เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-06

ออกรถแทนคนอื่นแล้วเขาไม่ผ่อน เราสามารถติดตามรถกลับคืนมาเองได้ไหม?

เชื่อเลยว่าหลายๆ คงเคยได้ยินเรื่องการออกรถแทนคนอื่นกันมาบ้างใช่ไหมหล่ะ โดยวิธีการคือการใช้ชื่อคนหนึ่งที่เครดิตดีทำเรื่องเช่าซื้อกับสถาบันการเงินต่างๆ เช่น ไฟแนนซ์ เพื่อออกรถแทนผู้ซื้อตัวจริงที่อาจจะทำเรื่องเช่าซื้อไม่ผ่านเพราะเครดิตไม่ดี แล้วเพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมครับว่าถ้าเกิดผู้ซื้อตัวจริงไม่ยอมผ่อน หรือผ่อนไม่ไหว ฯ หากไฟแนนซ์มาตามทวงค่างวด ทวงรถที่เช่าซื้อกับผู้ที่เช่าซื้อแทน ผู้ที่เช่าซื้อแทนสามารถติดตามรถกลับมาเองเพื่อที่จะส่งมอบรถคือให้กับไฟแนนซ์ได้หรือไม่ ในบทความนี้มีคำตอบครับ แต่หากไม่มีรถคืนสามารถอ่านเคสตัวอย่างได้


2.png

 

 

Your Blog Title

 


ก่อนอื่นต้องขอท้าวความก่อนว่า ในเรื่องของการเช่าซื้อรถแทนคนอื่นนั้นศาลฎีกามองว่า ผู้ที่เช่าซื้อแทนเป็น “ตัวแทนไม่เปิดเผยชื่อ” ของผู้เช่าซื้อตัวจริง ดังนั้นเมื่อได้มีการเช่าซื้อรถแทนและได้ส่งมอบรถให้กับผู้ซื้อตัวจริงไปแล้ว ผู้เช่าซื้อแทนย่อมไม่มีสิทธิครอบครองรถที่เช่าซื้ออีกต่อไป และหากผู้ที่เช่าซื้อแทนไปเอารถกลับมาโดยไม่รับรับความยินยอมจากผู้เช่าซื้อตัวจริงแล้วย่อมมีความผิดตามประมวลอาญา เกี่ยวกับทรัพย์ฐานต่างๆ ได้ ดังนั้นผู้ที่เช่าซื้อรถแทนจึงไม่สามารถติดตามรถกลับมาเองโดยพลการได้ ปรากฏตามคำพิพากษาฎีกาดังต่อไปนี้ครับ

Q: คนออกรถเป็นชื่อเรา แต่ได้ให้คนอื่นผ่อนต่อ แล้วเค้าเอารถไปจำนำ ไม่ส่งค่างวด
 


คำพิพากษาฎีกาที่ 6117/2562

“...จำเลยมีชื่อเป็นผู้เช่าซื้อ จำเลยเป็นเพียงตัวแทนเชิดของผู้เสียหายที่ 2 และมอบรถให้ผู้เสียหายที่ 2 ไปแล้วผู้เสียหายที่ 2 ย่อมมีสิทธิครอบครองรถที่เช่าซื้อ ส่วนจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองรถที่เช่าซื้อ...การที่จำเลยเอารถที่เช่าซื้อไปจากผู้เสียหายที่ 2 เพื่อเรียกให้ผู้เสียหายที่ 2 ปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นการแย่งการครอบครอง...จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฏหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว...”

 Q: ออกรถให้คนรู้จัก แต่เป็นชื่อเรา ผ่านมา10 ปี ไฟแนนซ์โทรมาแจ้งว่าไม่ได้จ่ายค่างวดสักงวด ต้องทำอย่างไร 

'คลิกที่นี่ เพื่ออ่านบทความเกี่ยวกับรถยนต์จากทนายความตัวจริง'


1.png

 

ต้งทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องเพราะออกรถให้คนอื่น ?

 Q: เราออกรถให้พี่ชายเป็นชื่อเรา เเละพี่ชายไม่ยอมส่งจนไฟแนนท์มาตาม

เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าผู้ที่ออกรถแทนคนอื่นเป็นตัวแทน ของผู้เช่าซื้อตัวจริงแล้ว หากผู้ที่ออกรถแทนถูกฟ้อง ผู้ที่ออกรถแทนคนอื่นก็ต้องรับผิดชำระหนี้แทน

ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 

“ถ้าตัวการผู้ใดได้ยอมให้ตัวแทนของตนทำการออกหน้าเป็นตัวการไซร้ ท่านว่าตัวการผู้นั้นหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันเขามีต่อตัวแทน และเขาขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่รู้ว่าเป็นตัวแทนนั้นได้ไม่” แต่สามารถเรียกให้ผู้เช่าซื้อตัวจริงเข้ามาร่วมรับผิดในคดีที่ถูกฟ้องได้และใช้สิทธิเรียกเอาเงินชำระให้แก่ไฟแนนซ์ไปอันเกิดจากการเป็นตัวแทนกับผู้เช่าซื้อตัวจริง หรือเรียกให้วางหลักประกันต่อไป ซึ่งเป็นไปตาม

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816

 “ถ้าในการจัดทำกิจการอันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนได้ออกเงินทดรองหรือออกเงินค่าใช้จ่ายไป ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุควรนับว่าเป็นการจำเป็นได้ไซร้ ท่านว่าตัวแทนจะเรียกเอาเงินชดใช้จากตัวการ รวมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้ออกเงินไปนั้นด้วยก็ได้ วรรคสอง ถ้าในการจัดทำกิจการอันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนต้องรับภาระเป็นหนี้ขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุควรนับว่าเป็นการจำเป็นได้ไซร้ ท่านว่าตัวแทนจะเรียกให้ตัวการชำระหนี้แทนตนก็ได้ หรือถ้ายังไม่ถึงเวลากำหนดชำระหนี้ จะให้ตัวการให้ประกันอันสมควรก็ได้”

'คลิกที่นี่ เพื่อหาทนายที่เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สิน'

 และปรากฏตามคำพิพากษาฎีกาดังต่อไปนี้ครับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 18531/2555

“...จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนโจทก์ซื้อที่ดินจากธนาคาร น. โดยได้ออกเงินทดรองชำระราคาที่ดินพิพาทแทนโจทก์ไปและใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะเรียกเอาเงินชดใช้จากโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816...”


อ่านมากกว่า 10 ตัวอย่างจริงจากผู้ที่ให้คนอื่นผ่อนรถให้แต่เค้าไม่ผ่อน

Q: เราออกรถให้พี่ชายเป็นชื่อเรา เเละพี่ชายไม่ยอมส่งจนไฟแนนท์มาตาม

Q: ออกรถเป็นชื่อเรา แฟนเอาไปใช้แต่เลิกกัน แฟนขอ5000แลกกับคืนรถ ควรทำไงดี

Q: ออกรถมอไซแล้ว ไม่ได้ชำระ และไม่มีรถคืน

Q: คนออกรถเป็นชื่อเรา แต่ได้ให้คนอื่นผ่อนต่อ แล้วเค้าเอารถไปจำนำ ไม่ส่งค่างวด


สรุป

การใช้ชื่อของตัวเองออกรถแทนคนอื่น ผู้ที่ออกรถแทนคนอื่นไม่ใช่ผู้ครอบครองรถที่แท้จริง รถจึงอยู่ในความครอบครองของผู้ที่ขอให้เช่าซื้อแทน หากได้มีการส่งมอบรถที่เช่าซื้อแทนให้ผู้เช่าซื้อตัวจริงแล้ว ผู้ที่เช่าซื้อแทนไม่สามารถติดตามรถกลับคืนมาเองได้โดยที่ฝ่ายที่ครอบครองรถไม่ยินยอมหรือโดยพลการ แต่ต้องไปดำเนินการตามขั้นตอนทางแพ่งในเรื่องของตัวการตัวแทนนั่นเอง เมื่อรู้แบบนี้แล้วก็หวังว่าจะเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อหลายๆ คนไม่ว่าจะตัดสินใจออกรถแทนคนอื่นไปแล้วหรือกำลังตัดสินใจก็ตาม ที่จะสามารถรใช้เป็นแนวแทงในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและประกอบการตัดสินใจต่อไปครับ หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE