วิธีการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-12-26

วิธีการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม

ไม่มีใครรู้ว่าวันไหนจะเป็นวันสุดท้ายของชีวิต หากมีการทำพินัยกรรมไว้ การจัดการทรัพย์ก็คงไม่น่าห่วง แต่หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะตกเป็นของใคร? ในบทความนี้จึงจะพาไปดูการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม วิธีที่จะทำให้ทรัพย์สินตกทอดสู่ทายาทได้อย่างเป็นธรรม

 

การแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม ตกเป็นของใคร?

เมื่อผู้ใดถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำมรดกไว้ มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมโดยผู้จัดการมรดกเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีลำดับดังนี้

1. ผู้สืบสันดาน คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรของบุตรถัดลงไปเรื่อย ๆ (หลาน เหลน)

2. บิดามารดา

3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

5. ปู่ ย่า ตา ยาย

6. ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายและยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

 

วิธีการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม

วิธีการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม (2).png

1. การแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรมตามลำดับชั้น

การแบ่งมรดกโดยไม่มีพินัยกรรมนั้นจะพิจารณาตามลำดับขั้นเป็นหลัก ดังนี้ 

  • หากเจ้าของมรดกมีทายาทโดยธรรมหลายขั้น ทายาทในลำดับต้นจะได้รับมรดกไปก่อน 
  • ถ้าทายาทลำดับที่ 1 หรือ 2 มีชีวิตอยู่ ทายาทลำดับอื่น ๆ จะไม่ได้รับมรดก
  • ถ้ามีผู้สืบสันดานหลายคน ทั้งลูก หลาน เหลน ลูกจะได้รับมรดกก่อน

การแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม ตัวอย่าง : A และ B แต่งงานกัน มีลูก คือ C D F 

  • กรณีที่ 1 A เจ้ามรดกเสียชีวิต C D F ที่เป็นทายาทลำดับชั้น 1 และ B ที่เป็นคู่สมรส จะเป็นคนได้มรดก โดยแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่ากัน
  • กรณีที่ 2 C เสียชีวิต โดยที่ C ไม่มีลูกและคู่สมรส A ที่เป็นทายาทลำดับชั้น 2 จะเป็นคนได้มรดกคนเดียวทั้งหมด

 

 

2. การรับมรดกแทนที่

  • กรณีที่ทายาทลำดับที่ 1, 3, 4 หรือ 6 ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ให้ผู้สืบสันดานของทายาทนั้นรับมรดกแทนที่ หากผู้สืบสันดานถึงแก่ความตายเช่นเดียวกับ ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ไปจนกว่าจะหมดสาย ผู้บุพการีไม่มีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่
  • กรณีที่ทายาทลำดับที่ 2 หรือ 5 ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จะไม่มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป

การรับมรดกแทนที่ ตัวอย่าง : A และ B แต่งงานกัน มีลูก คือ C D F และ F แต่งงานกับ G มีลูก คือ H

  • กรณีที่ 1 B เจ้ามรดกเสียชีวิต โดย A (คู่สมรส) และ C D F (ลูก) เสียชีวิตหมดแล้ว H หลาน หรือผู้สืบสันดานของทายาทลำดับที่ 1 ของลูก จะเป็นผู้ได้รับมรดกแทนที่

 

อัตราส่วนการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม

อัตราส่วนการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรมให้แก่คู่สมรสและทายาท ดังนี้

  • ถ้าไม่มีลูก คู่สมรสได้รับมรดกทั้งหมด
  • ถ้ามีลูก คู่สมรสและลูกได้รับมรดกเท่า ๆ กัน
  • คู่สมรสได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง บิดามารดาได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง
  • คู่สมรส ลูก และบิดามารดา ได้รับมรดกเท่ากันตามจำนวนคน
  • คู่สมรสได้มรดกครึ่งหนึ่ง และพี่น้องแท้ ๆ ของเจ้ามรดกได้มรดกครึ่งหนึ่งที่เหลือแบ่งตามจำนวนคน
  • คู่สมรสได้มรดก 2 ส่วน  และพี่น้องคนละบิดามารดาได้รับมรดก 1 ส่วน
  • คู่สมรสได้มรดก 2 ส่วน  และปู่ ย่า ตา ยาย ได้รับมรดก 1 ส่วน
  • คู่สมรสได้มรดก 2 ส่วน  และลุง ป้า น้า อา ได้รับมรดก 1 ส่วน

 

หลานมีสิทธิรับมรดกหรือไม่?

หลาน ถือเป็นผู้สืบสันดานเช่นเดียวกับลูก แต่กฎหมายกำหนดให้ ลูก ซึ่งเป็นลำดับชั้นที่สนิทกับผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดกก่อน หากลูกเสียชีวิตก่อนเจ้ามรดก หลาน ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานชั้นถัดลงไป จึงจะได้รับมรดกแทนที่

หวังว่าผู้อ่านคงได้ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม จะเห็นว่าท้ายที่สุดแล้วทายาทก็ได้รับมรดกอย่างเป็นธรรม ซึ่งถ้าเจ้ามรดกไม่มีทายาททั้ง 6 ลำดับ และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่เหลือเลย มรดกก็จะตกเป็นของแผ่นดินในที่สุด อย่างไรก็ตาม เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ย่อมมีความซับซ้อนเสมอ หากทรัพย์สินเยอะ ทายาทหลายคน ก็ยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีก ดังนั้นใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแบ่งมรดก สามารถปรึกษาทนายคดีครอบครัวได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชม. ได้ที่  Legardy

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE