เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-07

วิธีการทวงหนี้อย่างถูกกฎหมาย ทำอย่างไรให้ได้เงินคืน

เมื่อมีการกู้ยืมเงินกัน หากลูกหนี้ละเลยไม่ยอมชำระหนี้ของตน ก็ต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ที่ต้องที่ต้องทวงถามหนี้นั้น ซึ่งมักเกิดปัญหาที่เจ้าหนี้ทวงหนี้โดยใช้ความรุนแรงหรือข่มขู่ลูกหนี้ให้เกิดความหวาดกลัว ต่อมาจึงมีกฎหมายบัญญัติมาเพื่อควบคุมการทวงหนี้ของเจ้าหนี้ไว้ เพื่อป้องกันเจ้าหนี้ทวงหนี้ที่รุนแรงเกินสมควรจนกระทบแก่สิทธิของลูกหนี้ ดังนั้น ในบทความนี้ทนายจะมาแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติการทวงหนี้ พ.ศ. 2558

'เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์อะไรของลูกหนี้ได้บ้าง คลิกเลยเพื่อหาคำตอบ!'


1.png

 

บุคคลใดบางที่จะทวงถามหนี้ได้ ?

พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ได้กำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้สามารถที่จะทวงหนี้ได้

1. ตัวเจ้าหนี้เอง ไม่ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เช่น เป็นเจ้าหนี้พนัน รวมถึงผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ให้ทวงหนี้ด้วย

2. ผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างทวงหนี้ กล่าวคือ เป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ที่ได้มีการจดทะเบียนธุรกิจต่อนายทะเบียน และรวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ด้วย

3. เจ้าหน้าที่ของรัฐ เฉพาะกรณีที่ตนเป็นเจ้าหนี้ หรือเป็นหนี้ของสามีหรือภรรยา พ่อแม่ หรือลูก หรือเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย (พระราชบัญญัติการทวงหนี้ มาตรา 14)

และถ้าหากคุณเป็นเจ้าหนี้  > เจ้าหนี้ต้องอ่าน! หนังสือทวงถามหนี้ ช่วยทวงหนี้ไม่ให้ผิดกฎหมาย

 


ข้อปฏิบัติในการทวงถามหนี้จากลูกหนี้

1. ห้ามทวงหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวลูกหนี้ เว้นแต่ เป็นบุคคลที่ลูกหนี้ระบุให้ทวงถามได้ โดยในกรณีที่ต้องติดต่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้ ผู้ทวงถามหนี้จะกระทำได้เพียงเพื่อสอบถามหรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ระบุไว้ และมีวิธีปฏิบัติในการสอบถาม ดังนี้

1.1 ผู้ทวงถามหนี้ต้องแสดงตัว แจ้งชื่อ-นามสกุล พร้อมบอกว่าต้องการสอบถามข้อมูลจากเขาเพื่อติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้

1.2 ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลการเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้บุคคลนั้นทราบ เว้นแต่ บุคคลนั้นเป็นสามี ภรรยา พ่อแม่ หรือลูกของลูกหนี้ และหากบุคคลดังกล่าวสอบถามถึงสาเหตุที่มาติดต่อผู้ทวงถามหนี้สามารถบอกได้เท่าที่จำเป็นและเหมาะสมเท่านั้น

1.3 ห้ามกระทำการใด ๆ ซึ่งทำให้บุคคลอื่นนั้นเข้าใจได้ว่าเป็นการมาติดต่อเพื่อทวงถามหนี้

1.4 ห้ามหลอกลวงหรือทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด เพื่อให้ได้ข้อมูลของลูกหนี้

'อ่านด่วน !  10 ข้อห้ามในการทวงหนี้' 

 

อ่านคำปรึกษาจริงจากกรณีเจ้าหนี้โดนลูกหนี้ฟ้อง

Q: ถูกลูกหนี้ฟ้องหมิ่นประมาท

Q: ลูกหนี้เแจ้งความเจ้าหนี้ แต่เจ้าหนี้ยังไม่ได้ประจานหรือทำอะไรลูกหนี้ มีความผิดไหม

 

2. การทวงถามลูกหนี้ ต้องติดต่อตามสถานที่ที่ให้ไว้ และในเวลาดังต่อไปนี้

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-20.00 น.

วันหยุดราชการ เวลา 08.00-18.00 น.

หากผู้ทวงถามหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้ตามที่อยู่หรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ลูกหนี้ให้ไว้ได้ ผู้ทวงถามหนี้สามารถติดต่อไปยังที่ทำงานหรือบุคคลใกล้ชิดเพื่อสอบถามข้อมูลการติดต่อลูกหนี้เท่านั้น แต่ห้ามเปิดเผยการเป็นหนี้ของลูกหนี้เด็ดขาด !!!

3. ห้ามทวงถามหนี้ลูกหนี้เกิน 1 ครั้งต่อวัน

4. หากเป็นกรณีผู้รับมอบอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงให้ทวงหนี้ ต้องแจ้งให้ทราบถึงชื่อสกุลตนเอง จำนวนหนี้ ทั้งต้องแสดงหลักฐานด้วยว่าตนเองได้รับมอบอำนาจมาให้ทวงหนี้ด้วย

'เคลียร์ให้ชัด! ลูกหนี้ไม่จ่ายหนี้ แจ้งความได้ไหม? อ่านเลย คลิก!'


ข้อห้ามปฏิบัติในการทวงหนี้ของผู้ทวงถามหนี้ (พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มาตรา 11)

1. ห้ามข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น 

'5 ตัวอย่างจริงเกี่ยวกับการข่มขู่ลูกหนี้'

2. ห้ามพูดทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น

3. ห้ามเปิดเผยความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้ผู้อื่นทราบ

4. ห้ามทวงหนี้ผ่านไปรษณีย์ เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใด โดยมีข้อความแสดงการทวงหนี้ชัดเจน

5. ห้ามระบุข้อความ เครื่องหมาย หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายที่สามารถทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้

6. ห้ามทวงหนี้โดยการหลอก หรือทำให้เข้าใจผิด ดังนี้

6.1 ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ เช่น ส่งเอกสารที่มีตราครุฑมาให้ลูกหนี้

6.2 ทำให้เชื่อว่ามีการส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามจากทนายความ

'หนังสือบอกกล่าวทวงถามคืออะไร หาคำตอบได้ที่นี่!'

6.3 ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าจะถูกดำเนินคดี หรือถูกยึดทรัพย์ (เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์อะไรได้บ้าง คลิกเลย!)

6.4 แอบอ้างว่าเป็นการทวงหนี้จากบริษัทข้อมูลเครดิตใด ๆ

7. ห้ามกระทำการทวงถามหนี้โดยไม่เป็นธรรม ดังนี้

7.1 เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ในอัตราเกินกว่าที่กำหนด

7.2 เสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าลูกหนี้ไม่มีเงินชำระหนี้ตามเช็คได้

'ลูกหนี้หาย อย่าพึ่งรีบด่า ! อ่านคำแนะนำจากทนาย Legardy'


การกระทำของผู้ทวงถามหนี้ที่ขัดต่อพระราชบัญญัติและข้อห้ามดังกล่าว ถือเป็นความผิดตามกฎหมายและแต่ฐานความผิดมีระวางโทษที่แตกต่างกัน ดังนั้น เจ้าหนี้หรือผู้ทวงถามหนี้ควรศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการทวงถามหนี้ให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ตนมีความผิดตามกฎหมาย

2.png

 

หากเจ้าหนี้หรือผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้โดยขัดต่อกฎหมาย

1. ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นที่ถูกทวงถามหนี้ สามารถไปแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหนี้หรือผู้ทวงถามหนี้ ตามความในพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ได้

2. ร้องเรียนต่อคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัดได้

3. เนื่องจากความผิดตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 เป็นคดีอาญาที่ไม่สามารถยอมความได้ ตำรวจจะต้องส่งยื่นต่อศาลหรือให้ทางคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัดสั่งเปรียบเทียบปรับ

อ่าน 30 เคสตัวอย่างคำปรึกษาจริงของกรณีเจ้าหนี้ละเมิดทางกฎหมาย 


การทวงถามหนี้ผ่านทางสื่อ Social Media เช่น Facebook ผิดต่อกฎหมายหรือไม่ ?  

การโพสต์ทวงถามหนี้ไม่ว่าจะผ่านสื่อออนไลน์ประเภทใด อันทำให้บุคคลที่รู้จักของลูกหนี้หรือบุคคลทั่วไปอาจจะเข้ามาเห็นหรือแสดงความคิดเห็นในโพสต์นั้นๆ ได้ ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มาตรา 11(3) เพราะถือว่าเป็นการเปิดเผยความเป็นหนี้ของลูกหนี้แล้ว

นอกจากนั้น การโพสต์ข้อความทวงหนี้บนสื่อทางสังคมออนไลน์ อาจมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ 328 ด้วย และแม้เจ้าหนี้จะได้ลบข้อความหรือโพสต์ ทิ้งไป ก็ถือว่าได้กระทำความผิดสำเร็จแล้ว อย่างไรก็ดี การลบข้อความนั้น ก็อาจเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการขอลดโทษได้

แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้ยังคงสามารถทวงหนี้โดยการส่งข้อความแบบส่วนตัวถึงลูกหนี้หรือส่งอีเมลล์ได้ แต่ต้องทักไปทวงถามหนี้ในช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย

แม้พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 จะออกมาเพื่อคุ้มครองลูกหนี้ และป้องกันไม่ให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้ที่รุนแรงเกินสมควร แต่เมื่อลูกหนี้เป็นหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ด้วย มิฉะนั้น ลูกหนี้อาจถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดีต่อศาล และยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ได้

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !


 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE