การบุกรุกมีความโทษอย่างไรตามกฎหมาย.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-12-26

การบุกรุกมีความโทษอย่างไรตามกฎหมาย?

ปัญหาการบุกรุกเข้ามาภายในบ้านของคนอื่นนั้นมีอยู่เรื่อย ๆ นอกจากจะสร้างความรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเจ้าของโดยปกติสุขแล้ว ยังมีโทษทางกฎหมายด้วย ดังนั้นตามมาดูกฎหมาย 5 มาตราที่เกี่ยวข้องกับการบุกรุกเพื่อเป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ 

 

การบุกรุกมีความผิดอย่างไร?

การบุกรุก มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 - มาตรา 366 ดังนี้

  • มาตรา 362 ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 363 ผู้ใดเพื่อถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม ยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 364 ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 365 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 362 มาตรา 363 หรือมาตรา 364 และได้ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย มีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือก่อเหตุในเวลากลางคืน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 366 ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตามมาตรา 365 เป็นความผิดอันยอมความได้

 

บุกรุกแบบไหนไม่มีความผิด?

ความผิดฐานบุกรุกต้องกระทำโดยเจตนา หากไม่มีเจตนาก็ไม่มีความผิดฐานบุกรุก เช่น

บุกรุกแบบไหนไม่มีความผิด.png

คำพิพากษาฎีกาที่ 3115/2526 เจ้าของห้องแถวสั่งให้จำเลย 3 คนซึ่งเป็นลูกจ้างรื้อหลังคา และตัดส่วนที่เป็นกันสาดของห้องแถวที่เกิดเหตุโดยอยู่ในที่เกิดเหตุและอำนวยการด้วย ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เช่า ก็อยู่ในห้องแถวที่เกิดเหตุ โดยไม่ได้ทักท้วงห้ามปรามอย่างใด ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าเจ้าของห้องแถว มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะสั่งการให้จำเลยกระทำการดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาที่จะกระทำความผิดฐานบุกรุก ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.362,365

 

 

คดีบุกรุกยอมความได้ไหม?

หากเป็นการบุกรุกตามมาตรา 362 363 และ 364 เป็นความผิดอันยอมความได้ แต่หากเป็นการบุกรุกตามมาตรา 365 กล่าวคือ มีการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย มีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือก่อเหตุในเวลากลางคืน ไม่สามารถยอมความได้ ต้องดำเนินคดีอาญาต่อไปจนถึงที่สุด

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการบุกรุกที่เราได้นำมาฝากกัน จะเห็นได้ว่าการจะเข้าออกบ้านใคร ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของบ้านก่อน มิเช่นนั้นอาจมีความผิดทางกฎหมายได้ และสำหรับใครที่อยากติดตามความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเรื่องอื่น ๆ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ Legardy 

 


 

คำถามที่พบบ่อย

1. ข้อหาบุกรุกมีโทษอะไรบ้าง?

  • ความผิดตามมาตรา 362 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ความผิดตามมาตรา 363 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ความผิดตามมาตรา 364 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ความผิดตามมาตรา 365 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. บุกรุก เป็นคดีอาญาไหม?

บุกรุกเป็นคดีอาญา

3. บุกรุก 362 กับ 364 ต่างกันอย่างไร?

บุกรุกตามมาตรา 362 ต่างกับมาตรา 364 ตรงที่มาตรา 362 เป็นการเข้าไปเพื่อแย่งการครอบครอง หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ ที่รบกวนการครอบครอง ส่วนมาตรา 364 เป็นการเข้าไปซ่อนตัวโดยไม่มีเหตุอันควร และเมื่อเจ้าของเคหสถานได้ไล่ให้ออกก็ไม่ยอมออกไป

4. บุกรุกต้องแจ้งความภายในกี่วัน?

ต้องแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.