ความชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาและบุตรคืออะไร ?
ความชอบด้วยกฎหมาย อธิบายให้เข้าใจได้โดยง่ายคือ การมีสถานทางกฎหมายที่ถูกต้อง กฎหมายให้การยอมรับ เมื่อกฎหมายให้การยอมรับ ก็จะก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิ” และเจ้าสิทธิตัวนี้แหละที่ก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดขึ้น
หลายคนอาจไม่ทราบว่าการเป็นบุตรและการเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ในทางกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง
ซึ่งหากเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วจะทำให้เกิดสิทธิในทางกฎหมายต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิเบิกค่าเล่าเรียนบุตร สิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลของบุตรและของบิดา หรือการใช้สิทธิประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพ
'พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนกัน ลูกมีสิทธิรับมรดกไหม? ที่นี่มีคำตอบ! อ่านเลย'
ตามที่รัฐหรือหน่วยงานกำหนด และสิทธิทางกฎหมายที่สำคัญและต้องอาศัยการเป็นเบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบิดาชอบด้วยกฎหมายมากที่สุด
ก็คือ สิทธิการเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกนั่นเอง ซึ่งการที่มิได้เป็นบุตรหรือเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิเหล่านี้ได้
'อ่านมากกว่า 30คำปรึกษาจริง เรื่อง "ไม่ได้จดทะเบียนสมรส" พร้อมคำตอบจากทนายความ คลิกเลย !'
Q: เปลี่ยนนามสกุลลูกเป็นของบิดา กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส
Q: ไม่ได้จดทะเบียนกัน แล้วไม่ได้จดรับรองบุตรแต่เลี้ยงลูกมา
Q: มีลูกกับสามีแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ความชอบด้วยกฎหมายของบุตร บิดา มารดา เกิดขึ้นเมื่อใด ?
ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาและมารดาจะเกิดขึ้นต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในกรณีดังต่อไปนี้
ในส่วนของมารดานั้น กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 1 กำหนดว่า เด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชายให้ถือว่า
เด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิง (มาตรา 1546) ซึ่งก็สามารถตีความได้ว่าหญิงนั้นก็เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กเสมอ
ในส่วนของบิดานั้น กฎหมายกำหนดไว้ว่า กรณีที่เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย จะให้สันนิษฐานว่า
เด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชาย และชายเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็ก ต่อเมื่อได้มีการดำเนินการดังต่อไปนี้
1. บิดาและมารดาของเด็กได้ไปจดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง (มาตรา 1547)
2. บิดาและมารดาพร้อมกับเด็กได้ไปจดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร ซึ่งในกรณีนี้มารดา และเด็กจะต้องให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนได้ ซึ่งกรณีนี้เด็กจะต้องมีอายุตั้งแต่ ๗ ปี ขึ้นไปและสามารถให้ความยินยอมได้(สามารถตอบคำถามเจ้าพนักงานได้)โดยสามารถไปติดต่อ ขอจดทะเบียนรับรองบุตรได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ (มาตรา 1548)
3. บิดาหรือมารดาหรือเด็กฟ้องคดีต่อศาลให้ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาว่าเป็นบิดาหรือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 1547 ประกอบ มาตรา 1548 วรรคสาม)
ในกรณีที่ได้มีการปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งแล้วนั้น จะมีผลให้ถือว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันที่เด็กเกิดขึ้นเป็นต้นไป
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



