เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-04

ปลอมลายเซ็นแต่เจ้าของยินยอมผิดกฎหมายไหม มีโทษอะไรบ้าง

เป็นที่ทราบกันดี การปลอมลายเซ็นโดยที่เจ้าของไม่ยินยอม มีข้อกฎหมายที่ระบุถึงความผิดไว้อย่างชัดเจน แต่หลายคนอาจมีข้อสงสัยที่ว่า หากเจ้าของยินยอมให้ปลอมลายเซ็นไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ถือว่าเข้าข่ายมีความผิดหรือไม่ และถ้ามีความผิดจะได้รับบทลงโทษทางกฎหมายอย่างไร Legardy ได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้แล้ว


2   การปลอมลายเซ็นแม้เจ้าของยินยอมผิดกฎหมายไหม.png

การปลอมลายเซ็นแม้เจ้าของยินยอมผิดกฎหมายไหม

ในทางกฎหมายการเซ็นชื่อแทนกัน นับว่าเป็นการปลอมแปลงเอกสาร ถึงแม้ว่าเจ้าของลายเซ็นจะยินยอม ก็ถือว่ามีความผิดทางกฎหมายเช่นกัน โดยบทลงโทษทางกฎหมายจะมีตั้งแต่จำคุก เสียค่าปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ

การปลอมลายเซ็นที่มีความผิดมีกี่ส่วน

การปลอมลายเซ็นแบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน ได้แก่ 

1.) ปลอมลายเซ็นโดยเจ้าของไม่ยินยอม 

2.) ปลอมลายเซ็นโดยที่เจ้าของยินยอม ซึ่งไม่ว่าจะกรณีใดหากมีองค์ประกอบความผิดครบ 3 ส่วน จะนับว่ามีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264-266 ทันที โดยจะประกอบไปด้วย ส่วนที่ 1 เซ็นลายมือชื่อคนอื่น ส่วนที่ 2 มีจุดประสงค์เพื่อให้คนอื่นหลงเชื่อ ส่วนที่ 3 คนอื่นได้รับความเสียหาย

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !

 


ความผิดฐานปลอมลายเซ็นมีอะไรบ้าง?

องค์ประกอบของความผิดฐานปลอมลายเซ็นมีดังนี้ 

1.) เอกสาร ที่เป็นกระดาษหรือวัสดุอื่น ๆ ที่ปรากฏข้อความไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข แผนผัง หรือแบบแผนอื่น ๆ ที่เขียนด้วยมือ พิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีการอื่นที่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ 

2.) เอกสารราชการ ที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้น หรือได้มีการรับรองในหน้าที่ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงเอกสารที่เป็นสำเนาด้วย 

3.) ลายมือชื่อ ไม่ว่าจะเป็นการเซ็นชื่อ พิมพ์ลายนิ้วมือ หรือตราประทับเครื่องหมายต่าง ๆ ที่สามารถเป็นตัวแทนลายมือชื่อได้

'อ่านคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องปลอมลายเซ็นพร้อมคำตอบจากทนายความตัวจริงได้ที่นี่'


3  การปลอมเอกสารมีกี่ประเภท มีโทษแตกต่างกันอย่างไร.png

การปลอมเอกสารมีกี่ประเภท มีโทษแตกต่างกันอย่างไร

การปลอมเอกสารมีทั้งหมด 3 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีบทลงโทษแตกต่างกันออกไป ได้แก่ 

1.) การปลอมเอกสารทั่วไป มีโทษตามมาตรา 264 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

2.) การปลอมเอกสารราชการหรือเอกสารสิทธิ มีโทษตามมาตรา 265 จำคุก 6 เดือน - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท 

3.) การปลอมเอกสารสิทธิที่เป็นเอกสารราชการ ,พินัยกรรม ,ใบหุ้นต่าง ๆ ,ตั๋วเงิน หรือบัตรเงินฝาก มีโทษตามมาตรา 266 จำคุก 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท


สรุปบทความ

เชื่อว่าคงมีหลายคนที่มองข้ามความสำคัญในการเซ็นชื่อบนเอกสาร อาจจะด้วยความเร่งรีบ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รับเซ็นชื่อแทนเจ้าของ แต่อย่าลืมว่าหากการเซ็นชื่อแทนครั้งนั้นเข้าข่ายความผิดครบทั้ง 3 ส่วนที่ได้กล่าวไปข้างต้น จะถือว่าเป็นการปลอมลายเซ็น เพื่อปลอมแปลงเอกสารทันที ดังนั้นก่อนที่จะเซ็นชื่อแทนใคร ไม่ว่าจะได้รับการยินยอมจากเจ้าของหรือไม่ก็ตาม ควรรู้ถึงความเสี่ยงที่จะได้รับ และสำหรับใครที่กำลังเผชิญกับปัญหาถูกปลอมลายเซ็น หรือรับเซ็นชื่อแทนโดยที่ไม่รู้ว่ามีความผิด หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE