เผยแพร่เมื่อ: 2024-01-15

ไขข้อข้องใจเป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง ถ้ามีหลายหลังต้องทำอย่างไร

คำว่า “เจ้าบ้าน” และ “เจ้าของบ้าน” ที่ถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้านนั้นมีความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไร สำหรับคนที่กำลังมีข้อข้องใจว่าด้วยเรื่องของทะเบียนบ้าน และเกิดข้อสงสัยว่าเราสามารถเป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับอำนาจกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร 2538 ผ่านทางบทความนี้ได้


เจ้าบ้านและเจ้าของบ้านคือใคร ต่างกันอย่างไร

หากสังเกตทะเบียนบ้านหลายคนคงจะเห็นในทะเบียนบ้านแล้วว่า ในทะเบียนบ้านนั้นจะมีคำว่า “เจ้าบ้าน” ปรากฏอยู่ภายในเล่มทะเบียนบ้านด้วย ซึ่งคำว่าเจ้าบ้านในที่นี้นั้นอาจไม่ได้หมายถึง “เจ้าของบ้าน” เสมอไป ซึ่งจะมีความเหมือนและมีความแตกต่างกันอยู่ และหลายคนยังเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจกรรมสิทธิ์อยู่มากเลยทีเดียว โดยทั้งสองสิ่งนี้มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไรบ้างนั้น สามารถทำความเข้าใจตามที่ได้มีการอธิบายไว้ดังนี้

2. เจ้าบ้านและเจ้าของบ้านคือใคร ต่างกันอย่างไร.png


เจ้าบ้าน

เจ้าบ้าน กล่าวคือ ผู้ที่ซึ่งเป็นหัวหน้าและมีการครอบครองบ้านในฐานะเจ้าของ, ผู้เช่า หรืออื่นๆ ในกรณีที่ทะเบียนบ้านนั้นไม่มีเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งให้เป็นเจ้าบ้านเกิดเสียชีวิต ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและถูกแต่งตั้งให้มีหน้าที่ดูแลบ้าน สามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนในทะเบียนบ้านนั้นได้ และผู้ที่เป็นเจ้าบ้านสามารถเป็นคนเดียวกับเจ้าของบ้านได้ด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกรณีการเป็นเจ้าบ้านจะแตกต่างกันกับการเป็นเจ้าของบ้านอยู่

เจ้าของบ้าน

เจ้าของบ้าน กล่าวคือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ซึ่งมีชื่ออยู่ในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย โดยมีหน้าที่ว่าด้วยตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้ที่มีสิทธิ์ที่จะทำการ ขายและโอน บ้านหรือที่ดินหลังนั้นๆ ทั้งนี้สามารถที่จะทำการโอนถ่ายบ้านและที่ดินให้แก่ลูกหลานให้มาเป็นเจ้าของบ้านได้ และผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านสามารถเป็นคนเดียวกับเจ้าบ้านได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเจ้าของบ้านนั้นจะมีบ้านกี่หลังก็ได้เป็นอีกหนึ่งความแตกต่างระหว่างเจ้าของบ้านและเจ้าบ้าน

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !


เป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง

ในกรณีที่มีบ้านหลายหลัง เจ้าของบ้านเป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง ว่าด้วยเรื่องของกฎหมาย สามารถที่จะมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านมากกว่า 1 หลังได้ แต่ไม่สามารถมีชื่อเป็นเจ้าบ้านมากกว่า 1 หลังได้ เนื่องจากในทะเบียนราษฎรนั้นมีการกำหนดเอาไว้ว่า บุคคลหนึ่งสามารถที่จะมีภูมิลำเนาได้เพียงภูมิลำเนาเดียวเท่านั้น เนื่องจากอาจมีการกระทบต่อบัญชีรายชื่อของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จึงเป็นเหตุผลว่าเพราะเหตุใดเจ้าของบ้านจึงไม่สามารถที่จะมีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทุกๆ หลังได้ สำหรับผู้ที่มีบ้านหลายหลังสามารถทำการแต่งตั้งเจ้าบ้านขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แทนตนเอง

 


สิทธิของเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านมีอะไรบ้าง

3. สิทธิของเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านมีอะไรบ้าง.png

ผู้ที่มีหน้าที่เป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ทะเบียนราษฎร กล่าวคือ สามารถทำการแจ้งเกิดคนในบ้านได้, แจ้งคนตายในบ้านได้, แจ้งคนย้ายเข้าได้, แจ้งคนย้ายออกได้, ขอบ้านเลขที่ได้ และสร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอนได้ เป็นต้น โดยในกรณีของการแจ้งเกิด แจ้งย้ายเข้าหรือออก แจ้งสร้างบ้านใหม่ รื้อถอน และการขอบ้านเลขที่ สามารถกระทำการแจ้งได้ภายใน 15 วัน แต่ในกรณีแจ้งตาย ต้องกระทำการภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น หากไม่มีการแจ้งตามเวลาหรือไม่มีการปฏิบัติตามจะต้องมีการเสียค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท


สรุปบทความ

ตามที่ได้มีการกล่าวในข้างต้น ผู้ที่กำลังสนใจเกี่ยวกับการลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์ หรือผู้ที่มีบ้านหลายหลัง และกำลังสับสนเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของบ้านและการเป็นเจ้าบ้าน หรือสงสัยว่าเราสามารถเป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง บทความนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว ว่าด้วยเจ้าของบ้านที่มีบ้านหลายหลังนั้นสามารถที่จะมีชื่อเป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง และหากมีบ้านหลายหลังจะต้องทำอย่างไร วิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง คงจะได้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องที่มีการสงสัยกันอย่างครบถ้วนแล้ว หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.