ในปัจจุบัน การตั้งนามสกุลใหม่ เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความเชื่อส่วนบุคคล ต้องการเสริมโชคลาภ บารมี หรือบางคนก็ตั้งเป็นเคล็ดให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากโรคภัยทั้งปวงที่จะเข้ามา
'คลิกเพื่อรับชม ทนายความที่Legardy รวบรวมกว่า 500ท่าน และมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน!'
กฎหมายเกี่ยวกับการตั้งนามสกุล
การตั้งนามสกุลใหม่นั้นก็มีกฎหมายกำหนดไว้ด้วย คือ พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505
โดยข้อห้ามในการตั้งนามสกุลนั้น กฎหมายฉบับดังกล่าว (มาตรา 8) กำหนดว่า ชื่อสกุลจะต้อง
(1) ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยหรือพระนามของพระราชินี
(2) ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ราชทินนามของตน ของผู้บุพการี หรือของผู้สืบสันดาน
(3) ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
(4) ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
(5) มีพยัญชนะไม่เกินกว่าสิบพยัญชนะ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล
'Legardy ได้รวบรวมคำถามเรื่อง การเปลี่ยนนามสกุล พร้อมคำตอบจากทนายความตัวจริง อ่านเลย!'
Q: นามสกุลมี ณ ขอเปลี่ยนนามสกุลได้ไหม
Q: ผมเป็นลูกครึ่งอยากเปลี่ยนนามสกุล
Q: อยากสอบถามผู้รู้กรณีเปลี่ยนนามสกุล
นอกจากนี้ ในการยื่นขอจดทะเบียนนามสกุลใหม่นั้น กฎหมายกำหนด ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
เมื่อนายทะเบียนท้องที่พิจารณาเห็นว่าชื่อสกุลที่ขอตั้งนั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญัตินี้ก็ให้เสนอต่อไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง และเมื่อได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนกลางแล้ว
ให้นายทะเบียนท้องที่รับจดทะเบียนชื่อสกุลนั้นและออกหนังสือสำคัญแสดงการรับจดทะเบียนชื่อสกุลให้แก่ผู้ขอ (มาตรา 9 ประกอบมาตรา 17) ซึ่งถ้าหากนายทะเบียนสั่งไม่รับจดทะเบียนชื่อสกุล
ผู้ขอจดทะเบียนชื่อสกุลยังมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนต่อรัฐมนตรีได้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง โดยยื่นอุทธรณ์ต่อนายทะเบียนท้องที่
และคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด (มาตรา 18) อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการออกหนังสือสำคัญแสดงการรับจดทะเบียนตั้งหรือเปลี่ยนชื่อสกุล มีค่าธรรมเนียม ฉบับละ 50 บาท (อัตราค่าธรรมเนียมแนบท้าย พรบ.)
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



