ของหาย หาไม่เจอ: วิธีประกาศ ของหายและการแจ้งความ ของหายบนแท็กซี่ อยากได้คืน
หลายท่านมักเคยพบเห็นเกี่ยวกับการประกาศหาของหาย หรือเก็บของหายไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เงินทอง ของผู้อื่นได้ตามข่าวทางช่องทางต่าง ๆ โดยบุคคลที่เก็บได้นั้นได้ส่งมอบคืนแก่เจ้าของและมักจะได้รับรางวัลตอบแทนความดีนั้น แต่ในบางกรณีบุคคลผู้เก็บได้อาจยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของตนเองและอาจมีความผิดได้ จึงเห็นได้ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับของหายนั้นไม่ใช่เพียงหลักศีลธรรมที่ควรปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องถึงข้อกฎหมายด้วย โดยบทความนี้ทนายความจะมาอธิบายเรื่องราวทางกฎหมายเกี่ยวกับของหายให้ทราบกัน

ของหาย หาไม่เจอ ต้องทำอย่างไร?
การประกาศของหาย
หลายท่านมักเคยพบเห็นเกี่ยวกับการประกาศหาของหาย หรือเก็บของหายไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เงินทอง ของผู้อื่นได้ตามข่าวทางช่องทางต่าง ๆ โดยบุคคลที่เก็บได้นั้นได้ส่งมอบคืนแก่เจ้าของและมักจะได้รับรางวัลตอบแทนความดีนั้น แต่ในบางกรณีบุคคลผู้เก็บได้อาจยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของตนเองและอาจมีความผิดได้ จึงเห็นได้ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับของหายนั้นไม่ใช่เพียงหลักศีลธรรมที่ควรปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องถึงข้อกฎหมายด้วย โดยบทความนี้ทนายความจะมาอธิบายเรื่องราวทางกฎหมายเกี่ยวกับของหายให้ทราบกัน
ของหายอยากได้คืน ทำอย่างไร?
ขั้นตอนแรกในการหาของหาย
โดยปกติแล้วเมื่อบุคคลสิ่งของของตนเองหายไปและหาสิ่งของนั้นไม่เจอ วิธีแรกที่มักจะดำเนินการคือการประกาศลงสื่อโซเชียลของตนเอง เช่น เฟสบุ๊ค อินสตราแกรม ทวิตเตอร์(X) เป็นต้น เพื่อให้บุคคลที่พบเห็นหรือเก็บสิ่งของนั้นได้ทราบถึงตัวเจ้าของและนำมาส่งมอบคืนแก่เจ้าของ
การติดต่อหน่วยงานเพื่อขอความช่วยเหลือ
นอกจากการประกาศของหายลงสื่อโซเชียลของตนเองแล้ว บุคคลผู้ทำของหายยังสามารถติดต่อ สวพ.FM91 ประสานความช่วยเหลือแจ้งของหายทางโครงการของหายได้คืน ผ่านเบอร์โทรศัพท์ 1644 ได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย
การแจ้งความของหาย แจ้งความที่ไหน
หากสิ่งของที่สูญหายนั้นเป็นเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดิน หรือเอกสารราชการอื่น ๆ เป็นต้น เอกสารเหล่านี้มักมีข้อมูลส่วนตัวของบุคคล จึงอาจเกิดความเสียหายได้หากมีผู้อื่นนำไม่ใช้ในทางที่ไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อพบว่าเอกสารสำคัญต่าง ๆ หายไป จึงควรดำเนินการแจ้งความต่อสถานีตำรวจในท้องที่ที่หาย เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจทำการสอบสวนและลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และนำไปยืนยันต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป อีกทั้งการแจ้งความของหายนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อบุคคลผู้ทำเอกสารนั้นหาย กล่าวคือ หากมีการนำเอกสารนั้นไปทำผิดกฎหมาย บุคคลผู้ทำหายอาจนำหลักฐานดังกล่าวไปยืนยันได้ว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำนั้น
"ทะเบียนบ้านหายทำอย่างไร? หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !"
ลืมของหรือของหายบนรถแท็กซี่ (Taxi) ทำอย่างไร?
ข้อมูลที่ควรจดจำเมื่อของหายบนแท็กซี่
กรณีของหายบนรถแท็กซี่นั้น สิ่งแรกที่บุคคลผู้ทำสิ่งของหายควรทราบและจดจำให้ได้ คือ สีและหมายเลขทะเบียนรถแท็กซี่คันนั้น ตลอดจนช่วงเวลาและสถานที่ที่ขึ้นและลงรถแท็กซี่นั้น นอกจากนี้หากสามารถจดจำชื่อ – สกุล, รหัสของคนขับ และรูปพรรณของคนขับได้ยิ่งดีมากขึ้น
การติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เมื่อทราบข้อมูลข้างต้นแล้ว บุคคลผู้ทำสิ่งของหายสามารถติดต่อประสาน จส. 100 ที่เบอร์ 1137, สวพ FM 91 เบอร์ 1644, Taxi-Radio เบอร์ 1681 และกรมขนส่งทางบกที่เบอร์ 1584 (กรมการขนส่งทางบกจะประสานอู่ Taxi เพื่อหาข้อมูลของผู้ขับขี่ได้)
ดูคำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความผู้เชี่ยวชาญเรื่อง "ของหาย"
Q: จะตามหาขับแท็กซี่ คาดว่าทำของหายบนรถ
Q: ทำของหายบนรถแท็กซี่ จำป้ายทะเบียนได้จะติดตามยังไงได้บ้างครับ
Q: ลูกค้าทำของหายที่ห้องพักใครรับผิดชอบ
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บของหาย
บุคคลผู้เก็บของหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่าคำว่า “ของหาย” นั้น หมายถึงของที่มีเจ้าของหรือมีผู้มีกรรมสิทธิ์ในสิ่งของนั้นอยู่ เพียงแต่เจ้าของไม่ทราบว่าสิ่งของหาย หาไม่เจอ หรือไม่ทราบว่าทำสิ่งของนั้นหายที่ไหน ในทางกลับกันหากเป็นสิ่งของที่เจ้าของทิ้งหรือสละกรรมสิทธิ์แล้ว หรือเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของ สิ่งของนั้นย่อมไม่ถือเป็นของหาย
หน้าที่ของบุคคลผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1323) ดังนี้
1) ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ทำของหายหรือเจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น หรือ
2) แจ้งแก่ผู้ทำของหายหรือเจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นโดยไม่ชักช้า หรือ
3) ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นภายใน 3 วันและแจ้งพฤติการณ์ตามที่ทราบอันอาจช่วยในการสืบหาตัวบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น
แต่ในกรณีที่ไม่ทราบตัวผู้ทำของหาย เจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิรับทรัพย์สินนั้น หรือบุคคลดังกล่าวไม่รับมอบทรัพย์สินนั้นไว้ ให้ผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 3)
นอกจากนี้ ผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายต้องรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ด้วยความระมัดระวังตามสมควรจนกว่าจะส่งมอบ
สิทธิของบุคคลผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1324) ผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย มีสิทธิเรียกร้องเอารางวัลจากบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นเป็นจำนวนร้อยละ 10 ของค่าทรัพย์สินนั้น (กรณีทรัพย์สินมีราคาไม่เกิน 30,000 บาท) แต่หากทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินกว่า 30,000 บาท ก็สามารถเรียกร้องเอารางวัลได้อีกร้อยละ 5 ของจำนวนราคาที่เกิน 30,000 บาท
ในกรณีที่ผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น ให้บุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินเสียเงินอีกร้อยละ 2.5 ของค่าทรัพย์สินนั้นแต่ไม่เกิน 1,000 บาท เป็นค่าธรรมเนียมแก่หน่วยงานที่เก็บรักษานั้น
อย่างไรก็ตาม หากผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายไม่ปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็ไม่มีสิทธิได้รับรางวัลนั้น
นอกจากสิทธิในการเรียกร้องเอารางวัลจากบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นแล้ว หากปรากฏว่าผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นไม่ได้เรียกร้องเอาทรัพย์สินนั้นภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เก็บได้ ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้เก็บได้ แต่หากทรัพย์สินที่เก็บได้นั้นเป็นโบราณวัตถุ ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน แต่ให้ผู้เก็บได้รับรางวัลร้อยละ 10 ของค่าทรัพย์สินนั้นแทน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1325)
สิทธิของบุคคลผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1324)
1) ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ทำของหายหรือเจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น หรือ
2) แจ้งแก่ผู้ทำของหายหรือเจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นโดยไม่ชักช้า หรือ
3) ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นภายใน 3 วันและแจ้งพฤติการณ์ตามที่ทราบอันอาจช่วยในการสืบหาตัวบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น
แต่ในกรณีที่ไม่ทราบตัวผู้ทำของหาย เจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิรับทรัพย์สินนั้น หรือบุคคลดังกล่าวไม่รับมอบทรัพย์สินนั้นไว้ ให้ผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 3)
นอกจากนี้ ผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายต้องรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ด้วยความระมัดระวังตามสมควรจนกว่าจะส่งมอบ
สิทธิของบุคคลผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1324) ผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย มีสิทธิเรียกร้องเอารางวัลจากบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นเป็นจำนวนร้อยละ 10 ของค่าทรัพย์สินนั้น (กรณีทรัพย์สินมีราคาไม่เกิน 30,000 บาท) แต่หากทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินกว่า 30,000 บาท ก็สามารถเรียกร้องเอารางวัลได้อีกร้อยละ 5 ของจำนวนราคาที่เกิน 30,000 บาท
ในกรณีที่ผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น ให้บุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินเสียเงินอีกร้อยละ 2.5 ของค่าทรัพย์สินนั้นแต่ไม่เกิน 1,000 บาท เป็นค่าธรรมเนียมแก่หน่วยงานที่เก็บรักษานั้น
อย่างไรก็ตาม หากผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายไม่ปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็ไม่มีสิทธิได้รับรางวัลนั้น
นอกจากสิทธิในการเรียกร้องเอารางวัลจากบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นแล้ว หากปรากฏว่าผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นไม่ได้เรียกร้องเอาทรัพย์สินนั้นภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เก็บได้ ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้เก็บได้ แต่หากทรัพย์สินที่เก็บได้นั้นเป็นโบราณวัตถุ ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน แต่ให้ผู้เก็บได้รับรางวัลร้อยละ 10 ของค่าทรัพย์สินนั้นแทน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1325)
บุคคลผู้เก็บของหายได้ตามประมวลกฎหมายอาญา
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับหน้าที่ของบุคคลผู้เก็บของหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าบุคคลที่เก็บของหายได้นั้นมีหน้าที่ต้องส่งมอบคืนแก่เจ้าของ แต่หากปรากฏว่าผู้เก็บของหายได้ไม่ส่งมอบคืนแต่เก็บไว้เป็นของตนเอง ผู้เก็บได้ก็อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาได้ ดังต่อไปนี้
2.1 ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
ในกรณีที่พฤติการณ์ปรากฏว่าทรัพย์สินนั้นตกหายในบริเวณที่เจ้าของอยู่หรือตกหายไม่ไกลจากตัวเจ้าของและเจ้าของยังคงติดตามหาทรัพย์สินนั้นอยู่หรือยังสามารถติดตามคืนมาได้ ดังนี้ต้องยังถือว่าความครอบครองยังอยู่ที่เจ้าของอยู่หากผู้เก็บได้นำไปเป็นของตนเองย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์
ตัวอย่างเช่น ทหารทำปืนตกน้ำแต่ยังงมหาไม่พบ การที่มีผู้งมหาได้และเอาปืนนั้นไปขาย ผู้ที่เก็บทรัพย์สินนั้นได้ต้องรู้หรือควรรู้ว่าทหารหรือเจ้าของยังคงติดตามเพื่อเอาคืน การเอาไปจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2503 ประชุมใหญ่) หรือมีคนทำเงินหล่น ผู้ที่เดินผ่านมาเก็บได้ เมื่อเจ้าของที่ทำหล่นรู้สึกตัวจึงรีบทวงถาม หากผู้เก็บได้ปฏิเสธไม่คืนก็มีความผิดฐานลักทรัพย์ (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2529)
2.2 ความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
กรณีที่มีผู้ทำทรัพย์สินหายโดยไม่ทราบว่าทรัพย์สินนั้นตกหายที่ใด ถือได้ว่าการครอบครองนั้นหลุดไปจากความครอบครองของเจ้าของแล้ว หากมีผู้เก็บได้ต้องถือว่าความครอบครองอยู่ที่ผู้เก็บได้จนกว่าจะมีการส่งมอบคืนแก่เจ้าของ ถ้าผู้เก็บได้นำทรัพย์สินไปเป็นของตนเองหรือเบียดบังทรัพย์สินนั้นไปเป็นของตนเอง ย่อมมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
ตัวอย่างเช่น เจ้าทรัพย์เอาเงินเหน็บไว้ชายผ้าแล้วเดินไปธุระ จำเลยเดินมาตามถนนพบธนบัตรตกอยู่ก็เก็บเอาเสีย เจ้าทรัพย์พอรู้สึกว่าเงินที่เหน็บไว้หายไป ก็รีบไปดูตามทางเพราะไม่รู้ว่าตกที่ไหน** ไปสอบถามจำเลยว่าเห็นเงินตกตามทางบ้างไหม จำเลยปฏิเสธ ดังนี้ เห็นว่า ตอนจำเลยเก็บเงินไปนั้นก็ไม่รู้ว่าเป็นของใคร และก็ไม่รู้ว่าเจ้าของกำลังติดตามอยู่ ฉะนั้น เมื่อจำเลยเก็บเงินตกกลางทางได้ และเอาเป็นประโยชน์ของตนเสียโดยเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายซึ่งจำเลยเก็บได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2509)
สรุป
กล่าวโดยสรุป หากเป็นการทำของหายโดยไม่ได้เกิดจากการเจตนาทิ้งหรือสละกรรมสิทธิ์ เจ้าของย่อมอยากได้ของนั้นกลับคืนมา ผู้เก็บได้จึงมีหน้าที่ติดตามและหาวิธีส่งมอบคืนแก่เจ้าของเท่าที่จะสามารถทำได้ หากผู้เก็บได้ไม่ส่งมอบคืนและนำไปเป็นของตนเองก็อาจมีความผิดตามกฎหมายได้ หากกำลังทุกข์ใจเรื่องกฎหมาย สามารถปรึกษาทนายผ่าน Legardy ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



