ไขข้อสงสัย จดทะเบียนสมรสซ้อนทำได้จริงมั้ย
คุณอาจจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการสมรสซ้อนกันมาบ้าง ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดคำถาม จดทะเบียนสมรสซ้อนได้ไหม และหากมีการจดทะเบียนสมรสซ้อนเกิดขึ้นจะต้องทำอย่างไร และทะเบียนสมรสที่ตัวเองมีอยู่นั้นจะมีผลอยู่หรือไม่ หาคำตอบเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสซ้อนได้ผ่านทางบทความด้านล่างนี้
จดทะเบียนสมรสซ้อนได้ไหม
“จดทะเบียนสมรสซ้อน” คือ การที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทำการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับบุคคลอื่นทั้งๆ ที่ในขณะนั้นตัวเองได้มีสมรสโดยชอบทางกฎหมายอยู่และยังไม่ได้ทำการหย่าร้างอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือยังไม่ได้เซ็นใบหย่านั่นเอง ซึ่งในการจดทะเบียนสมรสซ้อนนี้อาจเกิดขึ้นได้จากการหลอกให้ผู้อื่นไปจดทะเบียนสมรสกับตัวเองโดยที่อีกฝ่ายไม่ทราบว่าตนมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว หรืออาจเกิดขึ้นจากการยินยอมที่จะจดทะเบียนสมรสซ้อนก็ได้ แต่ในทางกฎหมายแล้วการจดทะเบียนสมรสซ้อนที่เกิดขึ้นนี้จะถือว่าเป็นโมฆะ หรือถือว่าไม่มีผลใดๆ ทางกฎหมาย อ่านบทความเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนจดทะเบียนสมรส
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
จดทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายอย่างไร
ตามที่ได้มีการกล่าวไปแล้วว่าในการจดทะเบียนซ้อน จะถือว่าการจดทะเบียนนี้เป็นโมฆะและไม่มีผลใดๆ ทางกฎหมาย เนื่องจากว่าประเทศไทยนั้นมีกฎหมายให้คู่สามีและภรรยาสามารถที่จะทำการจดทะเบียนสมรสได้ครั้งละ 1 คนเท่านั้น อีกทั้งยังไม่อนุญาตให้มีการทำการจดทะเบียนสมรสซ้อนอีกด้วย ดังนั้นหากมีการจดทะเบียนสมรสซ้อนเกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยลักษณะหรือกรณีใดก็ตาม ย่อมถือว่าไม่มีผลทางกฎหมายและไม่ใช่ผู้ที่มีสิทธิในฐานะสามีภรรยาตามกฎหมายแต่อย่างใด
ข้อกฎหมายที่ว่าด้วยการจดทะเบียนสมรสซ้อน
เมื่อได้คำตอบแล้วว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนได้ไหม มาดูกันต่อที่ข้อกฎหมายที่ว่าด้วยการสมรสซ้อน กล่าวคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ที่มีการบัญญัติเอาไว้ว่า ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงก็ตาม หากต้องการที่จะทำการสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือจดทะเบียนสมรส จะต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้มีการสมรสหรือจดทะเบียนสมรสอยู่ก่อนแล้ว หากเป็นการสมรสใหม่จะต้องทำการหย่าจากคู่สมรสเดิมก่อน หากมีการสมรสใหม่ครั้งที่สอง โดยที่ยังไม่มีการหย่าจะถือว่าไม่มีผลตามกฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1495 ที่บัญญัติเอาไว้ว่า คำพิพากษาศาลเท่านั้นจะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ
อ่านกรณีตัวอย่างจริงจากผู้ที่ปรึกษาการจดทะเบียนสมรส
Q: จดทะเบียนสมรสแบบไม่มีพยานได้ไหมครับ
Q: ไม่จดทะเบียนสมรส สามารถฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้ไหมคะ
ความผิดที่ได้รับจากการสมรสซ้อน
ในประเทศต่างๆ ความผิดฐานสมรสซ้อนนั้นจะมีการระบุเป็นความผิดอาญาเอาไว้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอเมริกา, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส และเยอรมัน เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยนั้น หากมีการสมรสซ้อนจะถือมีความผิดและคู่กรณีที่มีการสมรสซ้อนจะต้องรับผิดร่วมด้วยเช่นเดียวกัน ตามความผิดดังนี้
- เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
- เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความเท็จให้เจ้าหน้าที่ทำการจดข้อความเท็จลงในเอกสารทางราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
ทำอย่างไรจึงทราบได้ว่าคู่ของเราได้มีการสมรสอยู่หรือไม่
ในกรณีที่เราไม่แน่ใจว่าคู่ของเรานั้นในขณะนี้ได้มีการสมรสอยู่แล้วหรือไม่ ก่อนตัดสินใจที่จะแต่งงานหรือตัดสินใจที่จะจดทะเบียนสมรสด้วย สามารถที่จะทำการขอตรวจสอบที่อำเภอหรือสำนักงานเขตในพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่ก่อนได้ ซึ่งจะปรากฏข้อมูลการสมรสทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปัจจุบันหรือในอดีตที่เคยมีการสมรสหรือการหย่ามาก่อนก็สามารถที่จะทำการตรวจสอบได้ทั้งสิ้น อ่านกรณีตัวอย่างจริงจากผู้ที่ปรึกษาการจดทะเบียนสมรส
สรุปบทความ
จากข่าวเกี่ยวกับการสมรสซ้ำในหลายๆ ข่าวที่ผ่านมา จึงไม่แปลกที่หลายคนจะเกิดความกังวลหรือต้องการที่จะมั่นใจก่อนที่จะทำการจดทะเบียนสมรส และเกิดคำถามขึ้นมาว่า การจดทะเบียนสมรสซ้อนได้ไหม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้น่าจะเป็นข้อมูลที่สามารถไขข้อสงสัยทั้งหมดให้กับคุณได้แล้วไม่มากก็น้อย แต่หากเพิ่งทราบว่าตนเองนั้นถูกหลอกให้มีการจดทะเบียนสมรสซ้อนอยู่ในขณะนี้ สามารถที่จะทำการปรึกษากับทนายมากความสามารถ และทำการปรึกษาทนายความที่เชี่ยวชาญด้านคดีกฎหมายการหย่าร้างและครอบครัว
หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ