เผยแพร่เมื่อ: 2024-01-23

หนังสือบอกกล่าวทวงถามใช้สำหรับอะไรบ้าง?

33.jpg

ในการทำธุรกรรมใด ๆ ที่เป็นสัญญาผูกพันที่ใช้เวลานาน ๆ ระหว่างบุคคล หรือนิติบุคคล เมื่อผ่านระยะเวลาไปนาน ๆ ก็อาจมีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสัญญา หรืออาจมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ทำตามข้อตกลงที่ให้ต่อกันไว้ ซึ่งการทวงถาม หรือติดตามด้วยปากเปล่าเพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่เพียงพอ จำเป็นต้องนำเอกสารมาช่วยดำเนินการ ซึ่งเอกสารที่นิยมใช้คือหนังสือบอกกล่าวทวงถามนั่นเอง แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าจะใช้งานอย่างไรบ้าง หรือต้องมีรายละเอียดใดบ้างในเอกสารนี้

'อ่านด่วน! เซ็นชื่อในเอกสารอย่างไรให้รอบคอบและปลอดภัย'

หนังสือบอกกล่าวทวงถาม คือ

หนังสือบอกกล่าวทวงถาม คือเอกสารหลักฐานที่ส่งไปให้อีกฝ่ายปฏิบัติตามหน้าที่ หรือสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น ขอให้ติดต่อกลับเพื่อเจรจาการชำระหนี้ ขอให้ชำระหนี้ หรือขอให้หยุดการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ออกเอกสาร เช่น ขอให้หยุดโพสต์หมิ่นประมาท เป็นต้น หรือส่งเพื่อแจ้งเจตนาในการบอกเลิกสัญญา เช่น การยกเลิกสัญญาเช่า การยกเลิกสัญญาจ้างทำของ ภายในกำหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติที่ระบุไว้ชัดเจน อาจกำหนดเป็น 7 วัน 15 วัน หรือ 1 เดือน ก็ได้ ซึ่งหากอีกฝ่ายไม่ทำตามที่ระบุเอาไว้ในเอกสารสามารถ ผู้ออกเอกสารก็จะสามารถดำเนินการตามกฎหมายต่อไปได้

อ่านมากกว่า 10คำปรึกษาจริง ในเรื่องการออกหนังสือทวงถามหนี้

Q: ต้องการเขียนหนังสือทวงถามหนี้ค่ะ

Q: อยากสอบถามเกี่ยวกับการทำหนังสือทวงถามหนี้ค่ะ

หนังสือบอกกล่าวทวงถามใช้เมื่อใด และสำหรับสถานการณ์ใดบ้าง

  1. การส่งเอกสารก่อนที่จะมีการฟ้องร้องเป็นคดีแพ่ง เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม และเพื่อให้มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีการแจ้งบอกกล่าวกันแล้วจริง ๆ
  2. การส่งเอกสารเพื่อป้องกันปัญหา เช่นในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญา การบอกกล่าวด้วยเอกสารนี้ก็จะช่วยป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้
  3. การส่งเอกสารเพื่อแจ้งถึงผลกระทบ และแนวทางในการแก้ปัญหา เช่น ในกรณีคดีหมิ่นประมาท เพื่อให้เรื่องไม่ต้องถึงชั้นศาล ในขณะเดียวกันก็เพื่อหยุดความเสียหายที่เกิดขึ้นอีกด้วย

'อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับหนังสือทวงถาม(Notice) ได้ที่นี่'

 

ประโยชน์ของหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

  1. แจ้งให้อีกฝ่ายรู้ว่ามีหน้าที่อะไร เช่น ต้องชำระหนี้เท่าไหร่ มีเบี้ยปรับ (ค่าปรับ) หรือไม่ และมีดอกเบี้ยยังไง
  2. แจ้งให้อีกฝ่ายรับรู้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น
  3. ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปหาคู่กรณี และลดการปะทะคารมระหว่างกัน
  4. ลดค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางไปหาคู่กรณี
  5. ไม่ต้องกังวลว่าคู่กรณีจะรับรู้หรือไม่ เพราะเป็นการส่งเอกสารให้รับ และแม้ว่าคู่กรณีจะอ้างว่าไม่ได้รับเอกสาร แต่ตามกฎหมายก็ถือว่า “ได้รับทราบแล้ว” ตามหลักกฎหมายปิดปาก (Estoppel)
  6. เป็นการเพิ่มโอกาสให้คู่กรณี ซึ่งหากคู่กรณีไม่ยอมปฏิบัติตามก็ไม่จำเป็นต้องฟ้องศาล
  7. ใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาล และทำให้เกิดผลทางกฎหมายต่อไป

'อยากรู้ต้องอ่าน! ทวงถามหนี้ยังไงให้ไม่ผิดกฎหมาย'

34.jpg

รายละเอียดที่ต้องระบุเอาไว้ในหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

  1. ชื่อเอกสารบอกกล่าวทวงถาม
  2. สถานที่ที่จัดทำเอกสาร
  3. วัน เดือน ปี ที่จัดทำเอกสาร
  4. ชื่อเรื่อง (ต้องสอดคล้องกับเนื้อหาในเอกสารบอกกล่าวทวงถาม)
  5. เรียน คุณ (ชื่อลูกหนี้ หรือบุคคลที่ต้องการบอกกล่าว)
  6. อ้างถึง (นิติกรรมสัญญา หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง)
  7. เนื้อหา (โดยทั่วไปมี 2 หรือ 3 ย่อหน้า แล้วแต่กรณี)
  • ย่อหน้าแรก เนื้อหาบรรยายนิติสัมพันธ์
  • ย่อหน้าที่ 2 ลูกหนี้ หรือบุคคลที่ถูกบอกกล่าวในเอกสาร ได้กระทำการผิดนัด ผิดสัญญา หรือเรื่องที่ต้องการร้องเรียนอย่างไร
  • ย่อหน้าที่ 3 เจ้าหนี้ หรือผู้บอกกล่าว มีความประสงค์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด
  1. คำลงท้าย

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !

รายละเอียดที่ห้ามระบุในเอกสารบอกกล่าวทวงถาม

  1. เนื้อหาเชิงข่มขู่ ข้อความที่สื่อถึงความรุนแรง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้อื่น

'การข่มขู่มีโทษทางอาญามาตรา 392 ดูโทษจำคุกและปรับได้ที่นี่'

  1. การใช้วาจา หรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นผู้อื่น 
  2. การแจ้งหรือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ หรือคู่กรณีให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ
  3. การติดต่อลูกหนี้ผ่านทางไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวเพื่อบังคับจำนองด้วยวิธีการประกาศผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ แต่เจ้าหนี้ต้องไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดได้
  4. การใช้ข้อความ เครื่องหมายสัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในการติดต่อกับลูกหนี้ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้นั้นไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการทวงถามหนี้
  5. ห้ามทำเอกสารทวงถาม กระทำการทวงถามในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด ด้วยการแสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือการแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เอกสารทวงถามกระทำโดยทนายความ สำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือการแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เข้าใจว่าจะถูกดำเนินคดี หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ และการติดต่อหรือการแสดงตนให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต หรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต หรือบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง

'ไม่ต้องตกใจ! ทรัพย์แบบไหนที่เจ้าหนี้สามารถยึดได้บ้าง อ่านเลยคลิก'

  1. ห้ามทวงถามหนี้ หรือกระทำการทวงถามหนี้ที่ไม่เป็นธรรม ทั้งการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่ เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด การเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็ค ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ อันเป็นการสร้างภาระทางการเงินให้ผู้ถูกทวงถาม

 

หนังสือบอกกล่าวทวงถาม เป็นเอกสารที่ใช้ติดตามหนี้ หรือใช้เพื่อแจ้งสิทธิ หรือปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งในทางกฎหมาย เพื่อบุคคลที่เป็นหนี้ หรือทำให้เกิดปัญหารับทราบว่าตนจะต้องปฏิบัติตามคำบอกกล่าวก่อนนั้น ซึ่งหากเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ แต่หากใครมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้ที่ Legardy ทนายความออนไลน์ ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยทีมงานคุณภาพ

 

แหล่งที่มา

https://idgthailand.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5/

https://www.lawgeneration.net/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1/

https://www.spylawyers.com/blog/%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA-notice-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.