กฎหมายลิขสิทธิ์เพลง
ในประเทศไทยอัตราการเติบโตของผู้ประกอบการมีมากขึ้นทุกวัน บางครั้งการมีเสียงดนตรีหรือเสียงเพลงก็ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีให้แก่ร้านค้าของผู้ประกอบการ แต่เคยได้ยินข่าวกันบ่อยๆเรื่องสถานประกอบการนั้นโดนจับลิขสิทธิ์เพลง บทความนี้ Legardy จะพาทุกท่านทำความรู้จักกับกฎหมายลิขสิทธิ์เพลงให้มากขึ้น และโทษที่ต้องได้รับหากทำการละเมิดลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ (copyright) คืออะไร
ลิขสิทธิ์ คือ ผู้สร้างสรรค์งานโดยตัวงานนั้นได้รับรองจากกฎหมายและผู้สร้างสรรค์งานมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำต่างๆเกี่ยวกับงานนั้น ไม่ว่าจะเป็น การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำไปโฆษณา รวมถึงการที่อนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปใช้ด้วย
ลักษณะของลิขสิทธิ์
- ระยะเวลาคุ้มครอง
ตามกฎหมายกำหนดไว้ให้ลิขสิทธิ์นั้นมีอายุการคุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้าง หากผู้สร้างเสียชีวิตก็จะคุ้มครองต่อไปอีก 50ปี นับตั้งแต่วันที่บุคคลนั้นได้เสียชีวิต หลังจากนั้น ผลงานนั้นจะตกเป็นสมบัติสาธารณะ
- โอนให้ผู้อื่นได้
ลิขสิทธิ์สามารถโอนและส่งต่อให้ผู้อื่นได้โดยการทำสัญญา อีกทั้งสามารถเป็นมรดกตกทอดได้อีกด้วย เช่น การขายลิขสิทธิ์เพลง
- คุ้มครองตั้งแต่สร้างเสร็จ
ลิขสิทธิ์นั้นจะเกิดขึ้นทันทีที่ผลงานสร้างสรรค์เสร็จสมบูรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องจดลิขสิทธิ์
แต่การจดทะเบียนลิขสิทธิ์นั้นจะเป็นหลักฐานในการยืนยันความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ในอนาคตหากเกิดข้อพิพาทขึ้น
เกร็ดความรู้เรื่อง : ทุกอย่างที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ "ลิขสิทธิ์" คลิกเลย !
กฎหมายลิขสิทธิ์เพลง
กรณีนำเพลงติดลิขสิทธิ์ไปร้อง
ร้านอาหารร้องเพลงติดลิขสิทธิ์ หรือว่าสถานประกอบการอื่น รวมไปถึงการ cover เพลงลิขสิทธิ์ ใดนำเพลงไปใช้โดยไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยวัตถุประสงค์ของการกระทำนั้นคือใช้เพลงติดลิขสิทธิ์ในการหารายได้ โดยมีโทษของการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ดังนี้
ตามมาตรา 27 (กฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์เพลง)
การทำซ้ำหรือดัดแปลงงาน อันมีลิขสิทธิ์ หรือนำงานอันมีลิขสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท(มาตรา69)
ตามมาตรา 28 (กฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์เพลง)
เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แก่โสตทัศนวัสดุภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท(มาตรา69)
ตามมาตรา 29 (กฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์เพลง)
เป็นกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์แก่งานแพร่ภาพแพร่เสียง เช่น แพร่ภาพแพร่เสียงซ้ำ หรือจัดให้ประชาชนชม โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อื่นทางการค้า ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท
“แต่ถ้าการกระนั้นใช้เพื่อหากำไรถ้าการกระทำความผิดเป็นการกระทำเพื่อการค้า โทษจากมาตราข้างต้นทั้งหมดจะหนักขึ้น และผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
Q: สอบถามเป็นความรู้เรื่องลิขสิทธิ์เพลง
กรณีนำเพลงติดลิขสิทธิ์ไปเปิด
ร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือสถานประกอบการอื่นใด นำเพลงติดลิขสิทธิ์ไปเปิด โดยไม่ได้รับอนญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเปิดจาก youtube , แพลทฟอร์มสตรีมมิ่ง และอื่นๆ
มีความผิดตามมาตรา 31 (กฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์เพลง)
ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน เพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นทำการละเมิดลิขสิทธิ์
ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท หากกระทำเพื่อการค้าจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นักร้องร้องเพลงตัวเองไม่ได้เพราะติดลิขสิทธิ์?
เนื่องจากไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงนั้นๆ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ผู้สร้างสรรค์ผลงานเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งในกรณีของเพลง ลิขสิทธิ์อาจแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ได้แก่ เนื้อร้อง ทำนอง และการบันทึกเสียง
หากนักร้องเป็นเพียงผู้ร้องเพลงที่ผู้อื่นสร้างสรรค์ขึ้นมา ลิขสิทธิ์ในส่วนของเนื้อร้องและทำนองจะเป็นของผู้ทำเพลง หากนักร้องต้องการนำเพลงไปร้องในที่สาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ จะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา
แต่ก็มีข้อยกเว้นที่อนุญาตให้นักร้องสามารถร้องเพลงของตนเองได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เช่น การร้อเพลงในงานเลี้ยงส่วนตัว หรือ การร้องเพลงโดยที่ไม่ใช้ในเชิงพาณิชย์
ความคุ้มครองลิขสิทธิ์เพลงมีอะไรบ้าง
ในแต่ละเพลงนั้นประกอบด้วยหลายส่วน ซึ่งแต่ละส่วนนั้นอาจจะมีคนผู้ถือครองลิขสิทธิ์ที่ต่างกัน โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้
- เนื้อร้อง คุ้มครองในฐานะงานวรรณกรรม โดยเจ้าของลิขสิทธิ์คือผู้แต่งเนื้อร้อง
- ทำนอง คุ้มครองในฐานะงานดนตรีกรรม โดยเจ้าของลิขสิทธิ์คือผู้แต่งทำนอง
- การบันทึกเสียง คุ้มครองในฐานะงานโสตทัศนวัสดุหรือสิ่งบันทึกเสียง โดยเจ้าของลิขสิทธิ์คือผู้บันทึกเสียง
- สิทธินักแสดง คุ้มครองการแสดงของนักร้องโดยเจ้าของลิขสิทธิ์คือนักร้อง
ตรวจสอบเพลงที่ติดลิขสิทธิ์
สามารถตรวจสอบได้โดยตรงกับเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อตรวจสอบว่าเพลงที่เราจะนำมาใช้หรือมาร้องนั้นติดลิขสิทธิ์หรือไม่ หากมีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์แล้วให้ทำการติดต่อค่ายเพลงก่อนที่จะนำไปใช้นะครับ
https://music.ipthailand.go.th
วิธีขอลิขสิทธิ์เพลง
กรณีที่จดลิขสิทธิ์เพลงของตัวเอง
เอกสารที่ต้องเตรียม
1.แบบ ลข.01 ลข.01 จากเว็บไซต์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
2.แผ่นซีดีเพลงตัวเอง ที่เขียนชื่อเพลงและชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์
3.สำเนาบัตรประชาชน
ขั้นตอนการขอลิขสิทธิ์เพลง
1.นำเอกสาร ลข.01 ที่กรอกข้อมูลครบถ้วน พร้อมกับแผ่นซีดีเพลงตัวเองไปยื่นที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา
2.ยื่นเอกสารที่เตรียมไว้พร้อมแผ่นซีดีเพลงให้เจ้าหน้าที่ เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้เอกสาร 1ชุด
3.นำเอกสารที่ได้ไปถ่ายสำเนาเอกสาร และยื่นกับเจ้าหน้าที่ชุดเดิมอีกครั้ง
4.เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้มารับเอกสารใบแจ้งจดลิขสิทธิ์เพลง หรือจะให้ส่งทางไปรษณีย์ก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้จดแจ้งลิขสิทธิ์
การเซ็นชื่อ การรับรองสำเนาเอกสาร เซ็นสำเนาถูกต้อง มีวิธีการอย่างไร ? หาคำตอบได้ที่นี่ ! คลิกเลย
กรณีที่ขอลิขสิทธิ์เพลงจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีขั้นตอนดังนี้
1.ตรวจสอบรายชื่อเพลงที่จะใช้ว่ามีค่าย/บริษัทใดเป็นผู้จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์บ้าง ซึ่งบางเพลงทางค่ายอาจจะอนุญาตให้ใช้ฟรีแบบเพลงไม่ติดลิขสิทธิ์ได้ โดยสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา https://music.ipthailand.go.th
2.เมื่อทราบแล้วว่าเพลงนั้นเป็นของค่าย/บริษัทใด ให้ติดต่อเพื่อซื้อลิขสิทธิ์เพลง
ถึงแม้จะได้มีการซื้อลิขสิทธิ์เพลงจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว แต่ผู้ประกอบการห้ามนำเพลงไปดัดแปลงหรือขายต่อ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นลายลักษณ์อักษร
สรุป
กฎหมายเรื่องลิขสิทธิ์เพลงนั้นค่อนข้างมีความละเอียดอ่อน และหากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นค่าปรับนั้นค่อนข้างสูง ทางที่ดีควรเลือกใช้เพลงที่ไม่มีลิขสิทธิ์หรือขออนุญาตจากทางค่ายเพลงก่อน ก่อนที่จะนำเพลงไปใช้เสมอครับ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง สามารถปรึกษาทนายได้ตลอด 24ชั่วโมงที่ Legardy
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



