ทุกเรื่องที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับทะเบียนบ้าน: ความหมาย การย้าย และการจัดการเมื่อทะเบียนบ้านหาย
ทะเบียนบ้านหมายความว่าอะไร?
ตามนิยามของกรมการปกครอง ทะเบียนบ้านคือ เอกสารที่ใช้แสดงเลขประจำตัวของแต่ละบ้าน รวมทั้งรายชื่อของผู้อยู่อาศัย(เจ้าบ้านและลูกบ้าน)ภายในบ้านหลังนั้นๆ บ้านหนึ่งหลังนั้นจะมีจำนวนคนอาศัยอยู่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของบ้านนั้น ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข 2535 กำหนดไว้ว่า ตามพื้นที่ที่วัดในทะเบียนบ้าน 3ตารางเมตรจะอยู่อาศัยได้ 1คน
1.การย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม
เจ้าบ้านต้องแจ้งย้ายออกภายใน 15วัน หลังจากได้ย้ายออกจากบ้านหลังเดิมแล้ว โดยให้เตรียมเอกสารไปดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
- บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
- บัตรประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
- บัตรประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง
3ขั้นตอนในการย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม
1. ยื่นเอกสารและหลักฐานที่เตรียมไว้ต่อนายทะเบียน ตามท้องที่ของทะเบียนบ้านเดิม
2. นายทะเบียนตรวจสอบเอกสาร หากครบถ้วน นายทะเบียนจะประทับคำว่า "ย้าย" ให้ที่หน้าเอกสาร
3. นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้ง พร้อมมอบเอกสารในการแจ้งย้ายเข้าต่อไป
เซ็นรับรองสำเนาอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ถูกสวมรอย หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !
2.เมื่อย้ายออกจากบ้านหลังเดิมแล้ว ให้ย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่
ให้เตรียมเอกสารเพื่อเตรียมการย้ายเข้าบ้านหลังใหม่ ดังนี้
1.สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
2.บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน
3.ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) ซึ่งเจ้าบ้านนั้นได้เซ็นยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว
4.หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
5.กรณีได้รับมอบอำนาจ ให้เตรียมบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
6.ค่าใช้จ่ายสำหรับค่าธรรมเนียมในการย้ายเข้าทะเบียนบ้าน
- น้อยกว่า 6เดือน ค่าธรรมเนียมย้ายเข้าครั้งละ 30บาท
- เกิน6เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี ค่าธรรมเนียมย้ายเข้าครั้งละ 50บาท
- เกินหนึ่งปี ค่าธรรมเนียมย้ายเข้าจะอยู่ระหว่าง 50-500 บาท ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
สำหรับขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่ มี 2 ขั้นตอน
1. ยื่นติดต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่ต้องการจะย้ายเข้า
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และนายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
3.การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
แต่ถ้าชอบความสะดวกรวดเร็ว สามารถแจ้งย้ายออกจากบ้านหลังเดิมและย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ในท้องที่ใหม่ได้ภายในเวลาเดียวกัน
โดยให้เตรียมเอกสารไปดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
- บัตรประชาชนของผู้แจ้งย้าย
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
- หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายได้)
- หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมด้วยสำเนาบัตรดังกล่าวที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ
ไขข้อข้องใจเป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง ถ้ามีหลายหลังต้องทำอย่างไร อ่านได้ที่นี่ !
ทะเบียนบ้านหายทำอย่างไร ?
ทะเบียนบ้านหายต้องทำทะเบียนบ้านใหม่ให้ไปแจ้งต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่บ้านหลังนั้นตั้งอยู่ และใช้หลักฐานเพียงอย่างเดียวคือ บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน เพื่อทำการขอทะเบียนบ้านใหม่ อาจจะแจ้งความหรือไม่แจ้งความก็ได้แต่เพื่อความสบายใจสามารถแจ้งความได้เช่นกันเพื่อป้องกันมิจฉาชีพนำไปสวมรอย แต่หากเจ้าบ้านไม่สะดวกไปดำเนินการด้วยตนเอง ก็สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำแทนได้ แต่ถ้ามีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำแทน จะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
- หนังสือมอบอำนาจ
- บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน
- บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
ทะเบียนบ้านหายแต่ไม่มีเจ้าบ้านทำอย่างไร ?
หากไม่มีเจ้าบ้าน ไม่ว่าจะเกิดจากกรณีใดก็ตามเช่นเจ้าบ้านเสียชีวิต ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านดำเนินเรื่องแทนได้ครับ เจ้าของบ้านตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอำนาจใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ปล่อยเช่า ได้ดอกผลจากการติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนรวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบกฎหมาย
ทะเบียนบ้านหายแจ้งที่ไหน ?
- หากทะเบียนบ้านนั้นตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ให้ไปทำการยื่นขอรับทะเบียนบ้านใหม่ได้ที่สำนักงานเขต ของทะเบียนบ้านนั้นตั้งอยู่
- หากทะเบียนบ้านนั้นตั้งอยู่ที่ต่างจังหวัด ท่านจะสามารถเข้าไปยื่นคำร้องได้ที่ ที่ว่าการอำเภอ ที่เจ้าบ้านมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน
ดูคำปรึกษาทนายความและคำตอบจริงเรื่อง "ทะเบียนบ้าน" ได้ที่นี่
Q: ต้องการทะเบียนบ้านใหม่โดยลูกเป็นเจ้าบ้าน
Q: สอบถามเรื่องย้ายทะเบียนบ้าน
Q: ต้องการทะเบียนบ้านใหม่โดยลูกเป็นเจ้าบ้าน
การขอเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน
การขอเป็นเจ้าบ้านนั้นง่ายนิดเดียว ให้เตรียมเอกสารไปดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ท.ร.14
- หนังสือยินยอมของบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน กรณีให้บุคคลเป็นเจ้าบ้าน
เมื่อเตรียมเอกสารตามข้างต้นครบแล้วให้ไปติดต่อด้วยตนเองที่สำนักทะเบียนของท้องถิ่นนั้นๆ และรอฟังผลการพิจารณาได้เลยครับ
คำถามที่พบเจอบ่อยเรื่องทะเบียนบ้าน
1.คำถาม : ย้ายทะเบียนบ้าน เจ้าตัวต้องไปไหม
หากเจ้าบ้านสะดวกการไปทำด้วยตนเองจะใช้เอกสารน้อยกว่าครับ แต่ก็สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำแทนได้เช่นกัน
2.คำถาม : ทะเบียนบ้านไม่มีเจ้าบ้านได้ไหม
ได้ครับ แต่หากต้องการดำเนินการใดๆเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน จะต้องให้เจ้าของบ้าน เป็นคนดำเนินการแทนซึ่งอาจจะใช้เอกสารเยอะ และสร้างขั้นตอนที่มากเกินไปได้
3.คำถาม : รหัสประจําบ้าน คืออะไร?
คือเลขรหัส 11 หลัก ที่แสดงถึงการถือครองที่อยู่อาศัยอย่างถูกต้องตามกฎหมายของเจ้าของบ้าน โดยรหัสประจำบ้านจะระบุอยู่ใน “สมุดทะเบียนบ้าน” ทุกๆ หน้า
คลิกเพื่อดู บทความทั้งหมด, คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบ, มาตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง "ทะเบียนบ้าน" !
สรุป
การทำเอกสารที่เกี่ยวกับบ้านนั้น การที่มีเจ้าบ้าน เจ้าบ้านจะถือเป็นคนจัดการเอกสารราชการทั้งหมด แต่ก็ไม่ต้องมีเจ้าบ้านได้เช่นกัน เพื่อความสะดวกการที่มีเจ้าบ้านจะทำให้สะดวกต่อการติดต่อราชการได้มากกว่าครับ หากกำลังมีปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับบ้าน การปรึกษาทนายผ่าน Legardy สามารถทำให้คุณอุ่นใจขึ้นได้ครับ และที่สำคัญปรึกษาได้ตลอด 24ชั่วโมง !