เผยแพร่เมื่อ: 2023-12-31

เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า หากจำเลยในคดีอาญาให้การรับสารภาพศาลจะลดโทษใช่ไหมหล่ะครับ 

แล้วเคยสงสัยกันไหมว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไรและหากผู้ต้องหาให้การรับสารภาพจะได้รับการลดโทษในทุกๆ คดีหรือไม่ 

วันนี้ผมจะมาอธิบายให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆ ครับ

 

หากถามว่ารับสารภาพแล้วได้ลดโทษจริงหรือไม่ ?

 

ก่อนอื่นผมต้องขอท้าวความไปถึงกฎหมายที่ศาลจะใช้อ้างอิงประกอบการลดโทษให้จำเลยในกรณีจำเลยให้การรับสารภาพก่อน 

 

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสารภาพ

 

โดยข้อกฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 

 

ที่วางหลักไว้ว่า "เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ...ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้" 

 

มาถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยกันแล้วว่า...

 

เหตุบรรเทาโทษคืออะไร ?

 

เหตุบรรเทาโทษกฎหมายได้ให้คำจำกัดความไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 วรรคสองว่า 

" เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกัน" โดยการรับสราภาพนั้นตรงกับเหตุบรรเทาโทษที่ว่า "...ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา..." นั่นเอง 

 

 

แล้วหากผู้ต้องหารับสารภาพแล้วจะได้รับการลดโทษในทุกกรณีหรือไม่ ?

 

การพิจารณาว่าจำเลยจะได้รับประโยชน์จากเหตุบรรเทาโทษหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลเป็นรายคดีไป หมายความว่าแม้รับสารภาพก็ไม่ใช่ว่าศาลจะลดโทษให้ทุกกรณีครับ โดยการรับสารภาพที่ศาลจะใช้ดุลพินิจลดโทษให้ ต้องเป็นการรับสภาพ "ที่เป็นการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดีต่อศาล" หากเป็นรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐาน ศาลก็ใช้ดุลพินิจไม่ลดโทษให้จำเลยปรากฎตามคำพิพากษาฎีกาดังต่อไปนี้ครับ

 

ตัวอย่างการให้คำสารภาพในอดีต

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 2577/2563

 

"...คำรับสารภาพของจำเลยอันจะถือเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 จะต้องเป็นกรณีที่ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงจะพิจารณาลดโทษที่ลงแก่จำเลยได้ คดีนี้โจทก์มีทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ และพยานพฤติเหตุแวดล้อมแน่นหนามั่นคง โดยเฉพาะหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ศาลก็ได้อาศัยพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในการวินิจฉัยและพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องอาศัยคำรับสารภาพของจำเลยอีก ทั้งตามรูปคดีที่โจทก์นำสืบก็มีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน หาใช่เพราะสำนึกในความผิดไม่ คำรับสารภาพของจำเลยทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาในกรณีเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษอันจะพึงลดโทษให้แก่จำเลยได้..."

นี่ก็เป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการรับสารภาพเล็กๆ น้อยๆ หวังว่าจะเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนที่จะสามารถนำไปปรับใช้ได้ยามจำเป็นครับ สุดท้ายนี้หากเพื่อนๆ เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืมให้กำลังใจพวกเราได้ผ่านการรีวิว กดไลค์ กดแชร์ ผ่านทางช่องทางต่างๆ ที่แพลตฟอร์มจัดไว้ให้ วันนี้ไปก่อน บะ บาย

 

 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE