เผยแพร่เมื่อ: 2023-11-19

การกู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญา

 

ตามปกติในการที่บุคคลหนึ่งขอกู้ยืมเงินกับอีกบุคคลหนึ่ง นั้นมักจะเกิดกับคนใกล้ตัว เช่น เพื่อน ญาติพี่น้อง หรือ คนสนิท เพื่อนของเพื่อน โดยผู้กู้ยืมเงินจะมาขอยืมเหตุโดยอ้างเหตุแห่งความเดือดต่างๆนาๆ ซึ่งหากเป็นเราได้รับรู้ถึงเหตุที่ผู้นั้นกล่าวอ้างและด้วยความสนิทชิดเชื่อ ย่อมเป็นจะแสดงนิสัยอย่างคนไทย คือ มีน้ำใจ และ เกรงใจ ในฐานะคนรู้จักและให้ยืมเงินดังกล่าวไปโดยไม่ได้มีการทำสัญญาระหว่างกัน เต็มที่โอนเงินผ่านแอปธนาคารและใส่หมายเหตุ นาย หรือ นางสาว คนนี้เป็นผู้กู้ยืมเงินจำนวน …. บาท ไม่ได้ระบุหรือระบุกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้ เช่นนี้ ปรากฏต่อมาในภายหลังอาจจะล่วงเลยไปสัก 2 - 3 เดือน ตามที่ฝ่ายผู้กู้อ้างว่าจะชำระหนี้กู้เงินภายในวันที่เท่านั้นเท่านี้ และ เมื่อ ฝ่ายเจ้าหนี้ทวงถาม ลูกหนี้ก็ไม่ยอมชำระหนี้ มักจะเป็นแบบนี้เสมอมา ฉะนั้นจึงมีคำถามว่า หลักฐานการโอนเงินฝ่ายแอปธนาคาร หรือ หลักฐานการโอนเข้าบัญชีธนาคารให้เงินลูกหนี้ตามที่กู้ยืมเงินนั้น เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินหรือไม่

'เจ้าหนี้ต้องอ่าน! หนังสือทวงถามหนี้ ช่วยทวงหนี้ไม่ให้ผิดกฎหมาย'

 

จึงต้องกลับมาดูข้อกฎหมายแล้วกับการกู้ยืมเงินว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง

 

 ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก บัญญัติว่า

 “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมไว้เป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่…..”

โดยได้มีคำพิพากษาฎีกาหลายฉบับได้ตัดสินหา หลักฐานการโอนเงินไม่ใช้หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามกฎหมาย เพราะว่าอาจเป็นเพราะเป็นหลักฐานที่กระทำความฝ่ายผู้ให้กู้โดยฝ่ายแล้วและหลักฐานนั้น ก็ไม่มีลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญ ซึ่ง การที่เอกสารหลักฐานใดจะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินหรือไม่นั้น จะต้องมีข้อความว่าทำนองว่า “นาย A ได้กู้ยืมเงินเป็นเงินจำนวน 50,000 บาทจาก นายB และ จะชำระคืนภายใน 7 วัน” หรือ ข้อความอื่นที่สื่อว่าเป็นหนี้กู้ยืมเงินเท่าใด และ จะต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ซึ่ง เอกสารเหล่านั้นอาจจะเป็นจดหมายโต้ตอบระหว่างกันหลายฉบับ ซึ่งเมื่อนำมาประกอบกันก็พอที่จะเข้าใจว่าเป็นหนี้อะไร จำนวนเท่าใด และ จะต้องชำระหนี้ให้แก่ผู้ใด ก็ถือว่ามีเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมแล้ว

'ลูกหนี้มือใหม่ต้องรู้ก่อนกู้ยืม เช็กหนังสือสัญญากู้ยืมเงินอย่างไร'

 

หลักฐานการกู้ยืมเงินในโลกปัจจุบัน

 

แต่ในปัจจุบันในการติดต่อสื่อระหว่างกันส่วนใหญ่จะอยู่บนโลกออนไลน์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค หรือ ไลน์ ในการติดต่อสื่อระหว่างกัน ซึ่งในการกรณีที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้มีการพูดคุยระหว่างกันในโปรแกรมแชทดังกล่าวและฝ่ายลูกหนี้ก็ได้พิมพ์ข้อความขอกู้ยืมเงินกับเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ก็ตกลงให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินและโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารไปยังลูกหนี้ เช่น แอพพลิเคชั่นธนาคาร และมีหลักฐานการโอน เช่นนี้ จะถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้หรือไม่

ซึ่งการที่ลูกหนี้ได้ใช้งานในโปรมแกรมแชท ไลน์ หรือ เฟสบุ๊ค ก็จะมีการสมัครเพื่อสมาชิกหรือขึ้นบัญชี ID กับ ผู้ให้บริการนั้น โดยผู้สมัครใช้บริการจะต้องกรอกข้อมูลส่วนบุคคล และ อีเมล เพื่อแสดงตัวตน เช่นนี้ ฉะนั้น การที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ข้อตกลงผ่านโปรแกรมแชท ดังกล่าวเพื่อทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างกัน จึงเกิดสัญญาการกู้ยืมเงินขึ้นผ่านโปรแกรมแชท และถือว่าทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อ โดยผ่านการระบุตัวตนในขึ้นบัญชีกับผู้ให้บริการ เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อกฎหมาย ได้แก่

 

'ดูกว่า 10คำปรึกษาจริง เรื่อง "กู้ยืมเงินไม่มีสัญญา" พร้อมคำตอบจากทนายความได้ที่นี่ คลิกเลย!'

Q: โดนยืมเงินจำนวนหลายแสน แต่ไม่มีสัญญาเงินกู้ ตามทวงไม่ได้ สามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ

Q: กู้ยืมเงินไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้ิองได้หรือไม่

Q: ไม่มีสัญญา ไม่มีหลักฐานในการยืมเงิน แจ้งความได้หรือไม่

 

'อ่านบทความเพิ่มเติม เรื่อง หลักฐานของการกู้ยืมเงิน ได้ที่นี่ คลิกเลย!'

 

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

 

 มาตรา 11 บัญญัติว่า

 “ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดนั้น ให้พิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะหรือวิธีการรักษา ความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะหรือวิธีการที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง”

 

มาตรา 7 ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

 

มาตรา 8 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๙ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว

 

มาตรา 9 ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า

(1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน และ

(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี

 

เมื่อพิจารณาข้อความตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประกอบเข้าด้วยกันแล้ว ก็พอถือได้ว่าข้อความที่พูดคุยและมีข้อตกลงในการกู้ยืมเงินผ่านโปรแกรมแชท ถือว่าเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นแล้ว และถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามกฎหมายแล้ว

'รับชมทนายความที่เชี่ยวชาญด้าน "การกู้ยืม" ได้ที่นี่ คลิกเลย!'

 

สรุป

 

ฉะนั้นจึงขอสรุปได้ว่า หากมีการข้อตกลงในการยืมกู้เงินผ่านโปรมแกรมแชทและได้มีการโอนเงินเพื่อส่งมอบแก่ลูกหนี้ตามสัญญากู้ยืม ก็ถือว่าการกู้ยืมเงินในครั้งนั้นได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อลูกหนี้ตามกฎหมายแล้ว หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้คืนแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะใช้สิทธิในฟ้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวได้

 

ทั้งนี้บทความหากเป็นประโยชน์กับผู้อ่านก็ยินดีอย่างยิ่งและคำพิพากษาที่ได้อ้างอิงไว้หากสนใจก็สามารถค้นหาและอ่านฉบับเต็มก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับท่านอย่างยิ่งเพื่อในการทำสัญญากู้ยืมกับบุคคลใดๆ ต่อไปในครั้งหน้า

 

อดุลย์พร มะสันต์

อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556 และ 6757/2560

Image by Freepik

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE