เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-11

ฟ้องลูกหนี้ฐานผิดสัญญา: ศาลพิพากษาให้ชนะคดีแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่จ่ายเงิน ต้องทำอย่างไร?

1.png

เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยมากค่ะ

เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ฐานผิดสัญญากู้ยืมหรือผิดสัญญารับสภาพหนี้ หรือผิดสัญญาบัตรเครดิตต่อศาล ลูกหนี้ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงตกเป็นจำเลยตามคำฟ้อง จำเลย คือ คนถูกฟ้อง ส่วนโจทก์คือผู้เสียหายที่ยื่นฟ้อง แต่จำเลย (ลูกหนี้) หนีหนี้ ไม่จ่ายเงินให้แก่โจทก์ (เจ้าหนี้)

อีกทั้งจำเลยยังไม่จ้างทนายความ (ถ้าไม่มีเงินไปจ่ายหนี้ โอกาสน้อยที่จะมีเงินจ้างทนายความ คดีแพ่งไม่มีทนายความที่ศาลแต่งตั้งให้ว่าความให้ฟรีนะคะ) และจำเลยไม่ไปศาลเลยสักนัด (คงคิดว่าเป็นคดีแพ่ง อยู่เฉยๆ ไม่มี ไม่หนี และไม่จ่าย จะจบล่ะสิ แต่เรื่องจริงไม่จบง่ายค่ะ)

"ลูกหนี้ควรรู้! เช็คเลยหนังสือกู้ยืมที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นอย่างไร คลิกที่นี่!"

"เมื่อได้รับหนังสือรับสภาพหนี้ ควรทำอย่างไรต่อ หาคำตอบได้ที่นี่!"

"คดีแพ่งร้ายแรงไหม? ถูกฟ้องต้องทำอย่างไร? หาคำตอบที่นี่"

การพิจารณาคดีและผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ

การที่จำเลยไม่จ้างทนายความ ไม่ไปศาล ไม่ยื่นคำให้การต่อสู้คดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 กำหนดไว้ว่า

เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัด เท่ากับโจทก์ (เจ้าหนี้) ชนะคดีเลย

แต่ ๆ ศาลจะพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ประกอบพยานหลักฐานว่ามีมูลหรือขัดต่อกฎหมายหรือไม่ และให้ฝ่ายโจทก์สืบพยานไปฝ่ายเดียว ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ แม้มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน

"Q: หากเป็นจำเลยแต่ขาดนัดไกล่เกลี่ย ให้การและสืบพยาน ต้องทำอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย!" 


2.png

 

การพิจารณาพยานและอายุความ

  • ศาลอาจให้โจทก์อ้างเอกสารเป็นพยานอย่างเดียวหรือส่งเอกสารแทนการสืบพยาน
  • ศาลอาจให้โจทก์สืบพยานบุคคลไปเลยก็ได้เช่นกัน
  • การที่จำเลยไม่ต่อสู้คดีทำให้จำเลยเสียสิทธิในการต่อสู้คดีเรื่องอายุความ
  • แม้ในกรณีที่ลูกหนี้เงินกู้ขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ศาลไม่อาจยกเรื่องอายุความหนี้เงินกู้ขึ้นพิจารณาเองได้
  • ศาลอาจยกเรื่องอายุความบังคับชำระดอกเบี้ยหนี้จำนองที่บังคับได้เฉพาะดอกเบี้ยที่ค้างไม่เกิน 5 ปี ตามมาตรา 745 ขึ้นพิจารณาเองได้เท่านั้น

"อัตราดอกเบี้ยในการให้ยืมเงินโดยถูกกฎหมายอ่านได้ที่นี่!"


การบังคับคดีหลังจากชนะคดี

เมื่อโจทก์ได้คำพิพากษาของศาลแล้ว โจทก์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้:

  1. ขอให้ศาลส่งคำบังคับ
    • ให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล
  2. ขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
    • หมายนี้จะถูกส่งไปยังสำนักงานบังคับคดี
    • สำนักงานบังคับคดีไม่มีหน้าที่ไปสืบทรัพย์ให้

การบังคับคดีคืออะไร? มีกี่ประเภท?

ได้รับหนังสือบังคับคดี ควรทำอย่างไร?

3.png

การสืบทรัพย์สินของลูกหนี้

  1. ค้นหาทรัพย์สินของลูกหนี้
    • ค้นหาว่าลูกหนี้ทำงานที่ไหน ทำงานที่บริษัทอะไร
  2. ตั้งเรื่องบังคับคดีที่สำนักงานบังคับคดี
    • ตั้งเรื่องอายัดเงินเดือนของลูกหนี้
    • ตั้งเรื่องยึดทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือบัญชีธนาคาร

ขั้นตอนการบังคับคดี

  • ตั้งเรื่องอายัดเงินเดือนของลูกหนี้
  • ตั้งเรื่องยึดที่ดินและประกาศขายทอดตลาด
  • ตั้งเรื่องยึดรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์
  • ตั้งเรื่องอายัดบัญชีธนาคารของลูกหนี้

เจ้าหนี้ยึดทรัพย์อะไรได้บ้าง มีข้อยกเว้นอะไรบ้าง หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย!


 

 

สรุป

ฟ้องลูกหนี้ฐานผิดสัญญา ศาลพิพากษาให้ชนะคดีแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่จ่ายเงินอยู่ดี ต้องดำเนินการดังนี้:

  1. ขอให้ศาลส่งคำบังคับให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามคำพิพากษา (เจ้าหนี้เสียค่าธรรมเนียมการส่งหมายให้แก่ศาล)
  2. ขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
  3. สืบทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นบัญชีธนาคาร ที่ทำงาน การถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน รวมถึงรถยนต์ รถจักรยานยนต์
  4. ถ้ามีทรัพย์สินให้ตั้งเรื่องบังคับคดีต่อสำนักงานบังคับคดี

ประการสำคัญ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น

อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2560 ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตั้งเรื่องบังคับคดีต่อสำนักงานบังคับคดี เช่น ตั้งเรื่องบังคับคดีต่อสำนักงานบังคับคดีให้อายัดเงินเดือนจำเลย ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้ 1,000,000 บาท อายัดเงินเดือนครบปีที่ 10 แล้ว ยังขาดอีก 300,000 บาท เจ้าหนี้ยังมีสิทธิได้รับเงินที่อายัดจากเงินเดือนของจำเลยอยู่จนกว่าจะครบจำนวน เพราะตามกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามขั้นตอนการตั้งเรื่องบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

ส่วนเจ้าหน้าที่บังคับคดีจะไปยึดทรัพย์เมื่อใด หรือยึดทรัพย์เกิน 10 ปี ก็ถือว่าโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้มีการบังคับคดีภายใน 10 ปีแล้ว เจ้าหนี้จึงยังยึดทรัพย์ได้ อ้างอิงตามคำพิพากษาที่ 4816/2528

 

'ปัญหาเรื่องหนี้สินทำให้คุณกังวลใจอยู่ใช่ไหม ปรึกษาทนายผ่านLegardy ทนายพร้อมให้คำตอบและอยู่เคียงข้างคุณ! ปรึกษาได้ที่นี่ คลิกเลย!'


คำถามที่พบเจอบ่อยเกี่ยวกับหนี้

1. Q: การฟ้องลูกหนี้ฐานผิดสัญญาคืออะไร?

A: การฟ้องลูกหนี้ฐานผิดสัญญาคือการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ที่ผิดสัญญากับเจ้าหนี้ต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกันไว้ 

2. Q: หากลูกหนี้ไม่มาตามนัดของศาลจะเป็นอย่างไร?

A: หากลูกหนี้ไม่มาตามนัดของศาล ศาลจะพิจารณาคดีโดยฝ่ายเดียว และอาจพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี โดยพิจารณาจากหลักฐานที่มี

3. Q: การออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีคืออะไร?

A: การออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามคำพิพากษา เช่น การอายัดเงินเดือน ยึดทรัพย์สิน หรือบัญชีธนาคารของลูกหนี้ 

4. Q: การสืบทรัพย์สินของลูกหนี้ทำอย่างไร?

A: การสืบทรัพย์สินของลูกหนี้สามารถทำได้โดยการค้นหาว่าลูกหนี้ทำงานที่ไหน มีทรัพย์สินเช่น ที่ดิน รถยนต์ หรือเงินในบัญชีธนาคาร และตั้งเรื่องบังคับคดีที่สำนักงานบังคับคดี 

5. Q: หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สิน จะบังคับคดีได้อย่างไร?

A: หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สิน เจ้าหนี้อาจต้องรอจนกว่าลูกหนี้จะมีทรัพย์สินหรือรายได้ใหม่ และสามารถตั้งเรื่องบังคับคดีอีกครั้งภายใน 10 ปีตามกฎหมาย

6. Q: สามารถอายัดเงินเดือนลูกหนี้ได้หรือไม่?

A: สามารถอายัดเงินเดือนลูกหนี้ได้ หากลูกหนี้มีรายได้จากการทำงานเป็นพนักงานเอกชน แต่ไม่สามารถอายัดเงินเดือนข้าราชการได้ตามกฎหมาย

7. Q: หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ จะบังคับคดีอย่างไร?

A: หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ ไม่สามารถอายัดเงินเดือน แต่สามารถตรวจสอบทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น ที่ดิน หรือรถยนต์ และดำเนินการยึดทรัพย์สินเหล่านั้น

8. Q: ต้องทำอย่างไรหากต้องการอายัดบัญชีธนาคารของลูกหนี้?

A: หากต้องการอายัดบัญชีธนาคารของลูกหนี้ เจ้าหนี้ต้องทราบเลขบัญชีธนาคารของลูกหนี้ และแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ตั้งเรื่องอายัดบัญชีธนาคารนั้น

9. Q: การบังคับคดีมีระยะเวลาในการดำเนินการเท่าใด?

A: การบังคับคดีต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด หลังจากนั้นเจ้าหนี้ยังสามารถยึดทรัพย์สินที่มีในอนาคตได้

10. Q: ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีต้องเสียเท่าไร?

A: ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ต้องการบังคับคดี และประเภทของทรัพย์สินที่ต้องการยึด โดยเจ้าหนี้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมนี้ให้กับศาล

หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE