truth-concept-arrangement-crime-scene (1).jpg
เผยแพร่เมื่อ: 2023-08-24

ความผิดฐานฆ่าคนตายมีอะไรบ้าง?

วันนี้จะขออธิบายเกี่ยวกับความผิดฐานฆ่าคนตายสำคัญๆนะครับ ซึ่งความผิดแรกคือ “ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา” 


กฎหมายการฆ่าคนโดยเจตนา

ซึ่งได้บัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ว่า “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี” 

เป็นการฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาให้ถึงแก่ความตายโดยไม่จำกัดวิธี เช่น ใช้มีดฟัน ใช้ปืนยิง จุดไฟคลอกหรือใช้สัตว์ไปทำร้าย เป็นต้น โดยผู้กระทำความผิดต้องรู้สำนึกในการกระทำของตนรู้ว่าเป็นความผิดอาญาที่ทำให้คนที่ตนฆ่านั้นถึงแก่ความตายได้

การฆ่าตัวตายถือเป็นการฆ่าโดยเจตนาไหม ?

 การฆ่าคนตายในมาตรานี้ไม่รวมถึงการฆ่าตัวตาย เพราะกฎหมายมุ่งคุ้มครองผู้อื่นซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและผู้ที่ถูกฆ่าต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่ยังมีชีวิตอยู่ 

ตัวอย่างเช่น 

ก.จะฆ่า ข.จึงใช้ปืนยิง ข.แต่ความจริง ข.ตายไปก่อนที่ ก.จะยิงแล้ว ข.จึงไม่มีสภาพบุคคล ก.จึงไม่ผิดฆ่า ข.ตายตามมาตรา 288 นี้เพราะไม่มีบุคคลอื่นที่เป็นวัตถุแห่งการกระทำ 


การเจตนาฆ่าคนตายโดยฉกรรจ์

ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนายังมีการได้บัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289

ซึ่งเป็นเหตุฉกรรจ์อันทำให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้นมากกว่ามาตรา 288 ซึ่งมาตรา 289 

 

 

7 ประเภทของการเจตนาฆ่าคนตายโดยฉกรรจ์

1.ฆ่าบุพการี

การฆ่าบุคคลที่สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป พิจารณาว่าเป็นญาติผู้สืบสายโลหิตตามความเป็นจริง เช่น ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ (ไม่รวม ลุงป้าน้าอาและพี่น้อง) ความผิดฐานนี้ไม่รวมถึงการที่บุพการีฆ่าผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน) , 

2. ฆ่าเจ้าพนักงาน

ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำหรือได้กระทำการตามหน้าที่ กล่าวคือ (2) ต้องเป็นการฆ่าเจ้าพนักงานเพราะเรื่องที่เค้าจะกระทำหน้าที่ ได้ปฎิบัติหน้าที่ไปแล้ว หรือฆ่าเค้าขณะที่ปฎิบัติหน้าที่เช่น ก.เป็นโจรเห็น ร้อยตำรวจข.เป็นตำรวจจะจับตนจึงยิงข.ตาย ก.ต้องรับผิดตามมาตรา 289(2) การปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นต้องชอบด้วยกฎหมายด้วยและไม่เป็นการฆ่าเจ้าพนักงานเพราะเหตุส่วนตัว เช่น ร้อยตำรวจข.แย่งแฟนของ ก. ก.จึงฆ่า ข.เป็นต้น , 

3. ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน

ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว ซึ่งมาตรา 289(2) เป็นการฆ่าเจ้าพนักงานแต่ 289(3) เป็นการฆ่าผู้ให้ความช่วยเหลือเจ้าพนักงานกล่าวคือ เจ้าพนักงานต้องปฎิบัติหน้าที่ที่ชอบด้วยกฎหมายก่อนและคนที่ช่วยเจ้าพนักงานให้ปฎิบัติหน้าที่เพื่อให้ลุล่วงนั้นได้ถูกฆ่า เช่น ร้อยตำรวจ หนึ่ง ไล่จับนายสองเห็นนายสามเดินผ่านมาร้องขอนายสามให้ช่วยจับนายสองเพราะอยู่ใกล้มากกว่า นายสามจะไล่จับก็ถูกนายสองฆ่าตาย นายสองผิดฐานฆ่านายสามตามมาตรา 289(3)

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !

4.ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

(4)ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ให้พิจารณาว่าคนที่ฆ่าได้มีโอกาสคิดทบทวนก่อนที่จะฆ่าหรือไม่? ไม่ใช่ว่าฆ่าเค้าตายในทันทีทันใดเลย เช่น ดักซุ่มกลางทางรอฆ่า หรือเตรียมปืนจะไปยิง หรือ วางยาพิษใส่อาหารรอเค้ามากิน เป็นต้น ,

5. ฆ่าผู้อื่นโดยทรมาน

ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย หมายถึง การฆ่าโดยไม่ทำให้ตายในทันทีแต่ทำให้เค้าต้องเจ็บปวดทรมานอย่างโหดร้ายไร้ซึ่งศีลธรรม โดยพิจารณาว่าทารุณโหดร้ายหรือไม่จากความรู้สึกของคนทั่วไป เช่น ฆ่าโดยราดน้ำมันจุดไฟเผาให้ตายทั้งเป็น หรือตัดแขนตัดขากรีดเนื้ออกเป็นชิ้นๆจนเค้าตาย เป็นต้น , 

6.ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น , และ

7.ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์

ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่นหรือ เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือ เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ ขออธิบายว่า มาตรา 289(6)คือการฆ่าคนก่อนแล้วค่อยทำผิดอย่างอื่น แต่มาตรา 289(7) คือการทำผิดอย่างอื่นก่อนแล้วค่อยฆ่าคนทีหลัง

ตัวอย่างเช่น 

A เข้าไปในบ้าน B จะขโมยของเห็น Bนอนเฝ้าตู้เซฟเก็บเงินไว้ A จึงฆ่า B เจ้าของตู้เซฟก่อนเพื่อจะได้ไปเอาเงินได้ง่าย A จึงผิดตามมาตรา 289(6) กลับกัน!! ถ้า A เข้าไปขโมยของในบ้าน B ได้เรียบร้อย A กำลังจะหนีออกจากบ้าน B B เห็นหลังไวๆจึงไล่ตาม A ไม่ยอมหยุด เมื่อเห็นท่าไม่ดี A จึงชักปืนยิง B ตายก่อนเพื่อตนจะได้พาทรัพย์หนีไปได้อย่างนี้ A ก็ผิดตามมาตรา 289(7) 


การฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา

กฎหมายการฆ่าคนโดยไม่เจตนา

บัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรกที่บัญญัติว่า 

“ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี”  

หมายความว่า ผู้กระทำมีเจตนาเพียงแค่ทำร้ายร่างกายเท่านั้น แต่ผลจากการทำร้ายกลับเป็นพลั้งมือฆ่าผู้นั้นจนตาย 

เจตนาฆ่ากับทำร้ายพิจารณาจากอะไร? หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !

ตัวอย่างการฆ่าคนโดยไม่เจตนา

 A ไม่พอใจ B จึงต่อย B อย่างแรกที่แก้ม(ถือว่ากล้ามีเจตนาทำร้าย B ) แต่ A คงหมัดหนักไปหน่อยเพราะหลังถูกต่อยนั้น B ล้มลงอย่างแรงหัวฟาดพื้นตาย อย่างนี้ก็เป็นการฆ่าก้าวโดยไม่เจตนา A ต้องรับผิดตามมาตรา 290 วรรคแรก

ไม่เจตนาฆ่าแต่ว่าผู้เสียหายตาย

และมาตรา 290 วรรคสองเป็นการกระทำความผิดประเภทที่อยู่ในมาตรา 289 หมายความว่า ผู้กระทำมีเจตนาทำร้ายและผลจากการทำร้ายมีคนตายโดยที่คนตายนั้นเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามมาตรา 289(1)-(7)  

ตัวอย่างเช่นการไม่เจตนาฆ่าแต่ว่าผู้เสียหายตาย

 A คิดว่าจะดักทำร้าย B จึงพกมีดติดตัวไปพอเจอ B จึงใช้มีดกรีดแขนของ B หนึ่งที เห็นได้ว่า A มีเจตนาเพียงทำร้าย B เท่านั้น โดย A ได้มีโอกาสคิดทบทวนในการกระทำความผิดซึ่งเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อนอันเข้าลักษณะความหมายของมาตรา 289(4) แล้วหลังจากนั้น แผลที่แขนของ B ติดเชื้อบาดทะยักรุนแรงและ B ถึงแก่ความตาย ดังนั้น  A จึงผิดฐานทำร้ายใจจนเป็นเหตุให้ B ถึงแก่ความตายอันเป็นการทำร้ายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จอมต้องรับโทษตามมาตรา 290 วรรคสอง เป็นต้น

หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

 

Image by Freepik
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.