เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-02

พ่อแม่แยกทาง สิทธิ์เลี้ยงดูลูกจะอยู่ที่ใคร

ก่อนจะตอบคำถาม ‘พ่อแม่แยกทาง สิทธิ์เลี้ยงดูลูกจะอยู่ที่ใคร’ ขออธิบายถึงสิทธิ์การเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ที่จดทะเบียนสมรสกัน ตามกฎหมายพ่อแม่มีสิทธิ์ในการปกครองลูกเท่ากัน หากพ่อแม่แยกทางกัน จำเป็นต้องดูปัจจัยอื่นประกอบ ตามประเภทของสิทธิ์เลี้ยงดูลูก

'ดูคำปรึกษาเรื่องลูกจากผู้ประสบปัญหา ตอบโดยทนายความผู้เชี่ยวชาญ คลิก'


9.สิทธิ์เลี้ยงดูลูกแบ่งเป็นกี่ประเภท.png

สิทธิ์เลี้ยงดูลูกแบ่งเป็นกี่ประเภท

สิทธิ์เลี้ยงดูลูกแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

  1. บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน หย่ากันหลังมีบุตร 
  2. บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันขณะมีบุตร 
  3. หากไม่ปรากฏบิดา โดยสิทธิ์ที่พ่อแม่มีต่อลูกจะแตกต่างกันออกไป

หากทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ ก็ถือว่าจบเรื่อง แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้จะเข้าเงื่อนไขสิทธิ์เลี้ยงลูกทั้ง 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

'คลิกเพื่อดูทนายความจากLegardy ที่เชี่ยวชาญเรื่องครอบครัวและเยาวชน'

1. บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน หย่ากันหลังมีบุตร

อย่างที่เกริ่นไปข้างต้น หากบิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันและมีบุตร สิทธิ์ในการปกครองบุตรจะเท่ากัน ในกรณีพ่อแม่แยกทางกันภายหลัง หรือหย่ากันหลังมีบุตร สามารถพูดคุยเพื่อตกลงกัน เช่น สลับวันกันดูแล หรือถ้ามีบุตรสองคน ก็แบ่งกันเลี้ยงดูฝ่ายบิดา 1 คน ฝ่ายมารดา 1 คน แต่ในกรณีตกลงกันไม่ได้ สามารถยื่นต่อศาลให้ช่วยตัดสิน โดยศาลจะยึดความผาสุกและประโยชน์ที่บุตรพึงได้รับมากที่สุด

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !

 2. บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันขณะมีบุตร

หากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันขณะมีบุตร และบิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร สิทธิ์ขาดในการปกครองบุตรจะอยู่ที่ฝ่ายผู้ตั้งครรภ์ หรือฝ่ายมารดาเพียงผู้เดียว ในกรณีบิดาได้ยื่นจดทะเบียนรับรองบุตร และมีการจดทะเบียนสมรสภายหลัง ก็จะสามารถยื่นสิทธิ์เลี้ยงดูบุตรได้ แต่ถ้ามารดาไม่ยินยอม บิดาสามารถยื่นฟ้องศาลเพื่อขอสิทธิ์เลี้ยงดูบัตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้เช่นกัน

3. หากไม่ปรากฏบิดา

หากไม่ปรากฏบิดา ในสูจิบัตรจะระบุชื่อมารดาเพียงผู้เดียว และสิทธิ์ในการปกครองบุตรก็เป็นฝ่ายมารดาเพียงผู้เดียวเช่นกัน หากบิดาต้องการจดทะเบียนรับรองบุตรภายหลัง สามารถทำได้ แต่ต้องมีหลักฐานการตรวจ DNA ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 160 และต้องได้รับการยินยอมจากทุกฝ่าย จากนั้นนายทะเบียนจะออกสูจิบัตรใบใหม่ให้

 


9.สรุปบทความ.png

สรุปบทความ 

รอยร้าวของคนสองคน ที่เดินทางมาจนถึงจุดแตกหัก ‘ลูก’ ตัวแทนความรักของทั้งสอง ต้องได้รับผลกระทบจากการที่พ่อแม่แยกทางกัน ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ศาลช่วยตัดสิน โดยพิจารณาจากความสุขและประโยชน์ที่ลูกพึงได้รับสูงสุด Legardy ขอเป็นตัวแทนส่งกำลังใจให้กับผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ ทุกปัญหา สามารถใช้ข้อกฎหมายช่วยหาทางออกได้เสมอ หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

Your Blog Title

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE