เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-20

ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร?

ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) หมายถึง รูปแบบการประกอบธุรกิจที่เจ้าของธุรกิจหรือ "แฟรนไชส์ซอร์" (Franchisor) ตกลงให้บุคคลอื่นหรือ "แฟรนไชส์ซี" (Franchisee) ดำเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์ สินค้า บริการ และระบบการบริหารจัดการที่เหมือนกัน โดยแฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับแฟรนไชส์ซอร์

แม้ธุรกิจแฟรนไชส์จะมีคู่กับระบบเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยมายาวนาน แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่นำมาใช้บังคับแก่ธุรกิจแฟรนไชส์ แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจแฟรนไชส์ก็ถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งในทางปฏิบัติมักจะเรียกกันว่า “สัญญาแฟรนไชส์” จึงต้องอยู่ในบังคับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และอาจกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


2.png
การขยายแฟรนไชส์

กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ 

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าธุรกิจแฟรนไชส์หรือสัญญาแฟรนไชส์เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อสัญญาแฟรนไชส์ไม่ได้อยู่ในบังคับบรรพ 3 เอกเทศสัญญา ดังนั้นจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรม สัญญา และหนี้ โดยอาจนำมาบังคับใช้ในส่วนที่เกี่ยวกับการเกิดสัญญา การแสดงเจตนาของคู่สัญญา การตีความสัญญา ผลของสัญญา การผิดสัญญาและการบอกเลิกสัญญา

ตัวอย่างเช่น สัญญาแฟรนไชส์ที่มีข้อตกลงว่าต่างฝ่ายต่างต้องชำระหนี้ให้แก่อีกฝ่าย เช่น แฟรนไชส์ซีมีหน้าที่ต้องโอนเงินรายได้จากการขายสินค้าให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซอร์จะจ่ายเงินปันผลกำไรประจำเดือนและเงินส่วนแบ่งกำไรสะสมให้แฟรนไชส์ซี สัญญาแฟรนไชส์ดังกล่าวจะถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 ซึ่งหากฝ่ายใดไม่ชำระหนี้ของตน อีกฝ่ายก็ย่อมมีสิทธิไม่ชำระหนี้ของตนตอบแทนได้เช่นกัน (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9753/2551)

2. พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 

เมื่อสัญญาแฟรนไชส์เป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาสองฝ่าย โดยส่วนมากแฟรนไชส์ซอร์มักจะมีอำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจในการต่อรองที่มากกว่าแฟรนไชส์ซี นอกจากนี้บุคคลที่จะเข้าไปเป็นแฟรนไชส์ซีมักจะต้องยอมรับตามข้อตกลงในสัญญาและเงื่อนไขที่แฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้กำหนด โดยผู้เป็นแฟรนไชส์ซีอาจไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ ได้เลย ดังนั้น หากข้อสัญญาที่แฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้กำหนดขึ้น แฟรนไชส์ซอร์ได้เปรียบแฟรนไชส์ซีเกินสมควร หรือทำให้แฟรนไชส์ซีต้องรับภาระที่หนักเกินสมควร ข้อสัญญาดังกล่าวจึงต้องถูกบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 โดยกรณีเหล่านี้กฎหมายกำหนดให้สัญญามีผลบังคับใช้ได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น

3. กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา 

โดยปกติแล้วสัญญาแฟรนไชส์มักกำหนดให้แฟรนไชส์ซีต้องดำเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์ สินค้า บริการ และระบบการบริหารจัดการที่เหมือนกับแฟรนไชส์ซอร์ ดังนั้นสัญญาแฟรนไชส์จึงมีความเกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ และสิทธิบัตร

4. พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 

การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซีมักต้องดำเนินธุรกิจและบริหารจัดการให้เหมือนกับแฟรนไชส์ซอร์ ดังนั้นในส่วนของข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ เช่น สูตรอาหารและเครื่องดื่ม กรรมวิธีในการทำ วิธีปฏิบัติงานและบริหารจัดการ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป หรือบุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ เหล่านี้อาจถือเป็นความลับทางการค้าของแฟรนไชส์ซอร์

ที่แฟรนไชส์ซีผู้ได้รับอนุญาตจำต้องรักษาความลับทางการค้านั้นไว้ ซึ่งหากแฟรนไชส์ซีนำความลับดังกล่าวไปเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแฟรนไชส์ซอร์ ย่อมถือเป็นการกระทำละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าตามพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 แก่แฟรนไชส์ซอร์

 

 

5. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ขายสินค้าหรือการให้บริการ ย่อมต้องมีลูกค้าหรือผู้เข้าใช้บริการอันถือเป็นผู้บริโภค ดังนี้ผู้บริโภคจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

ผู้ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี จึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าวด้วย ตัวอย่างเช่น การโฆษณาสินค้าหรือบริการต้องไม่ใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือเกินจริง หรือการปิดฉลากสินค้าต้องไม่กระทำโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นต้น

อ่าน "กฎหมายการโฆษณา" เพิ่มเติมได้ที่นี่ !

6. พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 

การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า โดยทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีจะถูกควบคุมมิให้มีการใช้วิธีการที่กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า ถือว่าเป็นการผูกขาด การกระทำอันเป็นการใช้อำนาจเหนือตลาด กระทำการกีดกันการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น

7. กฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์นั้นโดยตรง

ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นเพียงการที่แฟรนไชส์ซอร์ยินยอมให้แฟรนไชส์ซีดำเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์ สินค้า บริการ และระบบการบริหารจัดการเหมือนกับตนเท่านั้น แต่หากพิจารณาถึงสินค้าหรือบริการของธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก็จำต้องพิจารณาถึงกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการนั้น เช่น หากเป็นธุรกิจเกี่ยวกับร้านอาหาร ก็ต้องถูกบังคับตามกฎหมายด้านสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 เป็นต้น

8. พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 

การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ย่อมถือเป็นการประกอบพาณิชยกิจอย่างหนึ่ง ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ในท้องที่ด้วย ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499

อ่านคำปรึกษาจริงเรื่อง "ธุรกิจแฟรนไชส์" พร้อมคำตอบจากทนายความ คลิกด้านล่าง !

Q: โดน หลอก จากเข้าของ แฟรนไชส์

Q: การยกเลิกสัญญาแฟรนไชน์


4.png
ธุรกิจแฟรนไชส์

กรณีศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย

กรณีศึกษา 1: ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารในประเทศไทย

กรณีศึกษานี้เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์อาหารชื่อดังรายหนึ่งที่เปิดขายอาหารและเครื่องดื่มในหลายสาขาทั่วประเทศ ภายใต้ข้อตกลงแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซี แฟรนไชส์ซอร์กำหนดว่าทุกสาขาต้องใช้วัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีแฟรนไชส์ซีบางรายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โดยไปจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งอื่นที่ราคาถูกกว่า ซึ่งทำให้คุณภาพอาหารลดลง

เมื่อแฟรนไชส์ซอร์ทราบเรื่อง ได้ดำเนินการตามข้อตกลงในสัญญาโดยการแจ้งเตือนและในที่สุดได้ยกเลิกสัญญากับแฟรนไชส์ซีที่กระทำผิด กรณีนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์และการรักษามาตรฐานของธุรกิจแฟรนไชส์

กรณีศึกษา 2: การใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในไทย ซึ่งมีแฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้ถือสิทธิในสูตรและแบรนด์ของเครื่องดื่ม แฟรนไชส์ซีได้รับสิทธิในการใช้สูตรและแบรนด์เพื่อดำเนินธุรกิจภายใต้ข้อตกลงว่าจะต้องไม่เปิดเผยสูตรเครื่องดื่มดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก

อย่างไรก็ตาม มีแฟรนไชส์ซีรายหนึ่งนำสูตรเครื่องดื่มไปเปิดเผยและใช้ในการเปิดร้านเครื่องดื่มที่ตนเป็นเจ้าของในชื่อใหม่ แฟรนไชส์ซอร์จึงดำเนินการฟ้องร้องในข้อหาละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และในที่สุดศาลได้ตัดสินให้แฟรนไชส์ซีจ่ายค่าปรับและยุติการใช้สูตรดังกล่าวในร้านของตน กรณีนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในธุรกิจแฟรนไชส์

กรณีศึกษา 3: กรณีแฟรนไชส์สถาบันการศึกษา

แฟรนไชส์สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีการตกลงให้แฟรนไชส์ซีดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรเดียวกันในหลายพื้นที่ โดยแฟรนไชส์ซอร์จะให้ความช่วยเหลือในด้านการฝึกอบรมครูและจัดหาเอกสารการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม แฟรนไชส์ซีบางรายพบปัญหาด้านการบริหารและการฝึกอบรมที่ไม่เป็นไปตามที่ตกลง

แฟรนไชส์ซอร์จึงดำเนินการตรวจสอบและพบว่ามีการละเมิดข้อตกลงในสัญญาหลายประการ ส่งผลให้สัญญาของแฟรนไชส์ซีเหล่านั้นถูกยกเลิก และแฟรนไชส์ซีบางรายถูกฟ้องร้องในข้อหาละเมิดสัญญา กรณีนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามมาตรฐานและการรักษาคุณภาพในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์

กรณีศึกษา 4: ธุรกิจแฟรนไชส์โรงแรม

แฟรนไชส์โรงแรมแห่งหนึ่งในไทยที่มีแฟรนไชส์ซอร์เป็นเจ้าของแบรนด์โรงแรมชื่อดัง ได้ให้แฟรนไชส์ซีดำเนินธุรกิจโรงแรมในภูมิภาคต่าง ๆ โดยมีการตกลงให้แฟรนไชส์ซีใช้ชื่อแบรนด์เดียวกันและปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด

แต่แฟรนไชส์ซีบางรายกลับไม่สามารถรักษามาตรฐานในการบริการและการดูแลรักษาสถานที่ได้ ส่งผลให้ลูกค้าร้องเรียนและทำให้ชื่อเสียงของแบรนด์เสียหาย แฟรนไชส์ซอร์จึงต้องเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหาด้วยการให้คำแนะนำและฝึกอบรมเพิ่มเติม กรณีนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษามาตรฐานและการติดตามผลในธุรกิจแฟรนไชส์

กรณีศึกษา 5: แฟรนไชส์ร้านค้าปลีก

แฟรนไชส์ร้านค้าปลีกแห่งหนึ่งในไทย มีการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว โดยแฟรนไชส์ซอร์ได้กำหนดข้อตกลงในสัญญาว่าแฟรนไชส์ซีต้องจัดทำรายงานยอดขายและการจัดการสต็อกสินค้าทุกเดือนเพื่อประเมินประสิทธิภาพและให้คำแนะนำ

มีแฟรนไชส์ซีรายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ทำให้แฟรนไชส์ซอร์ต้องเข้าไปตรวจสอบ พบว่ามีการละเมิดข้อตกลงและปัญหาด้านการจัดการสต็อกสินค้าที่ไม่เป็นระเบียบ แฟรนไชส์ซอร์จึงยกเลิกสัญญากับแฟรนไชส์ซีและฟ้องร้องในข้อหาละเมิดสัญญา กรณีนี้เน้นถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามข้อตกลงและการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

 

1.png


สรุป

กล่าวโดยสรุป การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ แม้จะไม่มีกฎหมายเฉพาะเข้ามาควบคุม แต่แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีก็คงมีความผูกพันกันในลักษณะสัญญารูปแบบหนึ่ง ซึ่งต้องมีหน้าที่และความรับผิดต่อกัน ตลอดจนต้องถูกบังคับตามบทกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสองฝ่าย และหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกระทำผิดสัญญาก็มีสิทธิถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้เช่นกัน หากต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกทางกฎหมาย สามารถปรึกษาผ่าน Legardy ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือคลิกที่นี่ !

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE