
สิ่งที่ต้องทำเมื่อได้รับหมายเรียกจากคุณตำรวจ
การออกหมายเรียกของตำรวจนั้นทำไปเพื่อประโยชน์ในการสอบสวนคดีอาญาโดยพนักงานสอบสวนสามารถออกหมายเรียกบุคคลใดก็ได้ที่เห็นว่าคำให้การของเขาจะเป็นประโยชน์แก่คดีนั้น ๆ มาให้การก็ได้เพื่อน ๆ จึงต้องสังเกตุในหมายว่าต้องการให้เพื่อน ๆ ไปให้การในฐานะอะไร
ประเภทของหมายเรียก
หมายเรียกในฐานะพยาน
หมายเรียกประเภทนี้ จะใช้เรียกได้ทั้งพยาน และบุคคลที่สงสัยว่ากระทำความแต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดก็ได้ หากไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เพื่อน ๆ ก็อาจมีความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา
ดูคำปรึกษาจริง กรณีที่ถูกออก "หมายเรียกฐานะพยาน" พร้อมคำตอบจากทนายความ ได้ที่นี่
Q: โดนหมายเรียกพยานแล้วเราไม่สะดวกต้องทำอย่างไร?
Q: โดนหมายเรียกฐานะพยานให้ปากคำ
หมายเรียกในฐานะผู้ต้องหา
หมายเรียกประเภทนี้หากเพื่อน ๆ ไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุอันสมควรนอกจากจะมีความผิดอาญาแล้ว พนักงานสอบสวนก็จะดำเนินการขอให้
ศาลออกหมายจับเพื่อนำตัวมาทำการสอบสวนได้
Q: หมายเรียกผู้ต้องหา ครั้งที่1 คดีความอาญา
Q: โดนญาติเอาเปรียบทั้งทีคดียังไม่จบยังอยู่ขั้นตอนเรียกผู้ต้องหาครั้ง 2
'ไขข้อสงสัย ทำไมไปแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ดำเนินการให้ ?'
สิ่งที่คุณควรทำ
ดังนั้นเมื่อเราได้รับหมายเรียกแล้วเราควรจะให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนโดยการไปให้ปากคำตามหมายเรียก
หากเรามั่นใจว่าไม่ได้กระทำความผิดก็ให้ชี้แจงไปตามข้อเท็จจริงและเตรียมหลักฐานประกอบข้ออ้างของเราในการชี้แจงกับพนักงานสอบสวน
แต่หากเรารู้ตัวว่ากระทำความผิดจริงก็ควรจะเตรียมตัวชี้แจงข้อเท็จจริงต่าง ๆ
เกี่ยวกับคดีและเตรียมหลักประกันหากต้องการประกันตัวเพื่อสู้คดีในชั้นสอบสวนต่อไป โดยในสอบปากคำ
'แล้วหลักการขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมีหลักการอย่างไร? อ่านได้ที่นี่'
พนักงานสอบสวนก็ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน และเงื่อนไขที่กฎหมาย และหากเป็นการให้การในฐานะผู้ต้องหา
ผู้ต้องหาก็มีสิทธิให้ทนายความเข้าร่วมรับฟังเพื่อเป็นการรักษาประโยชน์ของตัวเองได้อีกทางหนึ่ง
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



