การบังคับคดี: ขั้นตอนและสิทธิของเจ้าหนี้และลูกหนี้
การบังคับคดีคืออะไร
การบังคับคดีคือขั้นตอนตามกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา
ในคดีแพ่งเมื่อได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีสืบพยานจนศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว เคยสงสัยกันไหมครับว่าหากจำเลย ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลที่ศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องทำอย่างไรต่อไป สามารถเข้าไป
ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือเข้าไปขับไล่ลูกหนี้ได้ด้วยตนเองหรือไม่ ในบทความนี้ผมจะมาเล่า ทั้งขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหนี้เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษา และช่องทางแก้ไขกรณีลูกหนี้ถูกบังคับคดี ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เข้าใจกันอย่างง่ายๆ ครับ
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ศาลก็จะออกเอกสารอย่างหนึ่งเรียกว่าคำบังคับ โดยข้อความในเอกสารนี้จะเป็นการแจ้งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาดำเนินการปฎิบัติตามคำพิพากษาเช่น ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หรือให้กระทำการงดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างฯ ภายในกำหนดเวลา ซึ่งหากลูกหนี้ได้รับทราบคำบังคับแล้วแต่ลูกหนี้ไม่ยอมปฎิบัติตามก็จะเกิดสิทธิให้เจ้าหนี้ดำเนินการบังคับคดีกับลูกหนี้ต่อไปครับ
อ่านคำปรึกษาจริงเรื่อง "การบังคับคดี" พร้อมคำตอบจากทนายความผู้เชี่ยวชาญ
Q: ปรึกษาเรื่องการสืบทรัพย์บังคับคดีครับ
Q: ตอนนี้โดนบังคับคดียึดบ้านค่ะ
Q: โดนสืบทรัพย์จะโดนบังคับคดีมั้ยค่ะ
Q: คู่สมรสกำลังโดนเจ้าหนีฟ้องบังคับคดี
การบังคับคดีมีขั้นตอนอย่างไร
ขั้นตอนการบังคับคดีเริ่มต้นจากการยื่นคำร้องต่อศาล เมื่อศาลเห็นว่าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลจะมีคำสั่งหรือออกหมายบังคับคดีเพื่อตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษา
ดังได้กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่าหากศาลได้มีคำพิพากษาและได้แจ้งคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบโดยชอบแล้วหากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาที่กำหนด เจ้าต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลบังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อศาลเห็นว่าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับตามระยะเวลาที่กำหนดศาลก็จะมีคำสั่งตามสมควรเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือออกหมายบังคับคดีเพื่อตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี ต่อไป โดยศาลจะบังคับคดีด้วยวิธีใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า คำพิพากษานั้นกำหนดให้ลูกหนี้ต้องทำอะไรครับ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.คำพิพากษาให้ชำระหนี้เงิน
การบังคับคดีให้ชำระหนี้เงินจะดำเนินการโดยการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้หรืออายัดสิทธิเรียกร้อง
ศาลก็จะบังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อนำออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป เช่น บังคับคดียึดที่ดินขายทอดตลาด บังคับคดียึดเงินในบัญชี เป็นต้น
นอกจากนี้ การบังคับคดีขายทอดตลาด ยังเป็นขั้นตอนสำคัญที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจัดให้มีการขายทรัพย์สินที่ถูกยึดตามกฎหมาย
อายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินจากบุคคลอื่นเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา เช่น บังคับคดีหักเงินเดือนของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เป็นต้น
2.คำพิพากษาให้ส่งมอบทรัพย์
การบังคับคดีให้ส่งมอบทรัพย์จะดำเนินการโดยการยึดและส่งมอบทรัพย์สินตามคำพิพากษา
ศาลก็จะตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ตามคำพิพากษาและส่งมอบทรัพย์นั้นให้กับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และหากทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่มีทะเบียนเจ้าหนักงานบังคับคดีก็จะแจ้งให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียน
3.คำพิพากษาให้ขับไล่
การบังคับคดีให้ขับไล่จะดำเนินการโดยการขับไล่ลูกหนี้ออกจากที่ดินตามคำพิพากษา
ศาลก็จะตั้งเจ้าหนักงานบังคับคดีดำเนินการขับไล่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกจากที่ดิน หากลูกหนี้ยังไม่ยินยอมออกไปจากที่พิพาทแต่โดยดี เจ้าหนักงานบังคับคดีก็จะร้องขอต่อศาลให้กักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้จนกว่าจะดำเนินการตามคำสั่งได้สำเร็จ
4.คำพิพากษาให้รื้อถอน
การบังคับคดีให้รื้อถอนจะดำเนินการโดยการรื้อถอนทรัพย์สินตามคำพิพากษาและให้ลูกหนี้เป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
ศาลก็จะตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีรื้อถอน โดยให้ลูกหนี้เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน เช่น ศาลพิพากษาให้รื้อถอนบ้านหากลูกหนี้ไม่ยอมรื้อ เมื่อศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะดำเนินการรื้อถอนโดยลูกหนี้ต้องเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน
5.คำพิพากษาให้ทำนิติกรรม
การบังคับคดีให้ทำนิติกรรมจะดำเนินการโดยการถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาเพื่อทำนิติกรรมตามคำพิพากษา
ศาลก็จะมีคำสั่งให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา เมื่อได้รับคำพิพากษาแล้วเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็สามารถนำคำพิพากษาไปจดทะเบียนกับนายทะเบียนได้
6.คำพิพากษาให้กระทำการอื่นที่ไม่ใช่นิติกรรม
การบังคับคดีให้กระทำการอื่นที่ไม่ใช่นิติกรรมจะดำเนินการโดยบุคคลภายนอกที่ศาลสั่งให้กระทำการแทนโดยลูกหนี้เป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
ศาลก็จะมีคำสั่งให้บุคคลภายนอกกระทำการแทนโดยให้ลูกหนี้เป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
เจ้าหนี้ยึดอะไรได้บ้าง
เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์สินทุกชนิดที่เป็นของลูกหนี้หรือทรัพย์สินที่ระบุไว้ในคำพิพากษา
1.กรณีคำพิพากษาให้ชำระหนี้เงิน
ทรัพย์บังคับคดี ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดที่เป็นของลูกหนี้ โดยเจ้าหนักงานบังคับคดีก็จะทำการยึดทรัพย์สินนั้นเพื่อนำมาขายทอดตลาด หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีต่อบุคคลภายนอกเช่น เงินเดือนนำมาชำระหนี้ให้กับเจ้าต่อไป
เพิ่มเนื้อหา: สำหรับกรมบังคับคดีที่ดิน มีหน้าที่หลักในการดำเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ดินตามคำสั่งศาล
2.กรณีคำพิพากษาให้บังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินใด
เช่น ให้ส่งมอบที่ดินแปลงที่ระบุบไว้ในคำพิพากษา เจ้าหนี้ก็สามารถบังคับคดีได้แต่เฉพาะทรัพย์สินชิ้นที่ระบุบไว้ในคำพิพากษาเท่านั้น
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์อะไรได้บ้าง ฟังคำตอบจากทนายแบบละเอียด คลิกเลย !
ถ้าโดนหรือได้รับหนังสือ บังคับคดีต้องทำยังไง
เมื่อถูกบังคับคดี ผู้ที่ถูกบังคับคดียังมีสิทธิยกข้อโต้แย้งในชั้นบังคับคดีได้
เมื่อถูกบังคับคดี ผู้ที่ถูกบังคับคดีก็ยังมีสิทธิยกข้อโต้แย้งที่ตนเองมีในชั้นบังคับคดีได้ โดยกฎหมายได้กำหนดบทคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ถูกบังคดีเอาไว้หลายประการได้แก่
1.การเพิกถอนการบังคับคดี
ลูกหนี้ต้องตรวจสอบขั้นตอนการบังคับคดีว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งหากขั้นตอนการบังคับดีไม่ถูก หรือข้ามขั้นตอนผู้ถูกบังคับคดีก็สามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนการบังคับคดีได้
2.เจรจาขอผ่อนชำระ
ในชั้นบังคับคดีลูกหนี้ที่ถูกยึดทรัพย์ยังคงสามารถเจรจาตกลงขอผ่อนชำระหนี้กับเจ้าหนี้ได้ โดยหากเจ้าหนี้ยินยอมเจ้าหนี้ก็สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ก่อนได้ และหากมีชำระหนี้กันครบถ้วนจนเจ้าหนี้พอใจแล้วเจ้าหนี้ก็ต้องดำเนินการถอนการบังคับคดีให้กับลูกหนี้ครับ
3.ขอให้กำหนดเบี้ยเลี้ยงชีพ
กรณีถูกบังคับคดีโดยการอายัดเงินเดือน ผู้ถูกอายัดมีสิทธิร้องขอให้เจ้าหนักงานกำหนดเบี้ยเลี้ยงชีพเพื่อกันเงินส่วนนั้นไว้ใช้จ่ายในการเลี้ยงชีพได้ โดยส่วนใหญ่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะอนุญาตให้เจ้าหนี้อายัดได้เฉพาะเงินส่วนที่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน ซึ่งหากลูกหนี้เงินเดือนไม่เกินเบี้ยงเลี้ยงชีพที่เจ้าหนักงานกำหนดแล้ว เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถอายัดเงินในส่วนนี้ได้ และหากลูกหนี้ไม่เห็นด้วยอัตราเบี้ยเลี้ยงชีพที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดลูกหนี้ก็สามารถร้องขอต่อศาลให้กำหนดจำนวนเบี้ยงเลี้ยงชีพใหม่ได้ภายใน 15 วันนับแต่ทราบถึงการกำหนดจำนวนเงินของเจ้าพนักงานบังคับคดีครับ
4.ขอให้กันส่วน ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ขอให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระให้แก่ตนเองก่อน
กรณีทรัพย์ที่ถูกบังคับคดีเป็นของบุคคลภายนอกหรือบุคคลภายนอกเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากการบังคับคดีก็สามารถร้องขอต่อศาล ให้ปล่อยทรัพย์ กันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด หรือให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ได้แก่คนก่อนได้ โดยต้องร้องต่อศาลที่ได้มีคำพิพากษาในคดีนั้นๆ
ได้รับหนังสือบังคับคดี ควรไปศาลเพราะอะไร ? หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !
การบังคับคดีลูกหนี้ที่ล้มละลายหรือเสียชีวิต
การบังคับคดีลูกหนี้ที่ล้มละลายไม่สามารถทำได้ โดยเจ้าหนี้ต้องนำคำพิพากษาไปขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของลูกหนี้เท่านั้น
การบังคับคดีลูกหนี้ที่ล้มละลายไม่สามารถทำได้โดยเจ้าหนี้ต้องนำคำพิพากษาไปขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของลูกหนี้เท่านั้น หากลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ทั้งที่เป็นบุคคลล้มละลายลูกหนี้ก็สามารถยกเป็นข้อโต้แย้งได้
กรณีที่ลูกหนี้เสียชีวิต การบังคับคดีจะต้องดำเนินการต่อไปกับทรัพย์สินที่เหลืออยู่ในกองมรดก ซึ่งทายาทจะต้องรับผิดชอบชำระหนี้ตามสัดส่วนของทรัพย์สินที่ได้รับมรดก หากไม่มีทายาทหรือทรัพย์สินในกองมรดก เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถบังคับคดีต่อได้
นอกจากนี้ ลูกหนี้ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควร เช่น การเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ หรือการชำระหนี้เป็นงวด ๆ ตามความสามารถ
สรุป
ที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นความรู้เกี่ยวกับการบังคับคดีในเบื้องต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งตัวเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่จะสามารถนำไปให้แก้ปัญหาของแต่ละคนได้ต่อไป หากเห็นว่าปัญหาเกี่ยวกับการบังคับคดีของตนเองพอจะมีทางออกในด้านไหนก็ควรจะรวบรวมข้อมูลเข้าปรึกษาผู้รู้เพื่อพิจารณาในรายละเอียดและดำเนินการแก้ไขให้เป็นรูปธรรมต่อไปครับ หากกำลังทุกข์ใจเรื่อง "บังคับคดี" สามารถปรึกษาทนายผ่าน Legardy ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ !
![cta](https://backside.legardy.com/uploads/cta_lawyer_8c8c858e34.png)