เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-09

รู้ไว้ก่อนจดทะเบียนสมรส ! คำแนะนำจากทนายตัวจริง

การจดทะเบียนสมรสเป็นกระบวนการที่สำคัญในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย ซึ่งสร้างความถูกต้องและสิทธิตามกฎหมายให้แก่คู่สมรส

 หลายคนอาจมองข้ามข้อดีและข้อเสียของการจดทะเบียนสมรส หรือไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อตัดสินใจไม่จดทะเบียนสมรส 

บทความนี้จึงจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสียของการไม่จดทะเบียนสมรส รวมถึงข้อดีและข้อเสียของการจดทะเบียนสมรส เพื่อให้คู่รักที่กำลังพิจารณาการจดทะเบียนสมรสได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ

 

'อยากสร้างครอบครัวต้องรู้ จดทะเบียนสมรสต้องเตรียมตัวยังไง? บทความนี้มีคำตอบ คลิก!'

2.png


ข้อเสียของการไม่จดทะเบียนสมรส


วันนี้ทนายความมีความรู้มาแนะนำสำหรับ คู่รัก แฟน ที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยา โดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน ว่ามีข้อเสียอย่างไรค่ะ
อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนนะคะว่า คำว่า สามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันก่อนค่ะ ทั้งนี้ 

เป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 บัญญัติไว้ว่า “การสมรสตามกฎหมายจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้ว เท่านั้น” 

และต้องไม่เป็นการจดทะเบียนสมรสซ้ำซ้อน หมายถึงก่อนจดทะเบียนสมรส ทั้งสองฝ่ายต้องไม่เคยจดทะเบียนสมรสกับใครมาก่อนโดยยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันนะคะ

 

'ไขข้อข้องใจจดทะเบียนสมรสซ้อนได้ไหม มีสิทธิ์อะไรทางกฎหมายบ้าง คลิกเพื่ออ่านบทความ'

 

 แสดงให้เห็นว่ากฎหมายให้ความสำคัญกับสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เพราะสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายจะมีกฎหมายรองรับในเรื่องการจัดการสินสมรสร่วมกัน

 สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน สิทธิในการปกครองบุตร เป็นต้น ซึ่งทนายจะมาเขียนบทความถึงข้อดีในการจดทะเบียนสมรสให้ทราบอีกครั้งนะคะ

 

Your Blog Title

ข้อเสียของการไม่จดทะเบียนสมรส มีดังนี้


1.จะมีปัญหาในเรื่องของทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างอยู่กินกันฉันสามีภรรยา ว่าตนเองจะมีสิทธิในทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างอยู่กินด้วยกันไหม? โดยหลัก คงจะเคยได้ยินกันมาว่า ถ้าคู่รักที่อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ในระหว่างอยู่กินกันมีทรัพย์สินร่วมกันเช่น ที่ดิน บ้าน รถ เป็นต้น ทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวถือเป็นกรรมสิทธิ์รวม เมื่อเลิกกันเเล้ว ถ้าไม่ยอมแบ่งทรัพย์สิน อีกฝ่ายหนึ่งต้องฟ้องร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินนั้นได้ แต่ !!! ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำงานหาเงินหารายได้เเต่เพียงฝ่ายเดียว !! โดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น สามีทำงานหาเงินฝ่ายเดียว ภรรยาไม่ได้ร่วมทำงานหาเงินด้วย แต่อยู่ด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสมาหลายปี ฝ่ายชายได้ซื้อที่ดินมีโฉนด และมีชื่อฝ่ายชายแต่เพียงผู้เดียว ฝ่ายชายย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 กำหนดไว้ว่า 

"ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง"

 เมื่อทั้งสองฝ่ายเลิกกัน อีกฝ่ายจะร้องขอให้แบ่งที่ดินครึ่งหนึ่งให้แก่ตนเองได้หรือไม่ ??

 ตอบเลยว่า ไม่ได้ค่ะ !! 

เนื่องจากฝ่ายชายทำงานหาเงินแต่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายหญิงไม่ได้มีส่วนในการหารายได้มาซื้อทรัพย์สินนั้น ที่ดินย่อมตกเป็นของฝ่ายชายแต่เพียงผู้เดียว ไม่ใช่กรรมสิทธิ์รวมของทั้งสองฝ่าย สรุปง่ายๆ ก็คือ ถ้าฝ่ายชายทำงานฝ่ายเดียวจนได้มีทรัพย์สินระหว่างอยู่กินกัน โดยฝ่ายหญิงไม่ได้หาเงินเลย เมื่อเลิกกัน ฝ่ายหญิงไม่มีสิทธิในที่ดินหรือทรัพย์สินที่ได้มาขณะอยู่กินกันค่ะ การที่ฝ่ายหญิงจะมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินได้ ฝ่ายหญิงต้องฟ้องร้องโดยนำสืบให้ศาลเห็นว่า ตนมีส่วนร่วมในการทำมาหาได้ซึ่งทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าฝ่ายหญิงไม่มีส่วนหารายได้เลย เลิกกันก็ไม่ได้อะไรเลยค่ะ อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2566

'อ่านคำปรึกษาจริงเรื่องกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์สินหลังหย่า พร้อมคำตอบจากทนายความ คลิก!'

 

'อ่านมากกว่า 90คำปรึกษาจริง เรื่อง "การสมรส" พร้อมคำตอบจากทนายความได้ที่นี่!'

Q: ได้รับที่ดินจากญาติ นับเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว?

Q: ต้องการฟ้องหย่า แต่อีกฝ่ายไม่ยินยอม และต้องการแบ่งสินสมรส

Q: สินสมรส

Q: ไม่จดทะเบียนสมรส สามารถฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้ไหมคะ


2. เรื่องอำนาจในการปกครองบุตร สิทธิในการเลี้ยงดูบุตร การไม่จดทะเบียนสมรส อันนี้ฝ่ายชายนะคะที่เสียเปรียบ เพราะกฎหมายให้สิทธิฝ่ายหญิงที่เป็นแม่ที่มีสิทธิปกครองเลี้ยงดูบุตรแต่เพียงผู้เดียวค่ะ ถ้าอยากได้บุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์และภรรยาไม่ยินยอม คุณพ่อต้องไปฟ้องขอให้ศาลรับรองว่าเป็นบุตรค่ะ ซึ่งต้องมีการร้องขอให้ตรวจ DNA ด้วยนะคะ

'อ่านคำปรึกษาจริงเรื่อง ไม่จดทะเบียนสมรส สามารถฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้ไหม คลิกเลย!'


3. การรับมรดก การที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสทำให้เสียสิทธิในการรับมรดกตามกฎหมาย ถือว่าไม่ใช่สามีหรือภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่ได้ทำพินัยกรรมก็จะไม่มีสิทธิรับมรดกของอีกฝ่ายหนึ่งได้

'คู่สมรส มีสิทธิได้รับมรดกเท่าไร? บทความนี้มีคำตอบ คลิกที่นี่เพื่ออ่าน!'


4.สิทธิในการแจ้งความในฐานะผู้เสียหาย หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส ในกรณีที่สามีหรือภรรยาเป็นผู้เสียหายเช่น ถูกบุคคลอื่นฆ่า เช่นนี้ ก็ไม่สามารถจัดการคดีอาญาแทนอีกฝ่ายหนึ่งได้


5. ในกรณีอีกฝ่ายหนึ่ง กระทำผิดอาญา หรือ ถูกขัง จำคุกในเรือนจำ บุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่มีสิทธิได้เข้าเยี่ยมเนื่องจากไม่ใช่สามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย


6. ไม่สามารถยื่นเสียภาษีร่วมกันได้

'เรื่องต้องรู้ ไม่ยื่นภาษี ยื่นภาษีล่าช้า มีความผิดและโทษอะไรบ้าง'


7. จัดงานแต่งงานกันอย่างเปิดเผย ไม่ได้จดทะเบียนสมรส กฎหมายก็ไม่รับรองนะคะ เพราะการเป็นคู่สมรสที่มีสิทธิต่างๆตามกฎหมายต้องจดทะเบียนสมรสเท่านั้นค่ะ


8. ถ้าในขณะอยู่กินกัน อีกฝ่ายไปจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่น ทีนี้ ถึงคุณจะมาก่อน อยู่ด้วยกันมาก่อน รักกันมาก่อน มีลูกกันมาก่อน ตามกฎหมายคุณก็ไม่มีสิทธิฟ้องชู้นะคะ แถมยังกลายเป็นเมียน้อยไปอีก !!

'ไขข้อข้องใจจดทะเบียนสมรสซ้อนได้ไหม มีสิทธิ์อะไรทางกฎหมายบ้าง'


ข้อเสียเยอะมากเลย ลองพิจารณาดูให้ดีนะคะ ว่าควรจดทะเบียนสมรสหรือไม่ 

 

 

1.png


ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส


ข้อดีของการจดทะเบียนสมรสกันค่ะ เผื่อใครๆ ยังลังเล ว่าจะจดทะเบียนสมรสดีไหม จะได้ลองพิจารณาดูค่ะ


1. สิทธิในทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส ในขณะจดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรส ถือเป็นสินสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งละพาณิชย์ มาตรา 1474(1) ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสไม่ว่าฝ่ายใดได้มาให้ถือว่าเป็นสินสมรสทั้งสิ้น แม้อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้มีส่วนในการงานหารายได้มาด้วยก็ตาม* อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกา 1087/2566


2. สิทธิในการฟ้องเรียกค่าทดแทนฐานเป็นชู้ สามีหรือภริยามีสิทธิฟ้องเรียกค่ามดแทนฐานเป็นชู้ จากบุคคลที่เป็นชู้ได้ โดยยังไม่ต้องฟ้องหย่าคู่สมรสได้ ทั้งนี้ 

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง กำหนดไว้ว่า 

"สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้”

'คดีฟ้องชู้ ต้องทำอย่างไร และมีหลักฐานอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ คลิก!'


3. สิทธิในการเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 ฝ่ายชายถือเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ต้องไปจดทะเบียนรับรองบุตรอีก และไม่ต้องไปร้องขอให้ศาลพิพากษารับรองว่าเป็นบุตร


4. สิทธิในการได้รับการแบ่งทรัพย์สินเท่ากัน กล่าวคือ คู่สมรสเมื่อจดทะเบียนหย่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 กำหนดให้ "เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน"


5. สิทธิในการได้รับค่าเลี้ยงชีพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 กำหนดให้ ถ้าการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว และการหย่านั้นทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้เพียงพอจากการทรัพย์สิน หรือจากงานที่เคยทำอยู่ในระหว่างสมรส จะฟ้องขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้ ยกตัวอย่างเช่น สามีมีชู้ เราจึงฟ้องหย่า โดยสามีเป็นเสาหลักครอบครัว หากหย่าขาดจะทำให้จนลง ภรรยาสามารถฟ้องศาลขอให้สามีจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้แก่ตนได้


6. สิทธิในการรับมรดก ถ้าอีกฝ่ายเสียชีวิต ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ มาตรา 1635 ได้กำหนดให้ คู่สมรสที่มีชีวิตได้รับส่วนแบ่งในมรดกของผู้ตาย แม้ไม่ได้ทำพินัยกรรม ก็ถือเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสตามกฎหมายได้

''คู่สมรส มีสิทธิได้รับมรดกเท่าไร? บทความนี้มีคำตอบ คลิกที่นี่เพื่ออ่าน!''


7. เมื่อคู่สมรสตาย เพราะถูกบุคคลอื่นทำให้ตายอันเป็นความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า “เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้” ยกตัวอย่างเช่น สามีถูกนาย ก ขับโดยประมาทจนเป็นเหตุให้สามีตาย ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิฟ้องนาย ก. ผู้กระทำความผิดเพื่อให้รับโทษจำคุก และมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่สามีโดยชอบด้วยกฎหมายตายได้


8. หากคู่สมรส ติดคุก เข้าเรือนจำ สามารถเข้าเยี่ยมในฐานะคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายได้


9. สิทธิในการยื่นเสียภาษีของสามีภรรรยาร่วมกัน เพื่อขอลดหย่อนภาษีได้


10. หากคู่สมรสเป็นข้าราชการ อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้


4.png
 


ข้อเสียในการจดทะเบียนสมรส

 


1. การจดทะเบียนสมรส มีข้อจำกัดในการจัดการทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสร่วมกันนะคะ สามีหรือภรรยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน หรือ ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามที่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1478 กำหนดไว้ ได้แก่ การขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

สามีทำหนังสือให้ความยินยอมในการที่ภริยาทำสัญญาเช่าซื้อ หากภริยาผิดสัญญาเช่าซื้อ สามีต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ ?


ให้บุคคลอื่นเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงิน ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล  เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ประนีประนอมยอมความ มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล การจัดการสินสมรสนอกจากที่กล่าวมานี้ สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ หากคู่สมรสไม่จัดการสินสมรสในกิจการ ดังกล่าวร่วมกัน และไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องศาลเพื่อขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480


2. การหย่า ถ้าอยากหย่าฝ่ายเดียว โดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหย่า ย่อมไม่สามารถหย่าขาดจากการได้ เว้นแต่เข้าเหตุฟ้องหย่า 

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 กำหนดให้จะฟ้องหย่าอีกฝ่ายหนึ่งต่อศาลได้ต้องเข้าเหตุ ยกตัวอย่างเช่น อีกฝ่ายมีชู้ ประพฤติชั่ว ทำร้ายร่างกายอีกฝ่ายหนึ่ง หรือหมิ่นประมาทบุพการีของอีกฝ่าย 

 

'พฤติกรรมที่เข้าข่ายถูกฟ้องเรียกค่าทดแทนฐานเป็นชู้ได้ หาคำตอบได้ที่บทความนี้!'

 

จงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกเกิน 1 ปี และถูกจำคุกเกิน 1 ปี สมัครใจแยกกันอยู่ต่อเนื่อง 3 ปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลเกิน 3 ปี ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ 

 

หรือไปจากภูมิลำเนาเป็นเวลาเกิน 3 ปี ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง วิกลจริตตลอดมาเกิน 3 ปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้

 

ผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ มีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
 

"ถ้าเข้าเหตุหย่า 10 ข้อนี้ สามารถฟ้องหย่าอีกฝ่ายหนึ่งต่อศาลได้ หากชนะคดีศาลจะมีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน เราสามาถนำคำพิพากษาและใบรับรองคดีถึงที่สุดไปจดทะเบียนหย่าที่ว่าการอำเภอ โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องไปที่ว่าการอำเภอกับเราก็ได้ ซึ่งเรียกการหย่ากรณีนี้ว่า เป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาลค่ะ"


3. สามีภริยาต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างสมรสร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 กำหนดให้ คู่สมรสต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ดังต่อไปนี้
หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน (หมายถึง หนี้ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับความยินยอม)

 

'เรียกค่าเลี้ยงดูบุตรได้เท่าไร ไม่ได้จดทะเบียน ฟ้องได้ไหม'


4. ในกรณีที่สามีภริยาเป็นหนี้ร่วมกันในระหว่างสมรส จะถูกบังคับชำระหนี้จากสินสมรสก่อน หากไม่พอชำระหนี้จะถูกบังคับกับสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1489


5. ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดชอบในหนี้ส่วนตัวที่ก่อไว้ก่อน หรือระหว่างสมรส โดยต้องถูกบังคับชำระหนี้จากสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน หากไม่พอชำระหนี้ต้องถูกบังคับชำระหนี้จากสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น ยกตัวอย่างเช่น สามีมีหนี้เงินกู้ยืมจากธนาคาร ผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารยึดทรัพย์สินส่วนตัวของสามีหมดเเล้วไม่พอชำระหนี้ จึงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากสินสมรสที่สามีมีส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งได้ แสดงว่า หากสินสมรสเป็นบ้านและที่ดิน บ้านและที่ดินจะถูกยึดโดยถูกบังคับคดีให้ขายทอดตลาดและนำเงินมาใช้หนี้ให้แก่ธนาคารครึ่งหนึ่ง เพราะสามีมีสิทธิในสินสมรสที่เป็นบ้านและที่ดินดังกล่าวคนละครึ่งกับภริยา เป็นต้น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1488

 

'ไขข้อสงสัย เจ้าหนี้ยึดทรัพย์แบบไหนได้บ้าง มีข้อยกเว้นอะไรบ้าง'


6. สามีหรือภริยากระทำความผิดอาญา ในฐานความผิดดังต่อไปนี้ ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอกทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ บุกรุก สามีที่กระทำความผิดอาญาดังกล่าว หรือภริยาที่กระทำความผิดดังกล่าวต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ (ทั้งนี้ ต้องเป็นการกระทำความผิดในขณะที่ยังจดทะเบียนสมรสกันอยู่เท่านั้น ถึงจะไม่ต้องรับโทษทางอาญา) ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 71


7. การแบ่งสินสมรส ในกรณีที่หย่าขาดจากกันเเล้ว ตกลงแบ่งสินสมรสกันไม่ได้ ต้องฟ้องร้องต่อศาลเท่านั้น

'แบ่งสินสมรสอย่างไร? หาคำตอบได้ที่นี่!'

 

การตัดสินใจจดทะเบียนสมรสหรือไม่เป็นเรื่องสำคัญที่คู่รักควรพิจารณาอย่างละเอียด ข้อเสียของการไม่จดทะเบียนสมรสสามารถส่งผลกระทบทางกฎหมายและสิทธิต่างๆ ที่สำคัญ รวมถึงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร และการรับมรดก ในขณะที่การจดทะเบียนสมรสมีข้อดีมากมายในการเสริมสร้างสิทธิและความคุ้มครองทางกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อเสียที่ต้องระวังเช่นกัน ดังนั้น คู่รักควรพิจารณาข้อมูลเหล่านี้อย่างถี่ถ้วนเพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุดสำหรับตนเองและครอบครัว หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

 

Your Blog Title


 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE