ข้อกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการทะเลาะวิวาท
การทะเลาะวิวาทนอกจากจะก่อนความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นแล้วยังเป็นการกระทำที่มีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย แล้วเคยสงสัยกันไหมครับว่าคดีทะเลาะวิวาทเป็นคดีอะไร มีความผิดฐานใดบ้างเป็นคดีแพ่งหรืออาญาในบทความนี้มีคำตอบครับ
ทะเลาะวิวาทเป็นความผิดแบบไหน?
คดีทะเลาะวิวาทเป็นความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา
ในทางอาญาผู้กระทำจึงต้องรับโทษทั้งในทางอาญา เช่น จำคุก ปรับฯ ดังนั้นคำถามที่ว่าคดีทะเลาะวิวาทแจ้งความได้ไหม? ก็ต้องตอบว่าผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการทะเลาะวิวาทสามารถแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจได้
"ทำไมไปแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ดำเนินการให้ ?" หาคำตอบได้ที่นี่ !
ในส่วนของความรับผิดทางแพ่งนั้น
ผู้ที่ทะเลาะวิวาทเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นก็ยังต้องรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งฐานละเมิด ผู้ได้รับความเสียหายจึงฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้อีกทางหนึ่งด้วย เราลองมาดูความรับผิดที่มักจะมาพร้อมกับการทะเลาะวิวาทกันดีกว่าครับว่ามีอะไรบ้าง
ความรับผิดทางแพ่งในคดีทะเลาะวิวาท
อย่างที่กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่าคดีทะเลาะวิวาทเป็นความผิดทั้งทางอาญาและแพ่ง โดยในส่วนของความรับผิดทางแพ่งนี้เรียกว่าความรับผิดในทางละเมิดตามประมวลกฎหมายพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย นอกจากจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 แล้วผู้กระทำยังต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่เกิดจากการทำร้ายด้วยได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าขาดประโยชน์เพราะไม่สามารถทำงานได้
คดีทำร้ายร่างกายยอมความได้ไหม?
ก็ต้องตอบว่าคดีที่เกี่ยวกับการทะเลาะวิวาทส่วนใหญ่เป็นคดีที่เรียกว่าอาญาแผ่นดินจึงไม่สามารถยอมความได้ครับ
ทะเลาะวิวาทแจ้งความ
การดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดจึงสามารถดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาไปได้พร้อมกัน ดังนั้นผู้ที่ถูกทำร้ายนอกจากมีสิทธิแจ้งความกับเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีในส่วนอาญาแล้ว ยังสามารถเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งไปได้ในคราวเดียวกันได้ด้วย แต่ความรับผิดในทางแพ่งนี้คู่กรณีสามารถตกลงยอมความกันในทางแพ่งได้ ซึ่งต่างจากความรับผิดในทางอาญาที่ไม่สามารถยอมความกันได้
คดีแพ่งกับคดีอาญาต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !
ความรับผิดทางอาญาในคดีทะเลาะวิวาท
คำถามที่หลายคนมักจะสงสัยกันว่า การทะเลาะวิวาทโทษทางอาญาเป็นอย่างไร? ทะเลาะวิวาทเสียค่าปรับล่าสุดเท่าไหร่?
คำตอบขึ้นอยู่กับเจตนาและผลของการกระทำซึ่งสามารถแบ่งโทษที่อาจจะเกิดจากการทะเลาะวิวาทได้หลายฐาน
เช่นทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ฆ่า ฯ และเจ้าพนักงานตำรวจจะลงโทษตามความผิดฐานใดจะเป็นคดีทำร้ายร้างกาย ที่ต้องขึ้นศาล หรือเพียงเสียค่าปรับนั้นขึ้นอยู่กับดุลพิพิจของพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี ลักษณะของการกระทำความผิดและอันตราโทษของความผิดนั้น จะมีความผิดอาญาฐานใดที่เข้าข่ายต้องรับผิดบ้างเราลองมาดูกันครับ
ทะเลาะวิวาท กับ ทำร้ายร่างกาย ต่างกันอย่างไรในทางคดีความ
1.ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
เป็นกรณีที่ผู้ร่วมทะเลาะวิวาทมีเจตนาฆ่าอีกฝ่ายไม่ว่าจะโดยประสงต่อผลหรือเล็งเห็นผลก็ตาม เช่น ใช้อาวุธปืนยิงอีกฝ่าย ใช้มีดฟันบริเวณอวัยวะสำคัญด้วยความแรงหรือฟันที่เดิมหลายๆ ครั้ง ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288
มีอัตราโทษ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
2.ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
เป็นกรณีที่ผู้ร่วมทะเลาะวิวาทมีเจตนาเพียงที่จะทำร้ายอีกฝ่ายเท่านั้น แต่ผลของการทำร้ายเป็นเหตุให้คู่กรณีถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำร้าย เช่น ใช้มือผลักหรือชกต่อยคู่กรณีแม้ผู้กระทำมีเพียงเจตนาทำร้าย แต่หากคู่กรณีล้มเป็นเหตุให้ศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตายผู้ที่ผลักหรือชกต่อยย่อมมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290
มีอัตราโทษจำคุก 3 -15 ปี
เจตนาฆ่ากับทำร้ายพิจารณาจากอะไรบ้าง? หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !
3.ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราสาหัส
เป็นกรณีที่ผู้ทะเลาะวิวาทมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้อื่นแต่การทำร้ายนั้นเป็นเหตุให้คู่กรณีที่ร่วมทะเลาะวิวาทบาดเจ็บอันตรายสาหัส โดยคำว่าอันตรายสาหัสได้แก่
(1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด เสียความสามารถในการรับรส
(2) เสียอวัยวะในการสืบพันธุ์หรือความสามารถในการสืบพันธุ์
(3) เสียแขน มือ เท้า ขา หรืออวัยวะอื่นๆ
(4) เสียโฉมอย่างติดตัว
(5) แท้งลูก
(6) จิตพิการอย่างติดตัว
(7) ทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยด้วยอาการเรื้อรังตลอดชีวิต
(8) เจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือไม่สามารถทำงานตามปกติได้เกินกว่า 20 วัน
ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 มีอัตราโทษจำคุก 6 เดือน – 10 ปี และปรับ 10,000 – 200,000 บาท
4.ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
เป็นกรณีที่ผู้ร่วมทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายคู่กรณีเป็นเหตุให้คู่กรณีได้รับอันตราแก่ร่างกายหรือจิตใจแต่ไม่ถึงขนาดได้รับอันตราสาหัสตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น ใช้ไม้ตีใช้มือชกต่อยทำให้คู่กรณีศีรษะแตก ใช้มีฟันคู่กรณีทำให้คู่กรณีต้องเย็บ 10 เข็มแต่ใช้เวลารักษาตัวไม่เกิน 20 วันเป็นต้น ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,00 หรือทั้งจำทั้งปรับ
5.ความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
เป็นกรณีที่ผู้ร่วมทะเลาะวิวาทมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้อื่น แต่ผลของการทำร้ายนั้นทำให้คู่กรณีไม่ถึงกับได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 ตัวอย่างเช่น ชกต่อย ตบ เตะ เป็นเหตุให้ผู้อื่นเกิดเพียงลอบแผลฟกช้ำเป็นต้น
ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6.ความผิดฐานมั่วสุมกันเพื่อทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
เป็นกรณีที่ผู้ร่วมทะเลาะวิวาทรวมกลุ่มกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปเพื่อไปทะเลาะวิวาทกับคู่กรณีโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215
มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
7.ความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุลต่อสู้เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
เป็นกรณีที่การทะเลาะวิวาทนั้นมีลักษณะเป็นการร่วมกันทะเลาะวิวาทโดยสามารถแบ่งฝ่ายได้ตั้งแต่ 3 ฝ่ายขึ้นไปและการทะเลาะวิวาทนั้นเป็เหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเข้าร่วมทะเลาะวิวาทด้วยหรือไม่ถึงแก่ความตาย ผู้ร่วมทะเลาะวิวาททุกคนต้องรับผิดในผลของความตายนั้นแม้จะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าหรือทำร้ายผู้ตายก็ตาม ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 294 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่น C เห็น A กับ B กำลังทะเลาะกัน C นึกสนุกจึงเข้าไปร่วมทะเลาะวิวาทด้วยโดยที่ C ไม่ได้เข้าไปช่วยฝ่ายใด หากต่อมา A ใช้ปืนยิง B ตายในระหว่างทะเลาะวิวาทนั้น C ต้องรับโทษตามมาตรา 294 ด้วยแม้ไม่ใช่คนลงมือฆ่า B ก็ตาม
8.ความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุลต่อสู้เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
เป็นกรณีที่การทะเลาะวิวาทนั้นมีลักษณะเป็นการร่วมกันทะเลาะวิวาทโดยสามารถแบ่งฝ่ายได้ตั้งแต่ 3 ฝ่ายขึ้นไป เช่นเดียวกับ ข้อ 7 เพียงแต่ผลการทะเลาะวิวาทนั้นเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเข้าร่วมทะเลาะวิวาทด้วยหรือไม่ได้รับอันตราสาหัสตามที่กล่าวมาแล้วใน ข้อ 3 ตาม ผู้ร่วมทะเลาะวิวาททุกคนต้องรับในผลของการที่ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสนั้นแม้จะไม่ได้เป็นผู้ลงมือทำร้ายผู้นั้นก็ตาม ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 299 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่น C เห็น A กับ B กำลังทะเลาะกัน C นึกสนุกจึงเข้าไปร่วมทะเลาะวิวาทด้วยโดยที่ C ไม่ได้เข้าไปช่วยฝ่ายใด หากต่อมา A ทำร้าย B ตายในระหว่างทะเลาะวิวาทนั้นเป็นเหตุให้ Bได้รับอันตรายสาหัส C ต้องรับโทษตามมาตรา 299 ด้วยแม้ไม่ใช่คนลงมือทำร้าย B ก็ตาม
9.ความผิดฐานพกพาอาวุธไปในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เป็นกระที่ผู้ร่วมทะเลาะวิวาทกระทำโดยมีอาวุธไม่ว่าจะเป็น มีด ไม้ ปืนติดตัวไปด้วยโดยเปิดเผยหรือไม่มีเหตุอันสมควรไปในเมือง หมู่บ้านหรือที่สาธารณะ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371
มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
10.ความผิดฐานยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เป็นกรณีที่การทะเลาะวิวาทกระทำโดยการใช้อาวุธปืนและมีการยิงปืนเกิดขึ้น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 376
มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
11.ความผิดฐานทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ
เป็นกรณีที่การทะเลาะวิวาทกระทำในที่สาธารณะเป็นเหตุให้เสียงความสงบเรียบร้อยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372
มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
12.ความผิดฐานแสดงอาวุธในการทะเลาะวิวาท
เป็นกรณีที่ผู้ร่วมทะเลาะวิวาทมีการแสดงอาวุธในระหว่างที่มีการทะเลาะวิวาท เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 379
มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
13.ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490
เป็นกรณีที่ผู้ทะเลาะวิวาทใช้อาวุทธปืนในการทะเลาะวิวาทและอาวุธปืนนั้น ไม่มีทะเบียนหรือ หรือมีทะเบียนแต่ไม่มีใบอนุญาตพกพาซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7 , 8 ทวิ
มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 2,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สรุป
ถึงตรงนี้แล้วคงจะเห็นว่าการทะเลาะวิวาทนี้มีความเสี่ยงต่อการกระทำความผิดตามกฎหมายมากมาย หวังว่าหากได้อ่านกันมาจนถึงตรงนี้หวังว่าจะช่วยเป็นเครื่องเตือนใจให้หายคนที่กำลังคิดจะไปทะเลาะวิวาทกับคนอื่นให้ฉุกคิดถึงข้อดีข้อเสียของการทะเลาะวิวาทที่กำลังจะไปกระทำ และเป็นวิธีการแก้ปัญหาสำหรับหลายคนที่ผิดพลาดและลงมือกระทำความผิดไปแล้วรวมทั้งผู้ได้รับความเสียหายจากการทะเลาะวิวาทด้วยครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



