความเสียหายจากที่คู่หมั้นจัดการเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนด้วยคาดหมายว่าจะได้สมรส เช่น หญิงหมั้นกับชายเห็นว่าชายรวยน่าจะเลี้ยงจนได้หญิงที่มีการงานอยู่แล้วลาออกจากงาน แต่ต่อมาชายเบี้ยวและหญิงต้องตกงานไม่มีรายได้จากงานก็เรียกเป็นค่าทดแทนได้ 8.ผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายชายผิดหญิงริบของหมั้นมาเป็นของตนได้ กลับกัน ฝ่ายชายผิดหญิงต้องคืนของหมั้นนั้น