เผยแพร่เมื่อ: 2023-11-12
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยถูกคู่สัญญาผิดสัญญา เช่น ไม่ชำระหนี้ ไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ ฯ ซึ่งเพื่อน ๆ
หลายคนเลือกวิธีแก้ปัญหานี้โดยการไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ และผมก็เชื่อว่าหลาย ๆ ครั้งตำรวจมักไม่รับแจ้งความโดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งต้องไปฟ้องกันเอาเอง
วันนี้ผมจะมาอธิบายให้เพื่อน ๆ ฟังว่าฉ้อโกงทางอาญา กับผิดสัญญาทางแพ่งแตกต่างกันอย่างไร
ก่อนอื่นต้องท้าวความไปถึงเรื่องความรับผิดทางอาญาเสียก่อน โดยกฎหมายบอกว่าบุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดย "เจตนา" ใช่แล้วครับดังนั้นการจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้ต้องเป็นการกระโดยเจตนาที่จะฉ้อโกงนั่นเอง
แล้ว "เจตนา" ที่จะถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงเนี่ยมันมีลักษณะแบบไหนบ้างหล่ะ ?
1.จงใจที่จะไม่ทำตามสัญญา หรือจะไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่แรก ถือว่ามีเจตนาฉ้อโกง แต่หากมีการทำตามสัญญามาบ้างแล้วแบบนี้ก็จะเป็นผิดสัญญาทางแพ่ง
2.เคยมีการทำตามสัญญามาบ้างแล้ว แต่มีการกระทำลักษณะเดียวกันมาแล้วหลายครั้ง มีผู้เสียหายที่ถูกกระทำลักษณะเดียวกันมาแล้วหลายคนถือว่ามีเจตนาฉ้อโกง
นี่ก็เป็นหลักในการแบ่งแยกเรื่องฉ้อโกงกับผิดสัญญาทางแพ่งเบื้องต้น หวังว่าจะมีเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่จะสามารถนำไปปรับใช้แก้ปัญญาที่เกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อยครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ
ผู้เข้าชมเว็บไซต์ มากกว่า 2 ล้านคน
เรามีผู้ใช้บริการ มากกว่า 10,000 คน
เข้าถึงงานด้านกฎหมายจากทั่วประเทศ
ให้บริการจากที่ไหนก็ได้ ทุกที่ ทุกเวลา
เป็นช่องทางเสริมรายได้สำหรับทนายความ
การันตีมีผู้ใช้งานมากกว่าร้อยท่านต่อวัน
ใช้งานง่ายเพียงมีโทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์



